การแสดงงิ้ว
เปิดม่านชีวิต “คณะงิ้ว ไซ้ หย่ง ฮง” เมื่อความยากจนบีบคั้นให้ขายลูก! “งิ้ว” ไม่ใช่แค่การแสดง แต่คือทางรอดของชีวิต ถ้าพูดถึงงิ้ว เชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่ อาจจะไม่เคยเห็นและไม่รู้ว่าเป็นศิลปะการแสดงแขนงหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน เพราะยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน กาลเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง เด็กรุ่นใหม่ๆ อาจจะมีโอกาสได้ดู ได้ชมการแสดงงิ้วน้อยลง จึงไม่แปลกที่ศิลปะชิ้นนี้ จะถูกหลงลืมไปบ้าง แต่นอกจากเบื้องหลังม่านงิ้วแล้วนั้น ม่านชีวิตของคนงิ้ว ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจ และน่าเห็นใจไม่แพ้กัน ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปชมการแสดงงิ้วคณะไซ้ หย่ง ฮง และได้นั่งพูดคุยกับ คุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง อายุ 58 ปี ผู้จัดการคณะงิ้วไซ้ หย่ง ฮง และมีประเด็นหนึ่งที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องสะท้อนสังคมได้ดี และชี้ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น จึงอยากจะนำมาตีแผ่ให้กับผู้อ่านได้รับรู้ร่วมกัน โรงงิ้ว-ทางรอดของครอบครัวยากจน ขายลูกเพราะไม่มีกิน? ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน อิงจากชีวิตจริงของคุณต๋อง ได้เล่าให้เราฟังว่า คุณแม่เป็นชาวจีน คุณพ่อเป็นมุสลิม คุณแม่ชอบดูงิ้วมาก เลยพาเขาไปดูงิ้ว
งิ้วไม่ตาย แค่โรยรา! วิกฤตงิ้วไทยปรับตัวเพื่ออยู่รอด ความหวังเล็กๆ แม้เหลือเพียง 10 กว่าคณะในไทย “ตราบใดที่วัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธาต่อเทพเจ้ายังคงอยู่ งิ้วจะไม่มีวันหายไป” งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เป็นศิลปะการแสดงเก่าแก่ของจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี ผสมผสานการขับร้อง การเจรจา และลีลาท่าทาง เพื่อเล่าเรื่องราว โดยมักนำเหตุการณ์ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมถึงนำความเชื่อทางประเพณีและศาสนามาผสมผสานด้วย งิ้ว เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย และกระจายไปตามชุมชนชาวไทยเชื่อสายจีน โดยคณะงิ้วในประเทศไทย ย้อนไปหลายสิบปีก่อนรุ่งเรืองมาก โดยคุณต๋อง-ธัชชัย อบทอง ผู้จัดการคณะงิ้ว ไซ้หย่งฮง คณะงิ้วอันดับ 1 ของไทย ได้เล่าว่า ในปัจจุบัน คณะงิ้วใหญ่ๆ ในประเทศไทยเหลือไม่เยอะมาก เพียง 10 กว่าคณะเท่านั้น แต่คณะที่เป็นที่รู้จักและโดดเด่นนับได้ไม่เกิน 4 คณะ จากนั้นไปแต่ละคณะก็จะใช้คนไม่ถึง 20 คน สมัยก่อนนักแสดงมีเป็นร้อยคนดูเป็นพัน เมื่อก่อนรุ่งเรืองมากจริงๆ เวลาจะออกไปแสดงในแต่ละครั้งขาสั่นกันเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันคนดูเป็นร้อยนักแสดงเป็นสิบ สำหรับการว่าจ้างงานแสดง เทียบกับปีที่แล้ว คุณต