การรถไฟไทยแห่งประเทศไทย
รถไฟฯ รับพนักงานเพิ่ม 1,904 อัตรา ลั่นกลางปี’62 เปิดรับสมัครล็อตแรก 952 คน หลังครม. ปลอดล็อกให้รับเพิ่ม รองรับทางคู่ รถไฟฯ รับพนักงานเพิ่ม – นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 โดยให้สามารถเปิดรับพนักงานได้เพิ่มเติมในปีแรก ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรานั้น รฟท. จะเร่งดำเนินการปรับปรุงแผนปรับกรอบอัตรากำลังและแผนการสรรหาพนักงานในระยะ 10 ปี ให้มีความสอดรับกับข้อเท็จจริงตามข้อเสนอแนะของครม. จากนั้นจะนำกรอบอัตรากำลังและแผนฟื้นฟูกิจองค์กรปี 2561-2570 เสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาความเหมาะสมของอัตรากำลังในภาพรวมอีกครั้ง เพื่อให้รฟท. สามารถเปิดรับพนักงานจำนวน 1,904 อัตราได้ภายในปี 2562 รองรับการให้บริการโครงการรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้าง “มติ ครม. ที่ให้ รฟท. รับพนักงานเพิ่มได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของรฟท. ได้มาก เนื่องมติ ครม. เดิ
เมื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีประทับรถไฟเสด็จพระราชดำเนินในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีทอดพระเนตรวิถีชีวิตชุมชน ระหว่างวันที่ 16-18 ต.ค. 2558 พสกนิกร 3 จังหวัดรายทางต่างปลื้มปีตีเฝ้ารอรับเสด็จอย่างคับคั่งด้วยความจงรักภักดี โดยปกติแล้วเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟ ทางกรมรถไฟหลวง(หรือการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) จะถวายรถไฟพระที่นั่ง เพื่อให้พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินโดยเฉพาะ การเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยามคือ การเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟปฐมฤกษ์ กรุงเทพ – กรุงเก่า(อยุธยา) โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯบางปะอินโดยทางรถไฟอีกหลายครั้ง ตลอดจนการเสด็จเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นแปดริ้ว, นครราชสีมา, เพชรบุรี ในช่วงแรกไม่ปรากฏหลักฐานว่ากรมรถไฟหลวงได้จัดซื้อรถพระที่นั่งมาเมื่อใด แต่ลักษณะของรถพระที่นั่งทั้ง 2 คันเป็นรถ 2 เพลา(รถ4ล้อ) จำนวน 1 คัน และเป็นรถขนาด 8 ล้อ อีก 1 คัน สำหรับทางกว้า