การย้อมผ้าพื้นถิ่นด้วยดินลูกรัง
ครั้งแรกของไทย! ผ้าทอสะท้อนความร้อน ผลผลิตจากการเพิ่มมูลค่า ด้วย เทคโนโลยีย้อมผ้าพื้นถิ่นด้วยดินลูกรัง บ้านสันติภาพพัฒนา ตำบลโนนป่าซาง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย เป็นแหล่งที่มีดินลูกรังสีแดงสดและมีพืชที่มีเปลือกให้สีหลายชนิด เช่น ประดู่ จาน (ทองกวาว) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพืชที่เปลือกมีความเป็นด่างสูงเป็นจำนวนมาก อาทิ ยูคาลิปตัส ฝรั่ง จากความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว ทีมวิจัย วว. นำโดย ดร.ชุมพล บุษบก นักวิจัยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ วว. กล่าวว่า ตนและทีมงานได้นำวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ มาพัฒนาเพื่อให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างจากงานของกลุ่มทอผ้าและตัดเย็บบ้านสันติภาพเดิม เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นกับชุมชน คือ การใช้เม็ดสีจากดินลูกรังที่ถูกพัฒนาให้สะท้อนความร้อนด้วยเทคโนโลยีที่ วว. พัฒนาขึ้น แล้วนำไปย้อมด้ายโดยผสมกับน้ำเปลือกไม้เพื่อช่วยในการกระจายตัวและยึดติดกับด้าย จากนั้นใช้พืชที่มีความเป็นด่างสูงในการตรึงสีของดินไม่ให้หลุดออกจากด้ายอีกครั้ง แล้วนำไปทอเป็นผืน ทำให้ผ้าทอเป็นผ้าสะท้อนความร้อนและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งยังไม่มีพื้นที่อื่นผลิตผ้าชนิดนี้ นอกจากนี้ วว. ยังได้ออกแบบสัญ