ค่าเงินบาทอ่อน
เปิดโพล 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบ บวก-ลบ จาก ค่าเงินบาทอ่อน กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยผลการศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ชี้ ค่าเงินบาทอ่อน ค่าลงส่งให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยขยายตัว เป็นผลบวกต่อการส่งออกและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (RGDP) แม้ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น พร้อมแนะนำผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบหลัก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย โดยพบว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าในปัจจุบัน (ณ วันที่ 7 มิ.ย. 2565 อยู่ที่ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 30 ธ.ค. 2564 อยู่ที่ระดับ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลงและส
“เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลง โดยแรงขายของต่างชาติหลังเงินบาทอ่อนค่า” ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 11 เดือนที่ 36.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ ท่ามกลางแรงขายสุทธิในหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ยังคงมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในปีหน้า อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงท้ายสัปดาห์ หลังจากที่นักลงทุนบางส่วนมีการขายทำกำไรเงินดอลลาร์ฯ ออกมาก่อนช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลในช่วงปลายปี สำหรับในวันศุกร์ (23 ธ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 35.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 35.79 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ (16 ธ.ค.) สำหรับสัปดาห์ถัดไป (26-30 ธ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 35.80-36.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของตลาดน่าจะอยู่ที่ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค. ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขายเดือนพ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. อย่างไรก็ดี การซื้อขายในตลาด อาจเริ่มเบาบางลงก่อนเข้าสู่ช่วงวัน