กลางเดือนตุลาคม
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีข่าวลือแจ้งเตือนในสื่อโซเชียลมีเดียว่า ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ในคันกั้นน้ำในเขตอำเภอจังหวัดนนทบุรี ว่า ปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติจะไม่ล้นคันกั้นน้ำ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่เศรษฐกิจในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีอย่างแน่นอน นายทองเปลวกล่าวถึงสาเหตุที่ต้องระบายน้ำออกจากเขื่อนเพิ่มขึ้นเพราะกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าร่องมรสุมจะพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ใกล้จะเต็มอ่างแล้ว จึงต้องปรับการระบายน้ำออกจากเขื่อนเพิ่มเป็นวันละ 55 – 60 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำล้นอ่างที่จะส่งผลกระทบพื้นที่ท้ายเขื่อนเป็นบริเวณกว้างได้ โดยปริมาณน้ำที่ระบายออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เมื่อไหลไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณอำเภอบางไทรจะมีปริมาณน้ำประมาณ 2,076 ลูกบาศก
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม นางเบญทราย กียปัจจ์ รองโฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า นี้สำนักการระบาย กทม.ได้รายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยสถานการณ์น้ำเหนือ น้ำหนุน รวมถึงสถานการณ์น้ำทางพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ยังไม่น่าห่วง เนื่องจากกรมชลประทานได้ลดปริมาณการปล่อยน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเหลือประมาณ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วินาที) เนื่องจากเริ่มมีน้ำเอ่อล้นท่วมหลายพื้นที่ เช่น ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ประกอบกับฝนตกน้อยลง รวมถึงระดับน้ำหนุนซึ่งวัดได้ที่ปากคลองตลาดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1.4 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ จะมีน้ำทะเลหนุนสูง จึงต้องเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดกับขึ้นกับชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำรวมถึงจุดที่เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยายังสร้างไม่เสร็จ ซึ่ง กทม.ได้เตรียมการช่วยเหลือแล้ว “ในส่วนของระดับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำอยู่ในระดับวิกฤตหลายจุด เช่น มีนบุรี ลาดกระบัง ฯลฯ สูงกว่าระดับวิกฤตทำให้มีน้ำล้นเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ กทม.ไ