ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ บินไกลถึงเวียนนา! ‘เปียโน THE SIS’ จากศิลปินสู่ผู้ประกอบการ เนรมิต ‘ข้าวไทย’ สู่ ‘สาโท’ หมักด้วยน้ำแร่เทือกเขาแอลป์ เพิ่มมูลค่าเทียบชั้นไวน์ “เราต้องการ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มาหมักสาโท เพราะอยากสนับสนุนให้ข้าวไทย ให้โครงการนี้ไปต่อได้อีกไกล ข้าวพันธ์ุนี้รสชาติดี และภาคภูมิใจที่เป็นข้าวพันธุ์แท้ เหมือนเราได้สนับสนุนดีเอ็นเอของข้าวไทยอย่างแท้จริง” คำบอกเล่าของ คุณเปียโน-สุพัณณดา พลับทอง ในนามวง THE SIS หลายคนรู้จักเธอในฐานะศิลปินกลุ่มทรีโอ ที่ประกอบไปด้วย 3 พี่น้อง แต่ปัจจุบัน เธอคือผู้ประกอบการไทย เจ้าของร้านอาหาร Mamamon Thai Eatery และ Sip Song Bar ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่พาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นข้าว GI ไปสู่สายตาชาวโลก ด้วยการแปรรูปเป็น ‘สาโท’ หมักด้วยน้ำแร่จากเทือกเขาแอลป์ เสิร์ฟให้ชาวต่างชาติได้ลิ้มลองความเป็นไทย จากศิลปินสู่ ‘ผู้ประกอบการ’ คุณเปียโน เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นการเปิดร้านอาหาร หลังแต่งงานกับสามีชาวสวีเดน เธอได้ติดตามสามีไปเที่ยวประเทศออสเตรียเพราะสามีมีงานรออยู่ที่นั่น ก่อนตัดสินใจลงหลักปักฐานในประเทศนี้เมื่อปี 2
ตลาดข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดูคึกคัก แม็คโคร ร่วมกับ กรมการค้าภายใน และ สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ผนึกกำลัง 8 แบรนด์ดัง คัดสรรข้าวคุณภาพจากแปลงนาสู่ผู้บริโภค สนับสนุนชาวนาไทยมีรายได้ แม็คโคร ผู้นำธุรกิจค้าส่ง ภายใต้บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ยืนหนึ่งในการเป็นศูนย์รวมข้าวคุณภาพดีหลากหลายชนิด จัดแคมเปญ “ข้าวหอมมะลิใหม่ต้นฤดู คัดสรรคุณภาพจากแปลงนาสู่ผู้บริโภค” ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตร 8 แบรนด์ชั้นนำ ได้แก่ หงษ์ทอง, มาบุญครอง, ตราฉัตร, พนมรุ้ง, เบญจรงค์, แสนดี, พิกุลแก้ว และบัวชมพู จำหน่ายในราคาค้าส่งที่ดีที่สุด ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาไทยแล้ว ยังหนุนผู้ประกอบการร้านอาหารได้ซื้อสินค้าคุณภาพดี ราคาคุ้มค่า สามารถเพิ่มกำไรให้ธุรกิจ และช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน งานนี้ได้รับเกียรติจากนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน และเยี่ยมชมบูธข้าว ร่วมด้วยนายยงยุทธ พฤกษ์มหาดำรง นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย โดยมีนายสิทธิพันธ์ ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สินค้าธุรกิจผู้ประกอบการ แผนกสินค้าบริโภค บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาช
จำหน่ายแล้ว “ข้าวฮักพะเยา” ข้าวหอมมะลิที่ดีสุดในประเทศไทย บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด (ข้าวตราฉัตร) ได้ผลิตข้าวถุงน้องใหม่ Limited Edition แบรนด์ ฮักพะเยา (Hug-Phayao) ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดพะเยา ที่มีลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่พิเศษ จากผืนนาดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โอบล้อมด้วยภูเขาสูง ผสมผสานกับแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุที่เหมาะสม และสภาพอากาศที่พอดี ปราศจากมลพิษ จนเป็นข้าวหอมมะลิ คุณภาพดี เมล็ดเรียวยาว ขาว ใส และมีกลิ่นหอมจากธรรมชาติ คงความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยา ได้อย่างลงตัว จนกระทรวงพาณิชย์ยกให้เป็นข้าวหอมมะลิที่ดีสุดในประเทศไทย คุณภาพอันดับ 1 ประจำปี 2562 และนอกจากนี้ รายได้จากข้าว “ฮักพะเยา” ทุกถุง ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเกษตรกรจังหวัดพะเยา ที่อยู่ในโครงการ GAP Plus ให้มีรายได้สูงขึ้น ข้าวที่เกษตรกรปลูก มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน เพราะบริษัทรับซื้อข้าวคืน ตามข้อตกลงการรับซื้อผลผลิตคืนในรูปแบบ “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่ง “พะเยาโมเดล” มีเป้าหมายส่งเสริมคุณภาพชีวิต ยกระดับรายได้เกษตรกรไทย และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรใ
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ปรับลดเป้าส่งออกข้าวปีนี้ลงไม่เกิน 9 ล้านตัน ชี้ ปัญหาภัยแล้งหากรุนแรง คาดจะกระทบผลผลิตในภาพรวม และมีโอกาสฉุดราคาข้าวหอมมะลิให้มีราคาสูงขึ้นเป็น 36,000 บาทต่อตัน ส่งผลกระทบการส่งออกข้าวในภาพรวมของไทยหืดขึ้นคอแข่งยากในตลาดโลก หั่นส่งออกข้าวปีนี้ไม่ถึง 9 ล้านตัน – นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยสถานการณ์การส่งออกข้าวไทยเดือน มิ.ย. 2562 ว่า ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 5.78 แสนตัน ต่ำสุดในรอบปีตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่การส่งออกข้าวตกต่ำที่สุด ส่งผลให้ช่วงครึ่งแรกไทยสามารถส่งออกข้าวได้เพียง 4.36 ล้านตัน ลดลง 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนั้น สมาคมจึงปรับลดคาดการณ์ส่งออกข้าวปี 2562 ลง จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 9.5 ล้านตัน ลดเหลือไม่เกิน 9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเมินหากสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้มีความรุนแรงคาดว่าจะกระทบต่อผลผลิตข้าวในภาพรวม ซึ่งกรณีร้ายแรงสุดหากฝนไม่ตกในเดือนส.ค. จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวหอมมะลิลดลงเหลือ 4-4.5 ล้านตัน หรือหายออกจากตลาดประมาณ 40-50%
ป้าสุดเซ็ง! แก๊งรีรีข้าวสาร หลอกขายหอมมะลิ หุงเสร็จเคี้ยวทีฟันแทบแตก วันที่ 17 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีแก๊งมิจฉาชีพขับรถหกล้อตระเวน หลอกขายข้าวสาร ตามหมู่บ้านที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอ้างว่าเป็น ข้าวหอมมะลิแท้ที่เหลือค้างสต๊อก คุณภาพดี หอม นุ่ม ทั้งยังมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไปเท่าตัว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16 บาท ขณะที่ข้าวหอมมะลิแท้ตามท้องตลาดจะขายกิโลกรัมละกว่า 30 บาท จากการลงพื้นที่ตรวจสอบที่บ้านหนองยาง หมู่ 4 ต.พระครู อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ พบว่าได้มีรถหกล้อสีฟ้าขับมาตระเวนขายข้าวสารในหมู่บ้านจริง และมีชาวบ้านตกเป็นเหยื่อซื้อข้าวสารจากแก๊งดังกล่าวด้วย คือ นางน้อย บุตรวงศ์ อายุ 66 ปี โดยได้ซื้อไว้จำนวน 1 กระสอบ น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ในราคา 800 บาท เมื่อเปิดออกดูก็มีลักษณะคล้ายข้าวตาแห้ง พอนำไปหุงก็มีสภาพเม็ดแข็ง เคี้ยวแทบไม่ได้ ทั้งยังไม่มีกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิตามที่แก๊งดังกล่าวอ้าง ป้าน้อย เล่าว่า เมื่อช่วงสายของวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีรถหกล้อขับมาตระเวนขายข้าวสารในหมู่บ้าน จากนั้นได้มีผู้ชาย 3 คนลงมาจากรถมาเสนอขายข้าวสารในราคาถูกให้ โดยบอกว่าเป็นข้าวหอมมะลิที่เ
พาณิชย์ ชี้ข้าวหอมมะลิบรรจุถุงราคาพุ่ง แค่ข่าวลือ – โต้ระบายข้าวในสต๊อกโปร่งใส พาณิชย์โต้ระบายข้าวในสต๊อกโปร่งใส พร้อมแจงข้าวหอมมะลิบรรจุถุงราคาพุ่ง แค่ข่าวลือ ชี้ช่วงที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิทรงตัวตั้งแต่ต้นฤดูจนถึงปัจจุบันและไม่มีทิศทางที่จะปรับสูงขึ้นจนกระทบแต่อย่างใดและราคาจะทรงตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง หอมมะลิบรรจุถุงราคาพุ่งแค่ข่าวลือ – คุณชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวข้าวหอมมะลิบรรจุถุงมีราคาปรับตัวสูงขึ้นอันจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ว่า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในตรวจสอบแล้ว ไม่ปรากฏว่าราคาปรับตัวสูงขึ้นตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด มีการปรับเปลี่ยนราคาขึ้นลงตามกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเท่านั้น กระแสดังกล่าวอาจเกิดจากผู้ประกอบการข้าวถุงเกิดความกังวล เกี่ยวกับปริมาณข้าวเปลือกหอมมะลิที่ผลิตได้ในปี 2561/62 ที่ลดลงเหลือประมาณ 6.6 ล้านตันต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะได้ประมาณ 9 ล้านตัน จึงคาดการณ์ล่วงหน้าว่าราคาข้าวสารอาจจะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกหอมมะลิทรงตัวตั้งแต่ต้นฤดูจนถึงปัจจุบันและไม่มีทิศทางที่จะปรับสูงขึ้นจนกระทบต่อราคาข้าวสารแต่อย่างใด
ชาวนา เผย ข้าวหอมมะลิราคาพุ่ง แต่ไม่พอขาย!! เก็บไว้กิน-ทำพันธุ์ ก็แทบหมดแล้ว ไม่มีเงินใช้ในครอบครัว สืบเนื่องจากฝนแล้ง-น้ำน้อย ทำ 40 ไร่ ได้ข้าว 5 ตัน ข้าวหอมมะลิ – วันที่ 7 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ตามถนนหนทางตามหมู่บ้านต่างๆ ขณะนี้พบว่าชาวบ้านที่เก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิพันธุ์ กข.15 และ 105 เสร็จ ต่างนำมาตากแดดเพื่อไล่ความชื้น ซึ่งการตากต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน ถ้ามีแดดจัดๆ หากแดดไม่จัดต้องใช้ระยะเวลาการตากเพิ่มไปอีก ข้าวจึงจะแห้งและสามารถนำไปขายได้ราคา หรือบางรายไม่ขายก็นำไปขึ้นยุ้งฉางเก็บไว้กินกันภายในครอบครัว ซึ่งปีนี้ต้องจ้างรถเกี่ยวข้าวลงเกี่ยวในราคา 550 บาทต่อไร่ ถึงแม้ปีนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลินาปีออกใหม่ จะมีราคาพุ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในภาพรวมของจ.สุรินทร์ พบว่า ผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณฝนในปีนี้มีน้อยมาก และบางแห่งก็ประสบกับภัยแล้ง จนข้าวยืนต้นตายก็มี ขณะที่ราคาเปิดรับซื้อข้าวเปลือกนาปี หน้าโรงสีตอนนี้รับซื้อที่กิโลกรัมละ 17 บาท หรือ 17,000 ต่อตัน ผู้สื่อข่
“ข้าวเม่า” เป็นขนมหวานประเภทหนึ่งของคนไทย ที่ทำกินตามช่วงฤดูกาล อันเกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของเกษตรกรชาวนาตั้งแต่รุ่นโบราณที่นำข้าวเหนียวที่มีรวงแก่ใกล้จะสุกเก็บเกี่ยวได้ ที่เรียกว่า ข้าวระยะพลับพลึง มาแช่น้ำ คั่ว ตำ แล้วนำมาคลุกมะพร้าว น้ำตาล โรยเกลือ ใช้ทานเป็นขนมหวาน ความจริงแล้วข้าวที่นำมาทำข้าวเม่ามีทั้งข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และข้าวเหนียวดำ แล้วที่นิยมมากที่สุดคือข้าวเม่า ข้าวเหนียว ซึ่งยังแบ่งได้เป็น 3 แบบคือ ข้าวฮาง หรือข้าวเม่าอ่อนทำจากเมล็ดข้าวสีเขียวจัด, ข้าวเม่าแบบเขียวอ่อน ทำจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม และข้าวเม่าขาวนวล ทำจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล การแปรรูปจากข้าวเพื่อเป็นขนมข้าวเม่านั้น คนโบราณดัดแปลงได้หลายวิธี อาจจะทำเป็นข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ ข้าวเม่าทอด ฯลฯ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับความต่างกันในวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม หรือส่วนผสมการปรุงของแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นไป ที่จังหวัดสุรินทร์ คนที่นั่นส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิไว้กินและขายเป็นหลัก ส่วนข้าวเหนียวก็นิยมปลูกเอาไว้กินและทำขนม อย่างข้าวเม่าด้วย ซึ่งเดิมมักทำกินในครัวเรือน ต่อมามีการพัฒนามาเป็นอาชี
วันนี้ (29 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแชร์รูปภาพพร้อมข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Yuwadee Kidhen” ระบุว่า ได้ทำการเปิดรับออเดอร์ข้าวหอมมะลิ (ข้าวใหม่) โลละ 25 บาท ถังละ 375 บาท (เก็บเกี่ยวได้ข้าวประมาณปลาย พ.ย.59) เพื่อนๆ ที่สนใจจะส่งให้ (เนื่องจากปีนี้ข้าวเปลือกถูกมาก ขายแค่พอค่าเกี่ยวจ้า) มีคนเข้าไปกดไลค์ แสดงความชื่นชมและแชร์ต่อจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่แชร์ข้อความดังกล่าว พร้อมระบุว่า สนับสนุนการขายดังกล่าว พร้อมแจ้งข่าวดีว่า สำนักงานทรัพย์สิน ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เตรียมเปิดพื้นที่ใกล้โรงอาหารกลางให้นิสิตอีกด้วย “ลูกชาวนา ที่ ม.เกษตรศาสตร์ เริ่มต้นแล้วครับ เปิดขายออนไลน์ 4 ชั่วโมง ขายไปได้ 500 กก.แล้วครับ ประทับใจจริงๆ ในน้ำใจของคนไทย ข่าวดีอีกข่าว สำนักงานทรัพย์สิน ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เตรียมเปิดพื้นที่ใกล้โรงอาหารกลางให้นิสิตลูกชาวนาขายข้าวด้วยครับ” ก่อนหน้านี้ เพจสุรินทร์วันนี้ โพสต์ข้อความระบุว่า ชาวตำบลสะกาด อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ผ่าวิกฤตราคาข้าว ด้วยการรวมกลุ่มสีข้าวหอมมะลิขายเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง