กรมแพทย์แผนไทยฯ
อภ.-กรมแพทย์แผนไทยฯ เร่งเครื่องผลิต “สารสกัดกัญชา” ให้ผู้ป่วยทดลองใช้ ตั้งเป้าภายใน ก.ค.นี้ ด้าน อย.รอเก็บข้อมูลติดตามผลการรักษา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า หลังจากเปิดให้แจ้งนิรโทษกรรมครอบครองกัญชาตามมาตรา 22 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ซึ่งหมดเขตเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ตัวเลขผู้แจ้งนิรโทษยังไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากต้องรอข้อมูลจาก สสจ.ทั่วประเทศด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าทั้งหมดจะอยู่ที่ราว 20,000-21,000 ราย “สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ อย.จะทำหน้าที่ติดตามผลการใช้สารสกัดจากกัญชารักษาผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้ต่อไป ส่วนหน้าที่ในการตรวจจับผู้ที่ครอบครองโดยผิดกฎหมาย จะเป็นเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และตำรวจ ซึ่งจะเน้นที่ไปกลุ่มที่มีไว้เพื่อค้าและเสพ” นพ.สุรโชค กล่าว ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศ
กรมแพทย์แผนไทยฯ ร่วม ‘มก.สกลนคร-มทร.อีสาน’ ปลูกกัญชาสายพันธุ์ ‘หางกระรอก’ 1.4 พันไร่ จับมือ รพ.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ศูนย์กลางแหล่งผลิต ลั่นต้องใช้สายพันธุ์ไทยเท่านั้น พร้อมผลิตเสร็จก.ค. ไม่คิดเงิน! ชี้ทั้งหมดทำตามกฎเกณฑ์ตามกฎหมายทั้งหมด กัญชาไทย-เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการอภิปราย “กัญชา : โอกาส & ความท้าทายของประเทศไทย” ว่า ปัจจุบันการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์มีที่เห็นชัดคือ มีแนวทางแพทย์ตะวันตก และแนวทางแพทย์พื้นบ้าน หรือแพทย์ทางเลือก ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพดีที่สุด เพราะที่ผ่านมาไทยสูญเสียความสามารถในการดูแลสุขภาพให้กับอุตสาหกรรมยามาตลอด ซึ่งไทยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมหาศาล มีข้อมูลว่าคนเราต้องสูญเสียเงินที่หามาได้ตลอดชีวิตหมดไปกับค่ารักษาพยาบาลในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของชีวิตที่ต้องทำการรักษาโรคของตนเอง ขณะที่ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินก็สูงมหาศาลหมดไปถึงครึ่งหนึ่งที่หามาได้ตลอดชีวิตเช่นกัน “แนวทางที่ 2 จึ