ขายข้าว
โอวา กะเทยขายข้าว ชาวนาออนไลน์ เน้นสร้างจุดแข็งแบบมีตัวตน ลูกค้าเกิดภาพจำของสินค้า ช่วยทำตลาดขายข้าวยั่งยืน “ข้าว” ถือเป็นอีกหนึ่งพืชทางเศรษฐกิจสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาอย่างยาวนาน เพราะตั้งแต่เล็กจนโตการได้เห็นทุ่งนาและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการทำนานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวสำหรับใครหลายๆ คน ที่ได้เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ ในพื้นที่ต่างจังหวัดและสื่อโซเชียลมีเดียที่มีการปลูกข้าวสร้างรายได้ คุณโอวา-ธนาวัฒน์ จันนิม เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญที่เรียกได้ว่ามีสายเลือดของความเป็นลูกชาวนาอย่างเต็มตัวได้ต่อยอดการทำตลาดข้าวให้กับครอบครัวจนประสบผลสำเร็จ พร้อมกับขยายการผลิตช่วยให้ชุมชนเกิดรายได้ไปพร้อมๆ กัน เปิดเวทีเสวนา ฉบับโอวา ต้นแบบกะเทยขายข้าวออนไลน์ คุณโอวา กล่าวในงานมหัศจรรย์ข้าวไทย 2024 ช่วงเวทีเสวนาเกี่ยวกับเวทีโชว์เคสข้าวไทยว่า เริ่มแรกมองว่าการทำนาของครอบครัวยิ่งทำยิ่งรู้สึกว่ายิ่งจน เพราะครอบครัวเป็นเกษตรกรทำนามาอย่างยาวนาน ทำให้มองว่าสมัยก่อนแม้จะช่วยเหลืองานครอบครัวมากเท่าไร แต่รายได้ก็ไม่มากพอที่จะพาก้าวผ่านความยากจนไปได้ จึงทำให้ในช่วงแรกได้ทิ้งอาชีพเกี่ยวกับการทำนาไป คือการเข้าเมือง
ลูกชาวนา ต่อยอดอาชีพพ่อแม่ ทำคอนเทนต์ กะเทยขายข้าว ขายดี ออร์เดอร์ปังทั้งปี ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ (ไทย) ประโยคนี้คงคุ้นหูใครหลายคนมาพอสมควร แต่ทำไมเวลาเอาข้าวไปจำนำ กลับได้ราคาที่ไม่คุ้มเหนื่อย ในขณะที่ปลายทางอย่างผู้บริโภค กลับซื้อข้าวมาในราคาที่สวนทางกับต้นทาง? ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ คุณโอวา-ธนาวัฒน์ จันนิม วัย 33 ปี ตัดสินใจต่อยอดอาชีพชาวนาของพ่อแม่ เปิดเพจทำคอนเทนต์ขายข้าวโดนใจชาวเน็ต จนทำให้ข้าวขายดิบขายดี มีออร์เดอร์เข้ารัวๆ ตลอดทั้งปี คุณโอวา ให้สัมภาษณ์กับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ว่า พื้นเพเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ เรียนจบจาก คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าทำงานเป็นพนักงานประจำที่บริษัทแห่งหนึ่งมาได้ 10 กว่าปี อยากขยับขยายหน้าที่การงาน จึงดูงานไว้ 2 แห่ง ที่ให้เงินเดือนและตำแหน่งสูงกว่า ประกอบกับเกิดความรู้สึกอยากพัก จึงตัดสินใจลาออกกลับไปพักผ่อนที่บ้านเกิด “ต้องบอกก่อนว่าที่บ้านมีอาชีพทำนา เราก็เลยเป็นชาวนามาตั้งแต่จำความได้แล้ว พอเข้าไปเรียนกรุงเทพฯ จบมาก็ทำงานที่นั่นเลย ตั้งแต่จบมาได้ 10 กว่าปี เราก็เข้าทำงานเลย มันเหมือนไม่มีเวลาพัก เลยตัดสินใจลาออกกลั
ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี-จ่ายเงินประกันรายได้ข้าว เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 64 นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนิน โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 (เพิ่มเติม) เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว ไม่ต้องเร่งขายในช่วงที่ราคาตกต่ำ โดยเป็นการปรับกรอบวงเงินจาก 19,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 4,504 ล้านบาท รวมเป็น 24,330 ล้านบาท โดยเป็น วงเงินสินเชื่อ จำนวน 3,500 ล้านบาท วงเงินค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าว จำนวน 480 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวน 524 ล้านบาท เพื่อให้สามารถรองรับการชะลอปริมาณข้าวเปลือกเพิ่มเติม จำนวน 320,000 ตันข้าวเปลือก รวมเป็น 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก ณ ความชื้นไม่เกิน ร้อยละ 15 สิ่งเจือปน ไม่เกินร้อยละ 2 ซึ่งข้าวเปลือกชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 20 กรัม ไม่รับเข้าร่วมโครงการ และข้าวหอมมะลิจะมีเมล็ดข้าวแดงได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (ไม่เกิน 22 เมล็ดใน 10
“ปิ่นโตดี่ดี๋” ธุรกิจต่อลมหายใจยุคโควิด ของพนักงานสายการบิน เป็นอีกหนึ่งสาวแกร่ง และเก่งอีกคนที่ไม่ว่าจะเจอวิกฤตไหนก็ไม่เคยยอมแพ้ ที่สำคัญยังใช้พลังบวกของตัวเองสร้างธุรกิจใหม่เป็นรายได้อีกทาง คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ วัย 38 ปี ในอีกบทบาทหนึ่ง เธอคือเจ้าของธุรกิจ “Pinto.Dede (ปิ่นโตดี่ดี๋)” ร้านขายอาหารดีลิเวอรี่ ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน คุณทอปัด บอกกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า ธุรกิจแอร์ไลน์ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ และเป็นครั้งแรกที่กระทบต่อรายได้ของพนักงานทุกคน ไม่เว้นแม้แต่ตัวเธอเอง จากรับงานคอนซัลต์หารายได้ กลายเป็นธุรกิจร้านอาหารปิ่นโตดี่ดี๋ที่ใช้เวลาคิดและลงมือทำในเวลาเพียงไม่กี่วัน ชวนสามี และน้องๆ แอร์โฮสเตสมาช่วยกันทำ “ช่วงแรกที่รายได้ลดลง เราเริ่มรับงานคอนซัลต์ หรืองานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน เป็นสิ่งที่ถนัดและอยากทำมานาน เพียงแต่ว่ายังไม่มีแรงผลักดันให้เริ่มทำ มีลูกค้า 2-3 ราย พอเป็นรายได้มาทดแทนส่วนที่หายไป แต่พอเข้าเดือนเมษายน สายการบินหยุดบิน 100% เงินเดือนลดลง 30% ลูกค้าคอนซัลต์ก็หายไปครึ่งหนึ่ง เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เหมือนกัน เราตัดสินใ
ไม่มีทุนก็มาได้! ‘เจ๊จง’ ชวนวินมอเตอร์ไซค์-แท็กซี่ รับหมูทอดไปขาย กำไรกล่องละ 7 บาท วันที่ 17 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ ร้านหมูทอดเจ๊จง โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ประกาศเชิญชวนพี่วินมอเตอร์ไซค์และลุงแท็กซี่ ให้มีรายได้เลี้ยงตัวในช่วงโควิด-19 มารับข้าวหมูทอดเจ๊จงไปขายตามหมู่บ้าน ในสไตล์ “เปิดท้ายขายข้าว กำไร 7 บาท ต่อกล่อง” เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงต่อไปยัง เจ๊จง เจ้าของร้านหมูทอดเจ๊จง เผยว่า ดร.ศิริกุล เลากัยกุล เจ้าของโครงการ “Chefs for Chance” เป็นผู้ที่ชักชวนให้ตนลุกขึ้นมาสู้ และแนะนำว่าให้มาช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อน และได้รับผลกระทบจากโควิด-19 “เราตอบตกลงทันที เพราะมองแล้วไม่ยากเกินกำลัง ให้มารับข้าวเราไปขาย เพราะเรามีแบรนด์ของตัวเองอยู่แล้ว สามารถออกไปขายแล้วได้เลย ขั้นตอนการสมัครให้เข้ามาหาเจ๊ เพื่อพูดคุยและสอบถาม และจะแนะนำให้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง วิ่งขายแถวไหน เพราะไม่อยากให้พื้นที่ทับซ้อน ถามว่าต้องมีทุนมั้ย ในวิกฤตแบบนี้คิดว่าหลายคนไม่มีทุน แค่ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน แล้วเข้ามาหาเจ๊ได้เลย รับข้าวไปขายกี่กล่องก็ได้ ขายเสร็จค่อยมาจ่ายเจ๊ กำไรก็เอาR
ชาวนาครวญ! ราคาข้าวเหนียวดิ่งวูบเหลือกิโลละ7บาท แย้งปีทองรัฐบาล วันที่ 20 พ.ย. นางดวงตา ตันโช ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะธรรมาภิบาลจังหวัดพะเยาลงพื้นที่เยี่ยมชมและสอบถามเกษตรกรในพื้นที่ เกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับราคาข้าว ที่สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้าธ.ก.ส พะเยาจำกัด (สกต.) บ้านสันจกปก อ.ดอกคำใต้ และ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้าธ.ก.ส พะเยาจำกัด อำเภอจุน จังหวัดพะเยา จากการเยี่ยมชมการดำเนินงานของสกต.ทั้งสองแห่ง ได้พบปะสอบถามชาวบ้านที่นำข้าวมาขาย ก็ทราบว่าพึงพอใจในราคาและวิธีการรับซื้อของทั้ง 2 สกต. แต่ก็มีปัญหาเรื่องการทำนาแปลงใหญ่ สาเหตุจากไม่มีแหล่งน้ำ ส่วนผู้บริหารทั้ง 2 แห่งและผู้จัดการธกส. ได้นำเสนอปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล เรื่อง ชะลอการขายข้าวของชาวนา ทั้งนี้เนื่องจากโกดังที่เก็บมีไม่เพียงพอ สาเหตุสืบเนื่องจากการจำนำข้าวในอดีตที่ผ่านมายังไม่เสร็จสิ้น ข้าวที่มีปัญหายังอยู่ในโกดัง ไม่สามารถจะจะใช้โกดังได้ อีกทั้งนโยบาย “แก้มลิงข้าว” ก็ไม่ชัดเจน ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเกษตรกร ได้สะท้อนปัญหาราคาข้าวเหนียวว่า สำหรับที่มีการพูดว่าปีนี้เป็น “ปีทอ
ข้าว มีความสำคัญกับคนไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นผลผลิตที่มีความสำคัญของประเทศในการส่งออกไปยังนานาประเทศอีกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันจะมีปัญหาเรื่องราคาข้าว และอีกหลายปัญหาเรื่องผลผลิตข้าว ด้วยสาเหตุและปัจจัยหลายๆ อย่าง จึงมีโครงการมากมายของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ออกมาเพื่อช่วยสนับสนุน และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับข้าวไทย คุณพลรชฎ เปียถนอม เกษตรกรอาชีพ วัย 60 ปี และเป็นผู้ดูแลโครงการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ “ข้าวหอมยั่งยืน” เล่าว่า “ผมเริ่มสนใจการพัฒนาเรื่องเกี่ยวกับข้าวมาได้สักพักตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ปี 2557 ซึ่งเป็นจังหวะที่ฝ่ายเศรษฐกิจของคณะ คสช. สนใจในเรื่องการพัฒนาความหอมของข้าว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการที่จะศึกษาความหอมของข้าวและการพัฒนาข้าวไทยให้สามารถแปรรูปหรือสามารถพัฒนาระดับความหอมให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศได้” จากการศึกษาพบว่า ที่ข้าวสวยไม่หอม มีประเด็นอยู่ 2 ข้อ คือ มีความหอมไม่ถึง 1 PPM ด้วยซ้ำ จากการเก็บตัวอย่างทั้งข้าวสารและข้าวสุก ทั้งๆ ที่ความหอมของข้าวที่ควรจะมีต้องไม่ต่ำกว่า 3 PPM หรือหากต้องการทำตลาดข้าวไปสู่ประเทศจีน ความหอมต้องมีตั้
ปัญหาราคาข้าวถือเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และทุกฝ่ายระดมกันแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง อดีตนักการเมือง เซเล่ป หรือ ดารา หนุ่งในนั้น คือ หนุ่ม บอย พิษณุ ที่ได้ไปเกี่ยวข้าว นวดข้าว กับเด็กนักเรียน ณ โคกหนองนา ดาราโมเดล โดยเจ้าตัวได้โพสต์ภาพลงในอินสตาแกรม ว่า “วันนี้มาเกี่ยวข้าวที่โคกหนองนาดาราโมเดล เห็นราคาข้าวตกต่ำก็อดเห็นใจชาวนาไม่ได้ แต่ถ้าทำเกษตรแบบผสมผสานน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีนะครับ น่าจะแก้ปัญหาได้ ถ้าข้าวราคาตกก็ขายอย่างอื่นทดแทน แค่ลองเปิดรับทฤษฎีใหม่ๆ ตามศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่อยู่ทั่วประเทศ อย่าเพียงรอการช่วยเหลือจากคนอื่นเวลานี้ต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ ใครทำได้ก่อนก็สุขใจก่อน” ที่มา ข่าวสดออนไลน์
รศ.ดร. ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับความเดือดร้อนจากราคาข้าวตกต่ำอยู่ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี ซึ่งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย และมีชาวนาอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก มทร. ธัญบุรี มีครอบครัวของอาจารย์ บุคลากรมากกว่า 500 ครอบครัว ทั้งยังมีนักศึกษา และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยจัดจำหน่ายข้าวสารให้กับเกษตรกร “มหาวิทยาลัยจะดูแลเรื่องสถานที่จัดจำหน่าย รวมถึงเรื่องบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบบรรจุถุงสุญญากาศ ตั้งแต่ 1-5 กิโลกรัม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ซื้อ และช่วยยืดอายุเวลาการจัดเก็บข้าวสาร ทำให้ผู้สนใจสามารถซื้อข้าวได้เป็นจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีแนวคิดที่จะซื้อข้าวสารจากเกษตรกรเพื่อนำมามอบเป็นของที่ระลึกในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งคาดว่าจะจำหน่ายได้ไม่น้อยกว่า 5 ตัน เพราะเป็นการขายตรงจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค เกษตรกรที่สนใจติดต่อเข้ามาจำหน่ายข้าวได้ที่ กองประชาสัมพันธ์ โทร. (02) 549-4990-2 และ (02) 549-4994-5”
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมการข้าวมีข้อมูลพื้นฐานปริมาณการบริโภคข้าวของคนไทย เฉลี่ยทั้งประเทศบริโภคประมาณ 110 กิโลกรัม (กก.) ต่อคนต่อปี เมื่อดูรายภูมิภาค ปริมาณการบริโภคข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 142 กก.ต่อคนต่อปี ภาคเหนือบริโภค 109 กก.ต่อคนต่อปี ภาคใต้บริโภค 83 กก.ต่อคนต่อปี ภาคกลางและกรุงเทพฯ บริโภค 46 กก.ต่อคนต่อปี สำหรับปริมาณการบริโภคข้าวในประเทศต่างๆ เช่น เวียดนามบริโภค 215 กก.ต่อคนต่อปี พม่าบริโภค 228 กก.ต่อคนต่อปี อินโดนีเซียบริโภค 146 กก.ต่อคนต่อปี จีนบริโภค 82 กก.ต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นบริโภค 60 กก.ต่อคนต่อปี เฉลี่ยภาพรวมทั้งโลกบริโภค 61 กก.ต่อคนต่อปี “ปริมาณการบริโภคข้าวของคนไทยถือว่ายังสูงอยู่ แต่แนวโน้มก็ลดลงตามการพัฒนาของสังคมเมือง ที่ประชากรส่วนใหญ่ในเมืองที่พัฒนาแล้ว ห่วงสุขภาพ ลดการบริโภคแป้ง จึงกระทบต่อการบริโภคข้าว”นายอนันต์กล่าว นายอนันต์ กล่าวว่า พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมการข้าวร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน จัดทำแผนการผลิตข้าวครบวงจร 5 ปี (2560-64) เพื่อสร้างสมดุลให้กับผลผลิตและราคาข้า