ขนมโบราณ
“เหี้ย” เดียวที่เคยกิน คือ “ขนมไข่เหี้ย” แจกสูตรขนมโบราณ ทำกินเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน นี่ไม่ใช่หนังปลากรอบ นี่ไม่ใช่ลูกชิ้นปลา แต่เป็น ขนมไข่เหี้ย ขนมไทยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยจุดเริ่มต้นของขนมไข่เหี้ย เกิดจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเสวยไข่เหี้ยกับมังคุด แต่ไม่มีใครสามารถหาไข่เหี้ยมาถวายได้ เนื่องจากไม่ใช่ฤดูกาลวางไข่ของเหี้ย เจ้าจอมแว่นสนมเอกของรัชกาลที่ 1 จึงได้ประดิษฐ์ “ขนมไข่เหี้ย” ขึ้นมาแทน และภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 4 ขนมไข่เหี้ยก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ขนมไข่หงส์” แทน ถึงกระนั้น ไข่เหี้ย ก็ยังเป็นอาหารโบราณ โดยมีวิธีการทำคือ นำไข่เหี้ยมาต้มสุกให้ไข่ขาวยังพอเหลว ใช้เข็มเจาะรูให้พรุนไปแช่ในน้ำผสมเกลือ หลังจากนั้นก็นำไปย่างไฟต่อเพื่อประกอบอาหาร รสชาติจะออกเค็มๆ มันๆ อีกทั้งยังเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง” มาอ่านสูตรขนมไข่เหี้ย ที่เรากินมาตั้งแต่เด็กๆ กันได้เลย เตรียมวัตถุดิบ * ปริมาณนี้สามารถทำขนมไข่หงส์ได้ประมาณ 100 กว่าลูก เเป้งข้าวเหนียว 1 กก. แป้งข้าวเจ้า ขีดกว่าๆ น้ำตาลทราย 2 กก. น้ำมันบัว 3 กก. ถั่วซีก 1 กก. กร
ขนมไทย ใครว่าโบราณ! แค่ปรับลุกส์ใหม่ ก็ขายดี ขนมไทย ใครว่า โบราณ ขอเถียงขาดใจ! แค่นำมาปรับลุกส์ใหม่ ก็ขายดิบขายดี เช่น 3 ร้านดัง ที่ได้ทายาทรุ่นใหม่ มาสานต่อสูตรเด็ดของครอบครัว ร้านแรก ยายทำให้หลานขาย ใครอยู่ซอยอารีย์จะรู้จักเป็นอย่างดี ร้านนี้มีสูตรเด็ดความอร่อย ส่งต่อจากคุณยาย ที่ขายขนมไทยมากว่า 50 ปี นำมาใส่แพ็กเกจจิ้งหรู ใครเห็นก็อยากกิน ร้านสอง วลักษณ์ ขนมไทย นำขนมไทยโบราณสูตรเด็ดของคุณแม่ มาแต่งตัวใหม่ ด้วยแก้วชานมไข่มุก จนขายคล่องมือ และสุดท้าย ขนมไทยยายปู สานต่อร้านขนมของแม่ที่ขายมากว่า 30 ปี ให้ซื้อง่ายขายคล่อง ด้วยการใส่กระทงใบตองจิ๋ว ยายทำให้หลานขาย ไอเดียธุรกิจ ครอบครัวขนมไทย มีคุณยายเป็นเจ้าของสูตร ทำขายมากว่า 50 ปี ได้หลานคนเก่ง คุณนัท-พัชริดา มะลา อายุ 28 ปี และ คุณปู-อนงค์นาฎ สุหาลา ช่วยทำการตลาด เปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ จากขายตลาดนัด มาเปิดแผงเล็กๆ สับเปลี่ยน วันละ 20 เมนู ราคาเริ่มต้น 25-35 บาท ขายดี วันละหลักหมื่น พิกัด วันพุธกับศุกร์ ขายที่ซอยละลายทรัพย์ วันพฤหัส ขายที่ลาดพร้าว-วังหิน ซอย 14 ส่วนวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ขายที่ซอยอารีย์ เปิดร้านตั้งแต่ 06.00-14.00 น.
แจกสูตร ขนมผักกาด ขนมโบราณของชาวจีน ใยอาหารสูง แถมช่วยแก้ท้องผูกได้ด้วย ขนมผักกาด หรือ ขนมหัวผักกาด จริงๆ แล้วไม่ได้มี ผักกาด เป็นวัตถุดิบหลัก หากแต่เป็น หัวไชเท้า ต่างหากที่นำมาทำ เป็นอาหารว่างจำพวกติ่มซำ ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำหัวไชเท้าขาว ขูดยาวหรือหั่นฝอย และวัตถุดิบอื่นๆ ผสมกัน แล้วนำไปนึ่ง หั่นเป็นแผ่นขนาดใหญ่ กินกับน้ำจิ้มผสมน้ำส้มสายชูพริก ซึ่ง หัวไชเท้า หรือผักกาดหัว มีสรรพคุณแก้กระหายน้ำ คอแห้ง ช่วยขับปัสสาวะ มีใยอาหารสูง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วย เพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร จึงได้นำสูตรมาแจกให้ประชาชนได้ทำทานกัน ดังนี้ ส่วนประกอบ – หัวไชเท้าขูดฝอย 1 กิโลกรัม – กุ้งแห้ง 1/4 ถ้วย – เห็ดหอม 1 ถ้วย – น้ำมันพืช 1/4 ถ้วย – แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย – แป้งมันสำปะหลัง 5 ช้อนชา – กระเทียมสับ 1 ช้อนชา – น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา – ถั่วลิสงต้มสุก 1 ถ้วย วิธีทำ 1. นำหัวไชเท้ามาปอกเปลือก แล้วขูดเป็นฝอย ล้างกุ้งแห้งแล้วนำมาสับหยาบ แช่เห็ดหอมแล้วนำส่วนหนึ่งมาสับหยาบ อีกส่วนหั่นเป็นเส้น 2. ตั้งกระทะใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันพืชและกระเทียมสับลงไป ใส่กุ้งแห้ง
ขนมเรไร มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน อย่างน้อยต้องมีอายุถึงเกือบ 200 กว่าปี ซึ่งคาดเดาได้ว่า น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากในพระราชสำนัก เพราะพบปรากฏอยู่ในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานในสมัยรัชกาลที่ 2 นั่นเอง! ขนมเรไร (รังไร) คือ ขนมไทยในพระราชนิพนธ์ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่าที่เรียกขนมเรไร เพราะมีลักษณะเหมือนรังของตัวเรไร (เรไร น. ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ตัวเขียว อยู่ในจำพวกจักจั่น หรือชื่อขนมชนิดหนึ่งเป็นเส้นคล้ายขนมด้วง แต่เส้นเล็กกว่า) และลักษณะเวลากดแป้งออกจากพิมพ์ที่กด จะมีเสียงบีบของตัวแป้งดังจี๊ดๆ เล็กน้อย ซึ่งอาจจะมีลักษณะคล้ายกับรังนกเล็กๆ ด้วย ขนมเรไร นั้นมีสีต่างกันออกไป เช่น ชมพู เขียว ฟ้า เหลือง ขาว ม่วงคราม เป็นต้น ขนมเรไร เป็นขนมไทยโบราณที่มีส่วนผสมมาจาก แป้ง กะทิ มะพร้าว และน้ำตาล และใช้สีในการตกแต่งอาหารเพื่อให้ดูสวยงาม โดยอาจใช้สีจากธรรมชาติหรือสังเคราะห์แล้วแต่ตามสะดวก เพราะบางสีอาจหาได้ยากตามธรรมชาติ ขนมเรไร นับว่าเป็นภูมิปัญญาของชาววัง ที่สามารถรังสรรค์ความอ่อนหวานของสีขนมเรไร ให้มีรสชาติที่นุ่มนวล ละมุนลิ้นของผู้ที่ได้ชิม และความหอมกรุ่นของน้ำลอยดอกมะลิ กะทิสด และงาขาวคั
ข้าวเม่า มีลักษณะเฉพาะตัวที่มีความหอม มีสีเขียวธรรมชาติของเมล็ดข้าว คุณค่าทางอาหารคล้ายกับข้าวกล้อง เป็นข้าวที่ยังไม่สีเอารำออก จึงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ครบถ้วน เป็นอาหารพื้นบ้าน ชนิดที่สามารถนำมาผสมนมสด รับประทานเช่นเดียวกับอาหารเช้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีกลิ่นหอมรสชาติอร่อย และคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินบี ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ส่งผลดีต่อสุขภาพทำให้สุขภาพจิตดี มีความตื่นตัว มีสมาธิสูง ช่วยปรับระดับกลูโคสและสารอาหารรองในสมอง ช่วยให้ระบบการทำงานของสมองดี ก่อนที่ขนมโบราณชิ้นนี้จะถูกลืม ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่คงสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้เรื่อยมา หนึ่งในนั้นคือ “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยไม้ซอด” อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่ยังคงผลิตข้าวเม่าอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่การแปรรูปจากข้าวเมนูนี้ยังคงอยู่ บ้านห้วยไม้ซอด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ กลางท้องทุ่งในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่ขึ้นชื่อในการผลิต”ข้าวเม่า”มานาน เรียกได้ว่าเป็นชุมชนผลิตข้าวเม่ารายใหญ่แห่งดินแดนอีสาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านห้วยไม้ซอด ตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 9 ตำบลปากคาด อำเภอ