คลอร์ไพรีฟอส
19 ภาคีเกษตร สนับสนุนให้ยุตินำเข้าวัตถุดิบทางการเกษตร ที่มีสารพาราควอต นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย และผู้แทน 19 ภาคีเกษตร เปิดเผยว่า เกษตรกรกลุ่มพืชเศรษฐกิจ พร้อมสนับสนุนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ในการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายในการยกเลิกแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ตอนนี้การจับกุมและปรับเงินเกษตรกรมีผลบังคับใช้แล้ว จึงขอให้รัฐมนตรียึดถือประโยชน์ของเกษตรกรและประเทศชาติเป็นสำคัญ ความเสียหายของเกษตรกรเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสารทางเลือกที่ราคาสูง ฆ่าหญ้าไม่ตายแต่พืชประธานตายทั้งอ้อยและมันสำปะหลัง ผลผลิตเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ มนัญญา ไทยเศรษฐ์ พูดว่าจะเอาสารพิษกลับมาอีกทำไม ขอถามท่านว่า สารเคมีตัวไหนไม่เป็นสารพิษ สารชีวภัณฑ์มีการบุกตรวจจับกุมโดย ดีเอสไอ และกรมวิชาการเกษตร ก็พบว่ามีสารพาราควอต และไกลโฟเซตปนอยู่ สารกลูโฟซิเนตในสหภาพยุโรปก็แบนไปแล้ว สิ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ล้วนแต่เป็นสารพิษ เพราะฉะนั้น ท่านต้อ
ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สมาคมชาวไร่อ้อยลำมูลบน นครราชสีมา และเกษตรกรชาวไร่อ้อยพิจิตร รวมตัวให้ข้อมูลผลกระทบและประสบการณ์ตรงการใช้สารเคมีเกษตร หวังรัฐทบทวนและหามาตรการรองรับที่ชัดเจน พร้อมเดินหน้ายื่นหนังสือ ชะลอมติยกเลิกใช้พาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพรีฟอส นายเลียบ บุญเชื่อง ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า การแบน 3 สารเคมีเกษตรส่งผลกระทบรุนแรงในอุตสาหกรรมอ้อยทั้งระบบ ต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งน้ำตาล เอทานอล และโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเฉพาะ พาราควอต ช่วยให้เกษตรกรทุกคน ไม่ว่าจะเป็น ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ลดต้นทุนการผลิต เพราะราคาพืชไร่หลายชนิดมีราคาตกต่ำ การลดต้นทุนจะช่วยให้เกษตรกรมีผลกำไรบ้าง หากต้องมาเพิ่มต้นทุน เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระ ทำให้กำไรที่น้อยอยู่แล้วยิ่งลดลง อาจถึงขั้นขาดทุนได้ ส่วนการใช้แรงงานคนมา ถอนหญ้า หรือ ดายหญ้า นั้น ด้วยประสบการณ์ 1 คนในเวลา 1 วัน สามารถดายหญ้าได้ไม่ถึงครึ่งงานเลย ยิ่งในช่วงหน้าฝน ฝนตกชุก หญ้าขึ้นหนาแน่น ยิ่งทำงานยาก ดังนั้น การปลูกพืชเป็นหลายร้อยไร่ ระดับอุตสาหกรรม การใช้แรงงานคน จึงไม่มีทางเป็นไปได้ นอกจากนี้ นโย