คนพิการ
จากปณิธานสู่การช่วยเหลือ มูลนิธิคุณพ่อเรย์ ศูนย์พึ่งพาแห่งความหวัง ของเหล่าเด็กและคนพิการ ที่ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ยังมีอีกหนึ่งสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือพึ่งพิงแก่คนพิการและเด็กกำพร้าหลายๆ คน อย่าง มูลนิธิคุณพ่อเรย์ ซึ่งปัจจุบัน มี บาทหลวงสุขุม ธนะสิงห์ C.Ss.R. เป็นประธานมูลนิธิ มูลนิธิคุณพ่อเรย์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดย บาทหลวงเรย์มอน อัลลีน เบรนนัน C.Ss.R. หรือ คุณพ่อเรย์ ซึ่งเป็นบาทหลวงมิชชันนารีชาวอเมริกัน คณะพระมหาไถ่ คุณพ่อเรย์เดินทางมาถึงประเทศไทย โดยขึ้นที่ท่าเรือในหมู่บ้านชาวประมง ที่อำเภอศรีราชา ที่นี่เองมีบ้านของคณะพระมหาไถ่เป็นสถานที่ที่ท่านได้เรียนภาษาไทย หลังจากเรียนจบ ท่านถูกส่งตัวไปทำงานที่จังหวัดเลย เป็นสงฆ์เจ้าอาวาสดูแลชาวอีสาน ที่กระจายอยู่ที่ราบและตามภูเขาต่างๆ หลังจาก 10 ปีที่คุณพ่อเรย์ทำงานในเขตอีสาน ท่านถูกย้ายไปช่วยงานที่พัทยา ที่ที่ท่านจะได้อภิบาลบรรดาเหล่าทหารอเมริกันที่แวะลงจากเรือเพื่อเที่ยวพักผ่อน ในปี พ.ศ. 2512 คุณพ่อเรย์ทำหน้าที่แทนบาทหลวงก๊อตเบาต์เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญนิโคลัส พัทยา วันหนึ่ง มีสตรีคนหนึ่งอุ้มลูกอ่อนมาหาคุณพ่อเรย์
เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกใช้ชีวิตให้มีคุณค่าได้! ไรเดอร์แขนพิการ ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ทำงานเพื่อครอบครัว และลูกสาววัย 12 ขวบ บางครั้งอุปสรรคของ “คนพิการ” ไม่ได้เกิดจากความทุพพลภาพหรือความบกพร่องทางร่างกาย แต่กลับมาจากการถูกมองข้ามหรือด้อยค่าจากผู้คนในสังคม ที่ตัดสินความสามารถของพวกเขาจากสภาพภายนอก การเปิดใจและให้ “โอกาส” พร้อมที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจพวกเขา ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเท่าเทียม ลองมาดูเรื่องราวของ คุณฐา-ฐาปนา เย็นรักษา ไรเดอร์หนุ่มแขนพิการที่ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ไขว่คว้าหาโอกาสจนสามารถสร้างรายได้มาจุนเจือครอบครัวด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ชายหนุ่มวัย 30 ปี แขนขวาพิการตั้งแต่กำเนิด หากไม่นับข้อจำกัดด้านร่างกาย คุณฐามีเป้าหมายเหมือนคนทั่วไปคืออยากมีครอบครัวที่สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี สามารถส่งเสียลูกสาววัย 12 ขวบ ให้มีอนาคตสดใสได้ หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านการตลาด คุณฐาได้เข้าทำงานเหมือนคนทั่วไป แม้ในช่วงแรกจะต้องใช้เวลาหางานที่ให้โอกาสคนพิการ แต่เขาได้พิสูจน์ว่าเขามีศักยภาพในการทำงานไม่ต่างจากคนปกติ
แม็คโคร หนุนสร้างงานสร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ชวนอุดหนุน “กระเช้าปีใหม่จากกระจูด” เพื่อรายได้ที่ยั่งยืนให้กลุ่มเปราะบาง ในช่วงปลายปีที่ผู้คนต่างมองหากระเช้าสวยๆ นำไปใส่ผักผลไม้ หรือสิ่งของแทนใจในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตัวเลือกอย่าง กระเช้า ตะกร้าที่สานจากกระจูด วัสดุพื้นถิ่นจากภาคใต้ กลายเป็นที่สนใจ ด้วยเป็นงานฝีมือ มีความละเอียด สะท้อนความใส่ใจในการเลือกสรร ที่ให้ความสำคัญกับวัสดุธรรมชาติ แต่สำหรับ กระเช้า ตะกร้ากระจูด ที่วางขายใน “แม็คโคร” มีความพิเศษและน่าสนใจ ด้วยเพราะผลงานเหล่านั้นมาจากฝีมือของ คนพิการ ในศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้รับการพัฒนาผลงานและทักษะอาชีพให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ จน “แม็คโคร” เพิ่มการรับซื้อมากขึ้น จากที่ผลิตหลักร้อยใบเมื่อปีที่แล้วเพื่อวางจำหน่ายใน 20 สาขา ปัจจุบันสมาชิกในศูนย์ ต่างขยันขันแข็ง แสดงฝีไม้ลายมือจักสานเต็มที่ เพื่อผลิตผลงานกว่า 3,000 ใบ เพื่อไปวางจำหน่ายในแม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ “นางศิริพร เดชสิงห์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสำเร็จนี้เกิดข
ฆ่าตัวตาย ลดลง พา คนพิการ ออกจากมุมมืด ฝึกทักษะอาชีพให้ ภูมิใจในตัวเอง ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมเพื่อเพื่อนผู้พิการตำบลแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง มีบทบาทในการช่วยเหลือดูแลคนพิการในเรื่องของคุณภาพชีวิต การศึกษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีการยกระดับทำงานในระดับอำเภอ โดยรวมกับกลุ่มคนพิการอีก 4 ตำบล ได้แก่ ชมรมคนพิการตำบลเมืองปาน ชมรมคนพิการตำบลบ้านขอ ชมรมคนพิการตำบลทุ่งกว๋าว และชมรมคนพิการตำบลหัวเมือง เกิดเป็น ‘เครือข่ายชมรมคนพิการอำเภอเมืองปาน’ ทำให้มีสมาชิกทั้งหมด 1,146 คน คนพิการเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน เนื่องจากไม่มีงานและรายได้ อีกทั้งยังใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวเพราะไม่กล้าออกสู่สังคม ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ชมรมเพื่อเพื่อนผู้พิการตำบลแจ้ซ้อน จึงทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเครือข่ายชมรมคนพิการ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เพื่อให้คนพิการมีอาชีพและรายได้อย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มเป้าหมายคนพิการจาก 3 ตำบล คือ ตำบลบ้านขอ ตำบลแจ้ซ้อน และตำบลเมืองปาน โดยมีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายมาตำบลละ 25 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน นายเพียงฟ้า ส
หนุ่มพิการ ทำโมเดลรถตุ๊กๆ ขาย คิวยาวถึงสิ้นปี ลบคำดูถูก แขนเดียวทำงานไม่ได้ แม้ร่างกายพิการ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคของสองสามีภรรยาคู่นี้ เขาทั้งคู่ช่วยกันทำมาหากิน ผ่านทุกคำดูถูกสารพัดโดยไม่คิดโทษโชคชะตา หากแต่ใช้พรสวรรค์ที่มี นำวัสดุที่คนมองข้ามอย่างกระป๋อง มาสร้างเป็นอาชีพ ประดิษฐ์โมเดลรถตุ๊กๆ จำหน่ายช่วงโควิด-19 เป็นรายได้เลี้ยงตัว คุณพลังกร อุ้ยปะโค อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนอายุ 7 ขวบ ประสบอุบัติเหตุตกต้นไม้จนแขนหัก ในขณะการรักษา หมอเข้าเฝือกแน่นเกินไป ทำให้เลือดไม่เดิน ในที่สุดต้องตัดแขนขวาทิ้ง ตอนนั้นรู้สึกอาย ไม่กล้าไปโรงเรียน เพราะเพื่อนๆ ชอบล้อ โชคดีที่ได้กำลังใจจากครอบครัว ทำให้เริ่มปรับตัวใช้ชีวิตได้เป็นปกติ หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จาก จ.สุรินทร์ แม้จะอยากเรียนต่อให้สูงแต่ก็ทำไม่ได้ เพราะฐานะทางบ้านไม่ดี “ผมไปที่ศาลากลางจังหวัด ถามหาว่ามีที่ไหนเปิดให้เรียนฟรีบ้าง เจ้าหน้าที่แนะนำให้ไปเรียนที่ศูนย์ฝึกอาชีพพระประแดง เรียนหลักสูตรคอมพิวเตอร์อยู่ 3 เดือน แล้วหางานทำตอนอายุ 22 ปี แต่ทำไม่ไหวเลยกลับมาเรียนที่โรงเรียนอาชีพพระมหาไถ่ ต่ออีก 2 ปี ระหว่างเรียนได้พบร
โบกมือลา! ยิ้มสู้คาเฟ่ สาขานิติฯ มธ. เปิดขายวันสุดท้าย 30 พ.ย. นี้ วันที่ 11 พ.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ Thammasat TODAY ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ เตรียมปิดตัวลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 นี้ เนื่องจากหมดสัญญาในการเช่าพื้นที่กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ยังคงเปิดทำการอีกสาขาที่ซอยอรุณอมรินทร์ 39 ต่อมา เพจ Yimsoo Cafe ยิ้มสู้คาเฟ่ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า “#LastCupforNewBeginning สาขาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ขยับเวลา จากทุกวันอาทิตย์ เป็นทุกวันเสาร์ เริ่ม เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน นี้ แล้วมาพบกัน 12.00-15.00 น. มาพูดคุยและจิบกาแฟกับ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กันนะคะ หากใครไม่สะดวกเสาร์ที่ 14 นี้ ยังมีเสาร์ที่ 21 และ 28 พฤศจิกายน มาอุดหนุนร้านยิ้มสู้คาเฟ่ สาขาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กันนะคะ” อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ร้านกาแฟคนพิการ โพสต์เศร้า พ่ายแพ้ระบบนายทุน ต้องปิดตัวย้ายออกจาก ม.ดัง ยิ้มสู้ บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวง ร.9 สู่คาเฟ่ สู้ชีวิตของคนพิการ “คนตาบอดทำงานได้ทุกอย่าง” วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้เพื่อคนพิการ เปิดชีวิตบาริสต
เปิดชีวิตบาริสต้าหูหนวก สู้หาเงินไม่เคยท้อ เจอลูกค้าเหวี่ยงไม่เคยหวั่น ไม่เพียงแต่เป็นร้านกาแฟทั่วไป หากแต่ ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ ซึ่งก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ คือสถานที่สร้างโอกาสให้กับคนพิการหลายคน ได้มีอาชีพทำกิน มีรายได้ และมีความรู้ติดตัวไปต่อยอดในอนาคต เช่นกันกับ คุณบี-วิภาวรรณ คันใจ วัย 23 ปี เธอคือผู้บกพร่องทางการได้ยิน ที่ได้รับโอกาสจากร้านกาแฟแห่งนี้ จากเด็กธรรมดากลายเป็นบาริสต้าฝีมือดีประจำร้านมานาน 9 เดือน รายได้ส่วนนี้นอกจากจะดูแลตัวเองได้แล้ว ยังส่งต่อเลี้ยงดูคนในครอบครัวด้วย เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ พูดคุยกับคุณบีโดยมีล่ามช่วยแปลให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เธอทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งนาน 2 ปี ภายหลังหมดสัญญาจ้างทำให้เธอต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อหางานใหม่ จนได้คำแนะนำจากเพื่อนให้มาสมัครงานที่ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ “ตอนที่มาสมัครงาน ไม่มีพื้นฐานการชงกาแฟด้วยเครื่องมาก่อน ช่วงเดือนแรกจึงค่อนข้างลำบาก แต่โชคดีที่ได้พี่ๆ ในร้านคอยช่วยสอนและให้ความรู้ จนสามารถจำสูตรกาแฟและชงกาแฟเป็นได้ใน 2 เดือน แต่การทำงานยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ และที่สำคัญ
คุณแม่ป่วยอัมพฤกษ์ พับเหรียญโปรยทาน หาเงินเลี้ยงชีพ ถึงเหนื่อยแต่สู้เพื่อลูก แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์ มีปัญหาด้านสุขภาพ เพราะป่วยเป็นอัมพฤกษ์ แต่ คุณแอ้ม-แก้วตา รุ่งแท้ วัย 41 ปี ก็ไม่เคยย่อท้อต่อชีวิต ทุกวันนี้เธอใช้ความสามารถพิเศษที่เรียนรู้ด้วยตัวเองจากยูทูบ พับเหรียญโปรยทาน ขาย ถึงเหนื่อยแต่ต้องสู้เพื่อลูก!! คุณแอ้ม เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ป่วยเป็นอัมพฤกษ์มานาน 7 ปี เมื่อก่อนตอนที่ร่างกายแข็งแรง เธอรับหน้าที่เป็นแม่บ้าน ดูแลลูก 3 คน และรับจ้างทั่วไป “พอป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ท้อมาก ไม่อยากทำอะไรเลย รู้สึกหงุดหงิด เพราะทำอะไรไม่ได้ โชคดีมีแฟนช่วยดูแลตลอด ตอนหลังคิดไปคิดมาอยู่เฉยไม่ได้ คนเคยทำงานมาก่อน แรกๆ รับจ้างดึงขี้ด้าย ก่อนหันมาพับเหรียญโปรยทาน ไม่มีใครสอน เรียนรู้เองจากยูทูบ ทำแรกๆ ยังไม่สวย ฝึกหลายวันกว่าจะได้ พอทำคล่อง ใครมีงานก็ทำไปแจกเขา เริ่มมั่นใจถึงเปิดรับออร์เดอร์ ตอนนี้ทำมา 2 ปีกว่าแล้ว” ซึ่งออร์เดอร์ส่วนใหญ่ มาจากการบอกต่อของลูกค้าด้วยกันเอง และบางคนก็เห็นผ่านโลกโซเชียล “ลายที่พับส่วนใหญ่เป็น ผลไม้ เพราะขายแค่อันละ 4 บาท ถ้าทำเป็นรูปสัตว์ หรือตุ
“คนตาบอดทำงานได้ทุกอย่าง” วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้เพื่อคนพิการ ในซอยอรุณอมรินทร์ 39 คือที่ตั้งของ ยิ้มสู้คาเฟ่ ร้านกาแฟจากบาริสต้าที่เงียบที่สุด แต่ส่งมอบความสุขเสียงดังมาก และผู้ก่อตั้งร้านนี้ คือ ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ นักสู้ที่เปี่ยมล้นไปด้วยรอยยิ้ม ผู้คอยช่วยเหลือและหยิบยื่นโอกาสมาให้คนพิการอีกหลายคนได้มีอาชีพ มีรายได้ เลี้ยงตัวเอง โดย ศาสตราจารย์ วิริยะ ไม่ลืมที่จะเอ่ยถึงมิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Miss Genevieve Caulfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ผู้สร้างความเชื่อให้เขาสามเรื่อง “ผมถูกปลูกฝังความเชื่อมาตลอดว่าคนตาบอดทำอะไรไม่ได้ เมื่อเชื่ออย่างนั้นก็ทำไม่ได้จริงๆ อยู่แต่บ้าน มีคุณพ่อคุณแม่คอยเอาใจ เอาของกินมาให้ถึงห้อง โดยไม่ต้องทำอะไร จนได้พบกับมิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ท่านมีอุปการคุณต่อพวกเราอย่างมาก” “ความเชื่อเรื่องแรก ที่ท่านบอกคือ ต้องเชื่อว่า คนตาบอดทำได้ทุกอย่าง และหาเรื่องท้าทายทำ เพราะเรื่องท้าทายจะทำให้เราทำงานได
ยิ้มสู้ บทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวง ร.9 สู่คาเฟ่ สู้ชีวิตของคนพิการ ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิ สากลเพื่อคนพิการ และผู้ก่อตั้งร้านกาแฟ “ยิ้มสู้คาเฟ่” เล่าให้ฟังว่า ร้านยิ้มสู้คาเฟ่ เปิดให้บริการเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างงานให้คนพิการมีรายได้ โดยสถานที่แห่งนี้ถูกตกแต่งขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ที่ชอบถ่ายรูป เพราะมีมุมถ่ายรูปเก๋ๆ เยอะ เสิร์ฟกาแฟออร์แกนิกและอาหารอร่อย พร้อมปลั๊กไฟและรหัสไวไฟให้ใช้งานไม่อั้น “ชื่อ ยิ้มสู้คาเฟ่ มาจากชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ยิ้มสู้” ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นขวัญ กำลังใจให้คนพิการได้สู้ชีวิต” อ่านเพิ่มเติม ร้านกาแฟคนพิการ โพสต์เศร้า พ่ายแพ้ระบบนายทุน ต้องปิดตัวย้ายออกจาก ม.ดัง คาเฟ่อเมซอน ขอถอนตัว ไม่เปิดสาขา ในคณะนิติศาสตร์ มธ. สำหรับเมนูอาหาร อาจารย์วิริยะ บอกว่า การันตีความอร่อยทุกเมนู เพราะก่อนจะเปิดร้านได้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรมพนักงาน รวมถึงใช้กาแฟออร์แกนิกปลูกที่ดอยอินทนนท์ ได้การรับรองจากองค์กรสหประชาชาติ ว่าเป็นกาแฟอินทรีย์ ปราศจากสารเคมี ด้วยเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งที่ต้องก