ความเท่าเทียมทางเพศ
หลัง 2475 “อาหารจานเดียว” กินเพื่อความเท่าเทียม สลายค่านิยม และการแบ่งชนชั้น “การกินอาหารในยุคก่อนปฏิวัติมีความเป็นชนชั้นกำกับ แต่หลัง 2475 มันเปลี่ยนไป” หากพูดถึงเรื่องอาหารการกิน ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมอาหาร อันเป็นผลพวงมาจากความเปลี่ยนแปลงในการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ที่ทำให้อาหารที่เป็นการแบ่งแยกชนชั้น ค่อยๆ กลายเป็นครัวสมัยใหม่ เปิดกว้างมากขึ้น เน้นย้ำความเท่าเทียมและหลักโภชนาการ อาหารการกินก่อน พ.ศ. 2475 เป็นอาหารทางชนชั้น ซึ่งชนชั้นสูงจะกินอีกแบบหนึ่ง ชนชั้นล่างจะกินอีกแบบหนึ่ง ชนชั้นแรงงานหรือชาติพันธุ์ ก็จะมีอาหารเป็นของตนเอง อาหาร จะเป็นตัวแสดงออกถึงชนชั้นหรือสถานะของคนกินอีกด้วย ดังนั้น เป้าหมายของคณะราษฎร คือต้องการทำให้ชนชั้นของอาหาร หายไปจากสังคม ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง เจ้าของผลงาน “ปฏิวัติที่ปลายลิ้น” ได้กล่าวบนเวที “เสวนา ศิลปวัฒนธรรมสเปเชียล” ที่งานสโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล “๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์” ในหัวข้อ “เมนูสร้างชาติ ราษฎรยุค 2475” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี 2566 ไว้ว่า “สมัยก่อนจะมีสำรับกับข้าว ชนิดที่เรียกว่า ต้ม ผัด แกง ทอด ตำน้ำพริก มีข้าวเป็นอาหารหลักอยู่ตรงกลาง
ความหลากหลายทางเพศ คือพลังของโลกยุคใหม่ เปิดใจนักสื่อสารด้านความยั่งยืน ผู้ริเริ่มส่งเสียงให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศในองค์กร เพราะความหลากหลายคือพลังของโลกยุคใหม่ รายงานล่าสุดของ McKinsey ระบุว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI) มีความสำคัญมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา โดยความหลากหลายของผู้นำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญต่อเป้าหมายการเติบโต ผลกระทบต่อสังคม และความพึงพอใจของพนักงาน และด้วยบรรยากาศของ Pride Month ปีนี้ นับเป็นโอกาสดีสำหรับการชวน Gregoire Glachant ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารด้านความยั่งยืน ในสายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความหลากหลายในชีวิตแทบทุกมิติ มาบอกเล่าเรื่องราวของเขา ตั้งแต่การเป็น “Third Culture Kid” ที่เติบโตจากสองวัฒนธรรม การทำงานในสังคมและแวดวงที่แตกต่าง ไปจนถึงการปักหมุดหมายมาใช้ชีวิตในประเทศไทย และการแสดงออกถึงสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ ต่อไปนี้คือเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต การมองโลก และการกล้าเป็นตัวของตัวเองที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริง คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในวัย
เคทีซี จับมือ ครอสพัทยาโอเชียนเฟียร์ เปิดเวทีเสวนาสานต่อความเท่าเทียมทางเพศ ระดมความเห็นวางกลยุทธ์สร้างความเท่าเทียมจากพัทยาสู่สากล วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 นายธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล ประธานหอการค้าชลบุรี กล่าวว่า เศรษฐกิจในพื้นที่ชลบุรียังต้องจับตาเรื่องกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวเริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตอย่างชัดเจน ทั้งนี้ หอการค้าได้วางกลยุทธ์เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวในพื้นที่ชลบุรีด้วยการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนพร้อมนำนวัตกรรมมาช่วยในการจัดระบบท่องเที่ยว เช่น รวมการทำทัวร์เส้นทางท่องเที่ยวเเละที่พักได้ในครั้งเดียว พร้อมอบรมบุคลากรให้มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนพร้อมให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยเฉพาะเดือนมิถุนายนที่ทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลองเดือนแห่งความภาคภูมิใจของความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) โดยจังหวัดชลบุรีมีหลายพื้นที่ซึ่งเป็นหมุดหมายสำหรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้น จึงเชื่อว่าการท่องเที่ยวจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตตามที่หอการค้าคาดการณ์ไว้ท