กรือโป๊ะ
คุยกับเจ้าของ “ข้าวเกรียบปลากรือโป๊ะ ฟาสฟอส” กว่าจะเจอสูตรที่ใช่ ล้มเหลวมาแล้ว 42 ครั้ง ปัจจุบัน ขายได้พีกสุดวันละ 4,000 บาท กรือโป๊ะ ของทานเล่นของคนใต้ ที่เกิดจากวิถีชีวิต หรือที่ใครหลายๆ คนรู้จักกันในนาม ข้าวเกรียบปลา ในอดีตกล่าวว่า การทำกรือโป๊ะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ถนอมอาหารและจัดการกับวัตถุดิบท้องถิ่นที่เหลือจากการจำหน่าย ได้ตกทอดวิธีการมาจนถึงปัจจุบัน จากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า กรือโป๊ะ ที่อร่อย ต้องต้นตำรับจากภาคใต้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ได้มีโอกาสไปเยือนจังหวัดตรัง และได้พูดคุยกับคุณเอียด-สิงขร ปลอดแคล้ว เจ้าของแบรนด์ข้าวเกรียบปลากรือโป๊ะ ฟาสฟอส ถึงที่มาของการทำแบรนด์รวมไปถึงการพาแบรนด์ไปอยู่ใน OTOP ได้ จุดเริ่มต้นจากความชอบ ต่อยอดเป็นธุรกิจ “เป็นคนชอบกินกรือโป๊ะอยู่แล้ว แต่เคยกินที่อื่นแล้วมันคันคอ เพราะมีผงชูรสเยอะ ก็เลยคิดว่าลองทำเองดีกว่า แบบไม่ใส่ผงชูรส จะได้กินได้ง่ายๆ” คุณเอียด เจ้าของแบรนด์ เล่าว่า เคยเป็นลูกจ้างโรงงานมาก่อน ด้วยพื้นฐานเป็นคนชอบกินกรือโป๊ะที่ขายตาม 3 ชายแดนภาคใต้มาก่อน จนวันหนึ่งก็รู้สึกว่าน่าจะทำกินเอง เพราะกินของที่อื่นแล้วรู้สึกคันคอ จึงเป็นจุดเริ่มต้
ฉันชอบไปเดินตลาดในแฟลตคลองจั่น ซึ่งเป็นศูนย์รวมของชาวใต้ ที่นั่นมีอาหารและวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารใต้ทุกชนิด หรือจะเป็นอาหารปรุงสำเร็จก็มากมายจนเลือกไม่ถูก รวมถึงของกินเล่นที่ฉันชอบมากๆ คือ ข้าวเกรียบปลา ที่เรียกว่า กรือโป๊ะ กือโป๊ะ หรือ กะโป๊ะ ซึ่งได้อิทธิพลมาจากมลายูที่เรียกว่า เกโรโปะก์ (Keropok) ภาษาอินโดนีเซีย เรียกว่า กรุปุ๊ก (Krupuk / Kerupuk) และภาษาฟิลิปิโน เรียกว่า โกรเปก (Kropek) กล่าวกันว่า ชาวอินโดนีเซียเป็นต้นตำรับของข้าวเกรียบที่เราๆ กินกันอยู่ในทุกวันนี้ โดยมีวัตถุดิบหลักคือ แป้งข้าวเจ้าและแป้งมัน ซึ่งในอดีตอาจจะใช้แป้งสาคูเป็นหลักเพราะหาได้ง่ายในท้องถิ่น แล้วผสมส่วนผสมอื่นๆ ลงไปทำให้เกิดข้าวเกรียบหลากหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง (Krupuk udang) ข้าวเกรียบปลา (Krupuk kemplang / Krupuk ikan) ข้าวเกรียบมันสำปะหลัง (Krupuk singkong/Krupuk kampang/ Krupuk putih) ข้าวเกรียบหัวหอม (Krupuk bawang) แม้กระทั่งเมล็ดของต้นเหมียงหรือต้นเหลียงก็สามารถเอามาทำข้าวเกรียบได้เรียกว่า เอมปิง (Emping) นอกจากนี้ยังมีข้าวเกรียบอีกสารพัดชนิด ซึ่งคนที่เคยไปอินโดนีเซียจะต้องพบกับข้าวเกรียบหลากชนิ