กิจการเพื่อสังคม
สุดยอดกิจการเพื่อสังคม ใช้ “กะเหรี่ยงคราฟต์” แก้ปัญหาเผาป่า ลดมลพิษ PM2.5 ชุมชนแม่โถน้อย บนยอดดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ “ชาวกะเหรี่ยง” ที่พึ่งพาการปลูกข้าวโพดเป็นรายได้หลัก กำลังเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการทำไร่ข้าวโพดแบบดั้งเดิมไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชน และการเผาพื้นที่เพาะปลูกทุกปี ยังก่อให้เกิดมลพิษ PM2.5 อีกด้วย ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ วิถีชีวิตและภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวกะเหรี่ยงได้กลายเป็นแรงบันดาลใจใหม่ในการสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวของสองพี่น้องผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม “Karen Design” (คาเรน ดีไซน์) อย่าง คุณจีรพันธ์ และ คุณชุณวัณ บุญมา ที่นำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงมาผสานเข้ากับดีไซน์ที่ทันสมัย จนกลายเป็นงานคราฟต์ 2 สไตล์ได้อย่างลงตัว “แฟชั่นผ้าทอสไตล์กะเหรี่ยง” ได้ถูกปรับโฉมให้ร่วมสมัย ใส่ได้ทุกวันแบบไม่เคอะเขิน และ “โคมไฟจากเปลือกข้าวโพด” ที่นำวัสดุเหลือทิ้งมาสร้างเป็นงานคราฟต์ที่มีเอกลักษณ์ โดยหลังการเข้าร่วมโครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” (Banpu Champions for Change : BC4C) ป
บ้านปู หนุนพัฒนาศักยภาพคน อัปสกิล SE รุ่นใหม่ เปิดตัว 7 ทีม “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ย้ำความมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพคน จับมือ ChangeFusion ดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลลัพธ์ทางสังคมและการตลาด ร่วมอัปสกิลผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) รุ่นใหม่ ภายใต้โครงการ “พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม” หรือ Banpu Champions for Change (BC4C) รุ่นที่ 13 มุ่งพัฒนาศักยภาพ SE ให้สามารถสร้างการเติบโตทั้งในด้านรายได้และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พร้อมเปิดตัว 7 กิจการเพื่อสังคมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation Program ปี 2567 นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้โครงการ BC4C ได้รับความสนใจจาก SE ในหลากหลายพื้นที่ภายหลังที่เราได้ลงพื้นที่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมในหลายภูมิภาค ซึ่งตรงกับความตั้งใจของเราตามธีมในปีนี้คือ ‘Impactful Locals, National Boost : ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง’ ที่ต้องการส่งเสริมให้มี SE หน้าใหม่ที่เข้มแข็งทั่วประเทศ จาก 15 ทีมที่ผ่
“คีรีฟาร์ม” ธุรกิจชุมชนรายได้หลักพัน สู่กิจการเพื่อสังคมรายได้หลักแสนต่อเดือน ยกระดับทั้งชุมชนคนอีสาน ให้มีกินมีใช้ไปด้วยกัน ว่ากันว่า การเอาชนะอุปสรรค เหมือนการปีนเขาที่สูงชัน เมื่อพาร่างเหนื่อยหอบมาถึงยอดผา ก็จะพบกับภูเขาลูกใหญ่กว่าตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้า รอให้เราเลือกว่าจะนั่งหอบอยู่เฉยๆ กับพื้น หรือลุกขึ้นยืนเพื่อท้าทายอุปสรรคสู่ความสำเร็จในครั้งใหม่ ปิง-วิไลลักษณ์ ชูช้าง ผู้ก่อตั้ง ‘คีรีฟาร์ม’ ธุรกิจเลี้ยงไส้เดือน และเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร ย้อนกลับไปปี 2561 สาวอีสานคนนี้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายในกรุงเทพฯ เริ่มถึงจุดอิ่มตัวในอาชีพ ตัดสินใจโบกมือลาชีวิตคนเมือง กลับมากาฬสินธุ์เพื่อพักใจและหาเส้นทางในอาชีพใหม่ ที่สามารถดูแลตนเองและช่วยเหลือชุมชนไปพร้อมกันได้ คีรีฟาร์ม และแรงช่วยเหลือจากคนในชุมชน ความท้าทายแรกหลังตัดสินใจกลับบ้านเกิด คืออาชีพของคนที่นี่ไม่ได้มีให้เลือกมากนัก ทำให้เธอเริ่มต้นหาความรู้จากครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกร เรียนรู้เรื่องการเกษตรและเทคโนโลยี รวมถึงเข้าร่วมเวิร์กช็อปต่างๆ จนทำให้เธอตัดสินใจลองเปิดกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนและเพาะเ