กรมพัฒนาชุมชน
“ลูกหยีแม่เลื่อน” ตำนาน 80 ปี ทายาทรุ่น 3 ปรับกลยุทธ์ รุกออนไลน์ สู่ยอดผลิตเดือนละหมื่นถุง ลูกหยี เรียกได้ว่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของภาคใต้ มีราคาสูง จะกินสดๆ หรือกินแบบแห้งก็ย่อมได้ นอกจากจะกินเป็นอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย เพราะลูกหยีจะมีรสเปรี้ยว ชุ่มคอ ช่วยอาการหวัด เจ็บคอ และเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ คนใต้ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นลูกหยีกวน เพื่อต่อยอดและสร้างรายได้ในพื้นที่ แบรนด์ ลูกหยีแม่เลื่อน จังหวัดปัตตานี ที่มองเห็นถึงโอกาสจากวัตถุดิบเด่นในพื้นที่ นำมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อยอดจนกลายเป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับความนิยม จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ จนตอนนี้มีกำลังผลิตอยู่ที่ 80-100 กิโลกรัมต่อวัน หรือผลิตได้เดือนละ 10,000 ถุง เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณเก่ง-เทอดศักดิ์ จิตต์หมั่น ทายาทรุ่น 3 ผู้รับช่วงต่อ ถึงที่มาความสำเร็จของ ลูกหยีแม่เลื่อน คุณเก่งเล่าว่า เดิมทีเริ่มต้นจากคุณยาย คือ คุณยายเลื่อน ผู้ริเริ่มทำการแปรรูปลูกหยีในพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี แต่จริงๆ แล้ว คุณยายไม่ได้เป็นคนปัตตานี แต่เป็นคนจังหวัดสงขลา แต่เมื่อคุณยายได้แต่งงานกับสามี ซึ่งเป็นคนจี
กลยุทธ์กระตุ้นยอดขาย “ขนมจีบป้าพิณ ลำภูรา” OTOP 5 ดาวเมืองตรัง ทำอย่างไร? ให้ขายได้หมื่นชิ้น/วัน! หากพูดถึงขนมจีบ หลายต่อหลายคน รวมถึงเราด้วย ก็ต้องนึกถึงของกินเล่นชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแผ่นเกี๊ยวหรือแผ่นแป้งมาห่อด้วยไส้หมูสับ กุ้ง หรือปู แต่คำว่าขนมจีบในจังหวัดตรัง ไม่ได้หมายถึงสิ่งสิ่งนั้น แต่จะหมายถึงขนมจีบที่เป็นขนมกินเล่นในท้องถิ่น เรียกได้ว่าเปิดประสบการณ์ใหม่เลยทีเดียว เพราะเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ได้ไปเยือนถิ่นเมืองตรัง และมีโอกาสได้ลองชิมขนมจีบพร้อมพูดคุยกับ คุณโจ๊ก-ดร.ณัฐวัตร ตัณศิริเสถียร วัย 50 ปี เจ้าของร้านขนมจีบป้าพิณ ลำภูรา คุณโจ๊ก เล่าว่า ของดีเมืองตรังที่เป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน ต้องยกให้กับ “เค้กหมูย่าง” แต่ขนมจีบนี้เป็นเพียงขนมที่คนในตำบลลำภูราคุ้นชิน และมักใช้กินในตอนที่ไปกรีดยางยามฝนตก จนมาปี พ.ศ. 2539 ทางร้านเลยคิดว่า ขนมจีบนี้มีแค่ในเฉพาะตรัง เลยเกิดไอเดียที่จะทำขึ้นมา ในช่วงแรกที่ลองทำขาย คนไม่เห็นด้วยค่อนข้างเยอะ เพราะโดยส่วนมากคนมักจะซื้อเค้กเป็นของฝาก แต่เขาเชื่อว่า ด้วยความเป็นขนมจีบนี้เป็นอัตลักษณ์ และคิดว่าไปต่อได้ แรกๆ ทำเพียงแค่หลักสิบชิ้นเท่านั้น และ
TikTok Shop จับมือ กรมการพัฒนาชุมชน กดปุ่มสตาร์ตโครงการ “TikTok for OTOP” เฟส 2 ส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น ก้าวสู่ Digital Economy อย่างมั่นคง ปูพรมจัดเวิร์กช็อปแก่ผู้ประกอบการ 4 ภาคทั่วไทย เพื่อไปถึงเป้าหมายอบรมครบ 1 พันราย ภายในปี 2567 พร้อมเผยแคมเปญ #ช้อปได้ทุกถิ่น หนุนสินค้า OTOP โต 51% ผ่าน Shoppertainment วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 TikTok Shop โซลูชันอีคอมเมิร์ซชั้นนําในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าสานต่อพันธกิจหลักด้านการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มดำเนินโครงการ TikTok for OTOP เฟส 2 โดยร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดอาวุธกลยุทธ์ออนไลน์ เพิ่มยอดขายด้วยคอนเทนต์ ในพื้นที่ภาคกลาง ที่กรุงเทพฯ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและเศรษฐกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทยบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง TikTok Shop พร้อมตั้งเป้า Upskill ครบ 4 ภาค กลาง-ใต้-อีสาน-เหนือ ตลอดช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบการ OTOP ยุค Shoppertainment รุ่นใหม่เพิ่มอีก 9 รุ่น ให้ครบ 1,0
TikTok ผนึกกำลัง กรมพัฒนาชุมชน เดินหน้าสนับสนุน OTOP ในงาน OTOP City 2023 กรุงเทพฯ, 19 ธันวาคม 2566 – TikTok ร่วมกับ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เดินหน้าสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP อย่างต่อเนื่อง ในการจัดแสดงผลงาน ความสามารถ พร้อมส่งเสริมทักษะทางการขาย การออกร้าน และจัดหาช่องทางทางการตลาดทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้แก่ผลิตภัณฑ์จากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายในงาน “OTOP City 2023” ที่จัดขึ้นภายใต้ธีมงาน “ช้อปสนุก…ส่งสุขท้ายปี สินค้าดีจากภูมิปัญญาไทย” ระหว่างวันที่ 16-24 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี TikTok ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมธุรกิจชุมชนตามโครงการสนับสนุนท้องถิ่น โดยจัดโครงการ “TikTok for OTOP” เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจออนไลน์ และสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดและเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่ง TikTok เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจของสินค้า OTOP จึงได้ดำเนินการยกระดับความสามารถ และปลดล็อกโอกาสให้กับผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถนำสินค้าที่มีคุณภาพมา
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ ไอคอนคราฟต์ ต่อยอดความสำเร็จจากการจัดทำ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น Premium OTOP” นั้น ทางกรมพัฒนาชุมชน จึงดำเนินการจัดนิทรรศการ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น Premium OTOP ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 – 7 มีนาคม 2565 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทดลองขายผลิตภัณฑ์ผ่าน LIVE และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม ให้เป็นที่ต้องการของตลาดจนเกิดการพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP นำไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ Premium OTOP สู่สากล เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการจัดทำ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น Premium OTOP กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น Premium OTOP” ว่า เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม ให้เป็นที่ต้องการของตลาดจนเกิดการพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนาผ้าไทย อั
เช็คอินสมุทรปราการ แวะวัดบางเสาธงนอก นมัสการวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันติ คงเคยได้ยินกันมาบ้างสำหรับโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กรมพัฒนาชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานราก เกิดชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยนำนวัตกรรมผสมผสานกับวิถีชีวิต ผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์โอทอปผนวกการท่องเที่ยวของชุมชนเข้าไป เมื่อไม่นานมานี้ เป็นการลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลบางเสาธง และตำบลศรีษะจรเข้น้อย อำเภอ บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ นำโดยคุณกัญญา จุฑามณี พัฒนาการอำเภอบางเสาธงพร้อมด้วย คุณประสิทธิ์ เจริญกุลพัธนากร และคุณสมบัติดำรงค์ พุฒพลายงาม ผู้ใหญ่บ้านหนองงูเห่า ซึ่งชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิประเทศติดแม่น้ำและทะเล อาหารการกินหลากหลายและรสชาติอร่อย รวมถึงผลิตภัณฑ์โอทอป ที่มีความหลากหลายและมีความโดดเด่น เป็นที่รู้จัก และต้องการของคนจำนวนมาก แถมการคมนาคมยังสะดวก ประเดิมเช็คอินกันที่วัดบางเสาธงนอก ซึ่งอำเภอ
กรมการพัฒนาชุมชน ผนึกสถาบันอาหาร ยกระดับมาตรฐาน OTOP เป็น “สินค้าปลอดภัย” นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวในกิจกรรมยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม” (ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP” ว่า เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสถาบันอาหารจัดขึ้น เพื่อแนะนำองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ หวังยกระดับและสร้างมาตรฐาน “สินค้าปลอดภัย” เพิ่มอายุการเก็บรักษา ขยายโอกาสทางการตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบการปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม (ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 10,000 ราย จำนวน 10,000 ผลิตภัณฑ์ ใช้ระยะเวลาดำเนินงานรวม 5 เดือน “ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม D จำนวนสินค้าสูงถึง 64,570 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภูมิปัญญา มีสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น ถือว่าเป็นต้นทุนที่ควรนำมาส่งเสริม นอกจากจะช่วยขยายฐานลูกค้าก่อให้เกิดรายได้แ