กลโกงมิจฉาชีพ
เงินเก็บทั้งชีวิต อย่าให้มิจฉาชีพมาเอาไปง่ายๆ! รู้ทันกลโกง ป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ ไม่ให้ถูกดูดเงินไปจนหมดกระเป๋า ช่วงนี้นอกจากข้าวของแพง เงินทองหายากแล้ว ชีวิตยังต้องลำบากกับการรับมือกลโกงมิจฉาชีพที่ระบาดหนักขึ้นทุกวัน แถมรูปแบบการหลอกลวงก็มีความหลากหลายและแนบเนียนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งช่องทางพื้นฐาน ไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ ทำให้ใครหลายๆ คน ถูกดูดเงินออกจากกระเป๋าไปง่ายๆ เพียงเพราะความประมาท ขาดสติ และไม่เท่าทันกลโกง วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงอยากชวนรู้ทันกลโกงของเหล่านักโจรกรรมทางการเงิน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ โดยมีวิธีการตรวจสอบง่ายๆ ดังนี้ – กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นเพจ หรือเว็บไซต์ แอบอ้างเป็นธนาคาร หลอกให้ทำธุรกรรมเท็จ หรือให้คลิกลิงก์เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรม – กลโกงมิจฉาชีพ ปลอม! ระวังมิจฉาชีพปลอมเป็นพนักงานธนาคารหลอกให้โอนเงิน ก่อนได้รับการอนุมัติสินเชื่อ เพราะธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนการพิจารณาสินเชื่อ เช็กให้ชัวร์! ก่อนตกเป็นเหยื่อ 1. ตรวจสอบให
รู้ทัน 5 กลโกงมิจฉาชีพ บนแอพ LINE พร้อมวิธีรับมือง่ายๆ ที่ป้องกันได้จริง นับวันกลโกงมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลจนกลายเป็นวิถีชีวิตปกติ จนหลายคนเผลอ หลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็พยายามปราบปราม และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทัลในการป้องกันตัวเองไปพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ LINE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในไทยกว่า 53 ล้านคน ได้รวบรวม 5 กลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพใช้บนแพลตฟอร์ม LINE หรือแอบอ้างชื่อบริษัทฯ พร้อมข้อเท็จจริง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ LINE เอาไว้เช็กก่อนเชื่อ ไม่เป็นเหยื่อกลโกง 1. อ้างเป็นเจ้าหน้าที่จาก LINE ทางโทรศัพท์ ขู่ระงับบัญชี LINE บริษัทฯ จะไม่มีการติดต่อผู้ใช้งานผ่านช่องทางโทรศัพท์ หรือเพิ่มเพื่อนทาง LINE ไปพูดคุยถึงปัญหาการใช้งานต่างๆ อย่างแน่นอน โดยปกติจะติดต่อผ่านแบบฟอร์มสอบถาม contact-cc.line.me และอีเมลที่ให้กรอกในฟอร์มเท่านั้น และทาง LINE จะไม่ขอรหัสผ่านหรือข้อม
ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ แนะ 10 แนวทาง ทำธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัย วันที่ 1 พ.ย. 2564 นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากกรณีการตัดเงินที่ผิดปกติผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิตของลูกค้า โดยเกิดจากกลุ่มมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตรและนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีระบบยืนยันตัวตนก่อนทำรายการนั้น สมาคมธนาคารไทยร่วมกับ สำนักงานระบบการชำระเงิน ศูนย์ประสานงานความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตและชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริตภายใต้สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาและวางมาตรการป้องกันปัญหาเชิงรุก พร้อมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนถึงภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามแสวงหาวิธีการต่างๆ มาหลอกลวงประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้ง SMS E-mail Facebook Line และเว็บไซต์ปลอม สมาคมฯ จึงได้รวบรวมแนวทางการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่จะช่วยให้ทำธุรกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินได้อย่างมั่นใจ ดังนี้ ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเ
นักช็อปพึงระวัง เปิดกลโกงที่พบบ่อย จากการซื้อของออนไลน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีการซื้อขายจากหน้าร้านไปอยู่บนออนไลน์ เช่นเดียวกับมิจฉาชีพที่ตามติดไม่ปล่อย จากนักล้วง(กระเป๋าตังค์คนช็อป) นัก(ขาย)ย้อมแมว นัก(ซื้อ)เล่นเล่ห์เงินทอน ที่โกงกันทั้งแบบซึ่งหน้าและแบบแอบซ่อน มาเป็นการฉ้อโกงทางไกลที่ยากต่อการจับได้ไล่ทัน โดยในที่นี้ขอแบ่งปันเทคนิคกลโกงที่พบบ่อยและมีการร้องเรียนผ่านธนาคาร เพื่อให้รู้ทันรู้เท่า ดังนี้ ภัยสำหรับลูกค้าที่ซื้อของออนไลน์ พบมากในการซื้อขายสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ดังวิธีการที่พบบ่อยต่อไปนี้ ล่อให้ซื้อ : ด้วยการประกาศขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะสินค้ามือสองและสินค้าแบรนด์เนมที่อยู่ในความสนใจของตลาด โดยให้ผู้ซื้อโอนเงินหรือจ่ายค่าสินค้าก่อน แต่ผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ หรืออาจส่งแต่เป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพตามที่โฆษณา ลวงให้โอน : พบมากในกรณีการโอนซื้อของมือสองออนไลน์ ต่างจากกรณีแรกตรงที่มิจฉาชีพไม่ใช่ผู้ค้าขายที่แท้จริงและไม่มีเจตนาส่งสินค้าให้อยู่แล้ว โดยชื่อบัญชีผู้รับโอนกับชื่อคนขายไม่ใช่บุคคลเดียวกัน เพื่อหลบเลี่ยงการติดตามเอาผิด ทั้งนี้ บัญชีผู้