กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจ ปาท่องโก๋ 80 ตัวอย่าง เตือนอย่ากินทุกวัน แนะก่อนซื้อให้สังเกตน้ำมัน นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียว่า เบื้องหลังความกรอบของปาท่องโก๋ อาจมีภัยเงียบจากผงกรอบ หรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่าน้ำประสานทองหรือบอแรกซ์ และการใช้น้ำมันทอดซ้ำของพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย ด้วยเหตุนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างปาท่องโก๋ ที่จำหน่ายในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 80 ตัวอย่าง แยกเป็นปาท่องโก๋แบบคู่และซาลาเปา 61 ตัวอย่าง ปาท่องโก๋จิ๋วกรอบ 14 ตัวอย่าง และปาท่องโก๋ที่แบรนด์ดังที่ได้รับความนิยมสูง 5 ตัวอย่าง ผลจากการตรวจด้วยชุดทดสอบบอแรกซ์ ไม่พบการปนเปื้อนบอแรกซ์ในทุกตัวอย่าง และจากการดมกลิ่นปาท่องโก๋พบว่ามีกลิ่นแอมโมเนีย 7 ตัวอย่าง ประมาณร้อยละ 9 ซึ่งอาจมาจากแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต (Ammonium Bicarbonate) หรือเบกกิ้งแอมโมเนีย ซึ่งช่วยให้ปาท่องโก๋พองฟู สำหรับการใช้น้ำมันทอดซ้ำได้สุ่มตัวอย่างปาท่องโก๋ จำนวน 21 ตัวอย
กรมวิทย์ฯ แนะประชาชนโหลดแอพพลิเคชั่นเห็ด ตรวจสอบเห็ดพิษ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูเห็ดหลาก ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดป่าเพื่อนำมาประกอบอาหารรับประทาน และขายในตลาดท้องถิ่น ส่งผลให้สถานการณ์อาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ.2563 (เดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน) มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ดพิษที่มาจากป่าธรรมชาติมากถึง 275 ราย โดยจังหวัดอุบลราชธานีพบผู้ป่วยสะสมสูงสุด เห็ดที่มีรายงานการเกิดเหตุ ได้แก่ เห็ดหมวกจีน เห็ดคันร่มพิษเห็ดก้อนฝุ่น และเห็ดระงาก ซึ่งเห็ดพิษเหล่านี้มีลักษณะรูปร่างหน้าตาหรือเรียกว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คล้ายกับเห็ดรับประทานได้ เช่น เห็ดหมวกจีนและเห็ดคันร่มพิษคล้ายกับเห็ดปลวก (เห็ดโคน) เห็ดระงากพิษคล้ายกับเห็ดระโงกขาวกินได้ และเห็ดก้อนฝุ่นคล้ายกับเห็ดเผาะ ซึ่งอาจทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด และเก็บมารับประทานจึงได้รับสารพิษเข้าไป นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดัง
กรมวิทย์ฯ เพิ่มข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์กัญชา ในตำรายาของประเทศไทย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การพัฒนายาจากกัญชาเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความมั่นคงทางด้านยา การนำผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ทั้งในแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยนั้น วัตถุดิบกัญชา และผลิตภัณฑ์ยากัญชาทุกชนิดจำเป็นต้องมีคุณภาพดี และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามมาตรฐานดังกล่าวของประเทศไทยที่ผ่านมายังไม่มีให้อ้างอิง ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักยาและวัตถุเสพติด จึงได้จัดทำตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติมปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) ขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิงตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์กัญชา จำนวน 2 มอโนกราฟ ได้แก่ สารสกัดกัญชา (Cannabis Extract) และน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น (Cannabis Sublingual Drops) โดยข้อกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้จากการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจเอกลักษณ์และวิธีวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ ทั้งสาร tetrahydrocannabinol (THC) และ cannab
กรมวิทย์ฯ เผย ขั้นตอนการตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันชีววัตถุ เป็นห้องปฏิบัติการในการควบคุมคุณภาพวัคซีนภาครัฐซึ่งองค์การอนามัยโลกให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานในระดับภูมิภาค สำหรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในประเทศ กรมวิทย์ฯ ได้ช่วยตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบ โดยวิธี plaque reduction neutralization test (PRNT) ซึ่งต้องทดสอบโดยใช้เชื้อไวรัสโควิด-19 ภายใต้ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 3 การทดลองโดยนำซีรั่มจากเลือดหนูที่ได้รับวัคซีนต้นแบบมาเจือจางที่ระดับต่างๆ กัน จากนั้นนำมาผสมกับไวรัสโควิด-19 ก่อนนำไปใส่ลงในเซลล์แล้วนำไปบ่มในอุณหภูมิที่เหมาะสม นาน 6 วัน จากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจนับจำนวนไวรัส ถ้าซีรั่มในเลือดไม่มีภูมิคุ้มกัน เซลล์ก็จะติดเชื้อ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าซีรั่มในเลือดมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันเชื้อได้ ไวรัสที่อยู่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อจะลดลงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่ได้ ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสามารถป้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาการใช้ตัวอย่างน้ำลาย ตรวจโควิด-19 ตัวอย่างน้ำลาย – เว็บไซต์ สธ. เผยแพร่ข่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาการใช้ตัวอย่างน้ำลาย และการรวมตัวอย่าง ตรวจสำหรับคัดกรองโรคโควิด-19 โดยร่วมกับกรมควบคุมโรค ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มเสี่ยง อาทิ แรงงาน พนักงานโรงงาน คนขับรถสาธารณะ ฯลฯ เผยผลการเก็บตัวอย่างตรวจที่ผ่านมา 11,236 ตัวอย่าง พบผลบวก 1 ตัวอย่าง ตั้งเป้า 100,000 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนาการใช้ตัวอย่างน้ำลายในการตรวจ COVID-19 เพื่อใช้ในการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องทำการตรวจคัดกรองคนจำนวนมาก เนื่องจากกระบวนการเก็บใช้เวลาไม่นาน ผู้ป่วยเก็บตัวอย่างได้เอง และอุปกรณ์ในการเก็บหาได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงได้จัดทำโครงการนำร่องคัดกรองโรค COVID-19 ในกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 4 และ 5 ขึ้น โดยการเก็บตัวอย่างน้ำลาย จากส่วนลึกของลำคอ จากกลุ่มเสี่ยงและชุมชนแออัด เช่น กลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มผู้ขับรถรับจ้างและขนส่งสาธารณะ กลุ่
“รู้ผลภายใน 3 ชม.” กรมวิทย์ฯ พัฒนาห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ พร้อมรับมือไวรัสอู่ฮั่น กรมวิทย์ฯ – ยังคงเป็นเรื่องที่ประชาชนเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์กันอย่างต่อเนื่อง สำหรับ สถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ ไวรัสอู่ฮั่น ที่ปัจจุบันประเทศไทยเราพบผู้ติดเชื้อกว่า 14 รายแล้ว ที่เว็บไซต์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เผยแพร่ข่าว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (ส่วนกลาง) และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (ศวก.) ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ศวก.ที่ 1 เชียงใหม่ ศวก.ที่ 3 นครสวรรค์ ศวก.ที่ 6 ชลบุรี ศวก.ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ศวก.ที่ 11/1 ภูเก็ต และศวก.ที่ 12 สงขลา มีความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ ในการรับมือสถานการณ์ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel coronavirus 2019; nCoV 2019) หรือไวรัสอู่ฮั่น ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในประเทศจีน ณ ขณะนี้ โดยให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสงสัยติดเชื้อ ที่เข้าเกณฑ์การคัดกรองของกรมควบคุมโรค ซึ่งสามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้อย่างแม่นยำ มีความจำเพ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนา “ชุดทดสอบกัญชา” คุ้มครองผู้บริโภค รู้ผลภายใน 5 นาที! กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาชุดทดสอบอย่างง่าย สำหรับตรวจสอบผลิตภัณฑ์กัญชาเบื้องต้นว่ามีส่วนผสมของสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในพืชกัญชา ได้แก่ THC CBD และ CBN อยู่ในผลิตภัณฑ์หรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางห้องปฏิบัติการหรือผู้ที่มีความชำนาญ ในการทดสอบและให้ผลแม่นยำภายใน 5 นาที ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงนโยบายของท่าน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ในเรื่องการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนได้รับยาที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสามารถผลิตในประเทศได้ ทำให้เกิดความมั่นคงด้านยา แต่เนื่องจากปัจจุบันมีการนำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และมีการลักลอบผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอวดอ้
วันที่ 16 พ.ค. นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีเบลล่า-ราณี แคมเปน นักแสดงสาวชื่อดัง นำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบีเคิร์ฟ มาให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เบื้องต้นตนได้รับรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวไม่พบสารต้องห้ามหรือสารอื่นใดที่เป็นอันตราย ด้าน ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ ว่า สำหรับการตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิต หรือโรงงานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ผ่านมาได้ไปตรวจสอบโรงงานหรือสถานที่ผลิตที่มีการจดแจ้งจำนวนมากก่อน อย่างในกทม.เราพบว่า มีโรงงานอยู่ 6 แห่งมีรายการจดแจ้งจำนวนมากกว่า 1,000 รายการขึ้นไป แต่กลุ่มนี้ไม่ค่อยน่าห่วง เพราะเป็นโรงงานขนาดใหญ่ แต่จะมีผู้ผลิตรายเล็กประมาณ 25 แห่งมีรายการจดแจ้งถึง 300 รายการขึ้นไป รวมทั้งผู้ผลิตรายเล็กอีก 100 แห่งที่มีรายการจดแจ้งอีก 100-300 รายการ ที่เหลือก็เป็นรายเล็กมีประมาณ 1-49 รายการมีอยู่ประมาณ 2,722 แห่ง ซึ่งเราก็จะตรวจสอบทั้งหมด แต่ในส่วนของภูมิภาคจะมีอีกประมาณ 7,000 กว่าแห่ง เราก็จะประสานไปที