กะหล่ำปลี
สาวโรงงานหนี้ท่วมตัว พลิกชีวิตด้วย กะหล่ำปลี รับซื้อผลผลิตจากเกษตรชาวดอย วันละกว่า 70 ตัน สาวโรงงานที่หนี้สินท่วมตัว แต่คำว่า “ลูก” ทำให้เจ้น้องไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา กัดฟันสู้เป็นลูกจ้างรายวันแผงขายผัก จนพบจุดเปลี่ยนในชีวิต ผันตัวเองมาเป็น ผู้คัดเลือก รวบรวม และจัดส่งกะหล่ำปลีจากเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภค คว้ารายได้เฉียด 10 ล้านบาทต่อเดือน และยังเป็นที่พึ่งพิงของชาวดอยคอยรับซื้อผลผลิตทุกวัน วันละกว่า 70 ตัน เจ้น้อง หรือ คุณพัชรมณฑ์ เถกิงสรคันธ์ อายุ 50 ปี เล่าให้ฟังว่า ในทุกๆ วันจะมีกองทัพรถสิบล้อขนกะหล่ำปลีสดๆ จากดอยกว่า 70 ตัน เข้ามาขายที่ตลาดสี่มุมเมือง ผลผลิตเหล่านี้เดินทางไกลมาจากแปลงปลูกของชาวดอยจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีมากกว่า 100 ไร่ “เจ้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างต้นน้ำ คือช่วยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และกระจายต่อสู่ปลายน้ำ ให้ผู้ซื้อที่มีตั้งแต่รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม 5 ดาว สายการบิน เรือนจำ ไปจนถึงผู้ซื้อรายย่อย อย่าง รถเร่ กว่า 20 ปีแล้ว ช่วยเกษตรกรชาวดอยหลายครอบครัวให้ตั้งตัวได้ ส่งลูกเรียนหนังสือ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” แนวคิดล้ำๆ ของเจ้น้อง ไม่ได้เรียนมาจากไหน แ
ม้งภูทับเบิก ปลูกกะหล่ำปลี เจอแต่เคมี หันทำผักอินทรีย์ ได้ความรู้จากพระองค์ท่าน พื้นที่ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นบรรพบุรุษ ทำกันมาหลายชั่วอายุคน ก่อนที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่บนภูทับเบิกแห่งนี้ กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกผักเมืองหนาวแทน อย่าง การปลูกกะหล่ำปลี เป็นต้น ซึ่งปลูกมากบนพื้นที่ดอยของภูทับเบิก ด้วยสภาพอากาศที่เหมาะสม โดยผู้ปลูกส่วนใหญ่เป็นชาวม้ง คุณอาเซ็ง แซ่ลี ผู้อาวุโสชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง หมู่บ้านภูทับเบิก ม.14 เล่าว่า ตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นพ่อแม่ปลูกฝิ่นกันมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่การปลูกฝิ่นไม่ได้ช่วยให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข หรือหายจากความยากจนที่มีอยู่ได้เลย เพราะพอฝิ่นขายไม่ได้ ชาวบ้านก็เอามาสูบ สูบเสร็จก็ไม่สามารถทำงานอะไรได้อีก เป็นวังวนซ้ำไปซ้ำมา ไม่จบสิ้น แต่พอพื้นที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ส่งเสริมให้ชาวม้งหันมาปลูกผักอย่างกะหล่ำปลีที่ชอบอากาศเย็นบนดอยนั้น ชาวบ้านที่นี่ก็ปลูก แต่สิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนของตนคือ การใช้สารเคมี ชาวม้งที่นี่ปลูกกะหล่ำปลีกันแต่ก็ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่นอย่างมาก เป็นเห
หลายคนอาจเคยผ่านหูผ่านตากับกระแสข่าวในสังคมออนไลน์ถึง “ผัก 5 ชนิด ห้ามกินดิบ” เพราะมีสารที่อาจก่ออันตรายได้ ประกอบด้วย กะหล่ำปลี ถั่วงอก หน่อไม้และมันต่างๆ ถั่วฝักยาว และผักโขม แต่ทราบหรือไม่ว่า ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร เนื่องจากผักเหล่านี้มีคุณค่าทางโภชนาการและสารสำคัญช่วยป้องกันโรคบางชนิดเช่นกัน ผศ.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตอบข้อสงสัยในประเด็นข้างต้นว่า จริงๆ แล้วผักทั้ง 5 ชนิด ไม่ได้ห้ามรับประทานดิบโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ว่าผู้ป่วยบางกลุ่มอาจต้องระวัง ประกอบด้วย กะหล่ำปลี ข้อจำกัดของการห้ามกินดิบ คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ โดยในกะหล่ำปลี จะมีสารชื่อ กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนไปใช้สร้างฮอร์โมนธัยรอกซินได้น้อยกว่าปกติ หรือทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำยิ่งขึ้น แต่หากนำกะหล่ำปลีไปผ่านความร้อน สารกอยโตรเจนก็จะสลายไปได้ “แต่สำหรับคนปกติที่ร่างกายไม่มีปัญหาอะไร ก็สามารถกินได้ ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว
หลายครั้ง เราก็เดาไม่ออกว่าอาหารของประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้นเขากินอะไรกันบ้าง ก็ต้องศึกษาจากตำราประกอบ สำหรับอาหารของหลวงพระบางไม่มีตำราเล่มไหนที่จะสมบูรณ์แบบเท่าตำรับอาหารพระราชวังหลวงพระบาง ของเพียสิง จะเลินสิน อีกแล้ว เพียสิงเป็นหัวหน้าห้องเครื่องในพระราชวังหลวงพระบาง เป็นพระพี่เลี้ยงเจ้าสุวรรณภูมาและเจ้าสุวรรณวงศ์เขาเขียนบันทึกชิ้นสำคัญนี้ก่อนพ.ศ. 2510 ทำให้เราเห็นภาพอาหารที่ชาวหลวงพระบางกินกันในอดีตโดยเฉพาะในวัง หลายอย่างไม่พบเห็นในปัจจุบันแล้วหรือเป็นอาหารที่ทำกินกันในครัวเรือน ไม่ได้มีขายแพร่หลายทั่วไป ฉันพบว่ามีอาหารที่ทำจากขาหมูอยู่ประปรายและสนใจในอาหารที่ชื่อว่า “ตีนหมูอ่อมกะหล่ำปลี” ซึ่งต่างกับแกงอ่อมหมูที่เราคุ้นเคย คำว่า “อ่อม” นี้หมายถึงการต้มด้วยไฟอ่อนๆ ให้เปื่อย วิธีทำก็ไม่ซับซ้อนอะไร เอาตีนหมูซึ่งหมายรวมถึงขาหมูทั้งขาเผาไฟขูดขนให้เรียบร้อย ซึ่งสมัยนี้มีทำสำเร็จทำให้เราเบาแรงไป นำขาหมูมาคลุกกับน้ำปลานิดหน่อย เอาหม้อใส่น้ำตั้งไฟ ใส่กระเทียม หอมแดง หัวหอมใหญ่ และมัดต้นหอมลงไปต้มด้วย ปรุงรสด้วยเกลือให้พอมีรสเค็มจางๆ ต้มด้วยไฟรุมๆ ให้เปื่อย ก่อนหมูจะเปื่อยให้หั่นกะหล่ำปล
แม่บ้านสมัยใหม่ทุกท่านที่ไปจ่ายตลาดด้วยตนเอง ทุกท่านคงจะต้องรู้จักกับผักชนิดหนึ่งที่เรียกว่า“กะหล่ำปลี” และก็คิดว่าคงจะมีน้อยคนที่ไม่เคยกิน “กะหล่ำปลี” กะหล่ำปลี เป็นผักในตระกูลครูซิเฟอเรีย ซึ่งมาจากคำว่า ครูซิฟิก ซึ่งหมายถึง ไม้กางเขน เพราะมีความเชื่อว่า กะหล่ำปลีเป็นพืชอาหารที่สวรรค์ประทานมาให้แก่มวลมนุษย์ชาติ การที่มีดังนี้เพราะดอกของพืชในตระกูลนี้ จะมี 4 กลีบ วางตัวเป็นรูปไม้กางเขนหรือกากบาท กะหล่ำปลี เป็นผักในตระกูลกะหล่ำเช่นเดียวกับ คะน้า บร็อกโคลี่ ผักกาดขาว แรดิช และ เทอร์นิพมีลักษณะเป็นหัวกลมขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสีเขียว และกะหล่ำปลีสีม่วงอีกสายพันธุ์ที่มีสีสันแปลกตาสวยงาม Cabbageคือชื่อภาษาอังกฤษของกะหล่ำปลี ซึ่งเดิมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และถูกนำมาปลูกในไทยอย่างแพร่หลายเพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวย สำหรับประเทศไทยนั้น แต่เดิมปลูกได้ดีเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน เพราะการจะห่อตัวเป็นปลีได้จำเป็นต้องได้รับอากาศหนาว ต่อมามีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนกับอากาศร้อน จึงทำให้สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ และทุกฤดูกาล กะหล่ำปลีเป็นพืชที่มีอายุ 2
วันที่ 26 ตุลาคม ความคืบหน้าหลังจากนายไกรสร กองฉลาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวต่อต้านการปลูกมันฝรั่งบนภูทับเบิก โดยชี้ว่าเป็นเกษตรพันธสัญญาผูกมัดชาวบ้าน และยังสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะต้องใช้ปุ๋ยและยาค่อนข้างเยอะ โดยขัดต่อแนวทางที่ทางจังหวัดกำลังเร่งขับเคลื่อนเรื่องผักปลอดภัย จากนั้นยังปลุกกระแสผู้บริโภคให้ช่วยกันกดดันให้เอกชนมีความรับผิดต่อสังคมให้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายใจ แซ่เถา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 14 บ้านทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งบนภูทับเบิก กล่าวว่า การปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ภูทับเบิกนั้นทางเอกชนได้มาส่งเสริมให้ปลูกเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โดยพื้นที่ปลูกแต่ละปีจะไม่เท่ากันต่ำสุดราว 400 ไร่ และสูงสุดราว 1,000 ไร่ ส่วนการใช้สารเคมีก็ใช้น้อยกว่าการปลูกกะหล่ำปลี นายใจกล่าวอีกว่า การที่เอกชนประกันราคาขายผลผลิตให้เกษตรกรกิโลกรัมละ 14 บาท ทำให้เกษตรกรมีความพึงพอใจ เพราะในการเพาะปลูกใช้ระเวลาราว 90 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งขายให้เอกชนได้แล้ว ขณะเดียวกันรายได้ต่อไร่ก็ค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดแรงจูงใจ ส่วนกรณีที่เอ