การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ตามที่ กระทรวงคมนาคมได้กำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน โดยให้หน่วยงานในสังกัดถือปฏิบัติโดยเร่งด่วนนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ดังนี้ 1. การงดเว้นกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง เช่น งานถมดิน ในช่วงวันที่ 16 – 22 มกราคม 2562 รวมถึงให้ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสายดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดเพื่อลดฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าและถนนสาธารณะด้วยรถกวาดดูดฝุ่นและการฉีดล้างถนน การทำความสะอาดล้อรถก่อนออกจากพื้นที่ก่อสร้าง การปิดคลุมกระบะรถบรรทุกและการปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างให้มิดชิด การหมั่นตรวจสอบ สภาพเครื่องจักร และการติดตั้งรั้วทึบสูงอย่างน้อย 2 เมตรรอบพื้นที่ก่อสร้าง เป็นต้น 2. การยกเว้นค่าบริการจอดรถยนต์ สำหรับผู้ใช้บร
วันนี้ (9 กันยายน) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ กรณีสถานการณ์รถไฟฟ้าสายสีม่วง ระบุว่า รถไฟฟ้าสีม่วงอาการหนัก ผู้โดยสารเมิน-ขาดทุนเพิ่ม ก่อนที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงลงมาจาก 14-42 บาท เป็น 14-29 บาท ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา ผมได้คาดการณ์ว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เท่านั้น จะไม่เพิ่มขึ้นถึง 30% ตามที่ประธานกรรมการ รฟม.คาดการณ์ไว้ ดังที่ผมได้โพสต์ไว้เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559 เรื่อง “ลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วง ผู้โดยสารเพิ่ม 30% ได้จริงหรือ?” แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 8% หรือ 1,600 คนต่อวันเท่านั้น จากประมาณ 20,000 คนต่อวัน ทำให้ รฟม.ขาดทุนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ เดิมก่อนปรับลดค่าโดยสาร รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารวันละประมาณ 600,000 บาท ในขณะที่ รฟม.ต้องจ่ายค่าจ้างให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เดินรถและบำรุงรักษาวันละประมาณ 3.6 ล้านบาทสำหร