ค่าแรง
กระทรวงแรงงาน ประชุมปรับสูตรค่าจ้างขั้นต่ำ ก.พ. นี้ รอลุ้นจะได้ขึ้นอีกรอบเป็นของขวัญช่วงสงกรานต์ แล้วจะถึง 400 บาท หรือไม่ วันที่ 18 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 13.30 น. ของวันที่ 17 มกราคม 2567 นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ครั้งที่ 1/2567 ว่า วันนี้เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และปรับปรุงสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยพิจารณาสูตรที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เนื่องจากสูตรเก่าไม่ได้พิจารณาปรับใหม่มาเป็นระยะเวลานาน 10 ปี ซึ่งคณะอนุกรรมการมีจำนวน 17 คน คือจากภาครัฐ แต่งตั้งให้รองปลัดกระทรวงเป็นประธาน มีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ สภาพัฒน์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อรวมกับของฝ่ายนายจ้าง 5 คน ฝ่ายลูกจ้าง 5 คน รวมเป็น 17 คน เพื่อพิจารณาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ใช้ประกอบในการปรับปรุงสูตรใหม่ รวมถึงวิเคราะห์และทบทวนตัวแปรในเชิงปริมาณและคุณภาพในการนำเสนอความเหมาะสมในการคำนวณสูตรอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ให้สอดคล้องกับกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์ใน
ส่อง 10 ประเทศ ที่มีค่าแรงเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก ไม่มีประเทศไทย ใครๆ ก็อยากไปทำงาน มาเช็กกัน กลายเป็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับ “ค่าแรงขั้นต่ำ” ในไทย ที่หากย้อนกลับไปดู การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ทันต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และยุคข้าวยากหมากแพง จนนำมาสู่ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และการเปรียบเทียบค่าแรงกับประเทศอื่นๆ และการมองช่องทางโอกาสในการทำงาน วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ชวนส่องค่าแรง 10 ประเทศ ที่มีค่าแรงสูงสุดในโลก ในปี 2023 ตามข้อมูลล่าสุดที่รวบรวมโดยธนาคารโลก (World Bank) มีประเทศไหนบ้าง ได้เงินเดือนดี จนใครๆ ก็อยากไปทำงานมาดูกัน อันดับ 1 ประเทศลักเซมเบิร์ก เงินเดือนเฉลี่ย 191,101 บาท อันดับ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เงินเดือนเฉลี่ย 179,334 บาท อันดับ 3 ประเทศนอร์เวย์ เงินเดือนเฉลี่ย 150,646 บาท อันดับ 4 ประเทศสหรัฐอเมริกา เงินเดือนเฉลี่ย 149,943 บาท อันดับ 5 ประเทศเดนมาร์ก เงินเดือนเฉลี่ย 148,079 บาท อันดับ 6 ประเทศไอซ์แลนด์ เงินเดือนเฉลี่ย 124,701 บาท อันดับ 7 ประเทศสวีเดน เงินเดือนเฉลี่ย 125,265 บาท อันดับ 8 ประเทศเนเธอร์แลนด์ เงินเดือนเฉลี่ย 118,922 บาท อันดับ 9 ประเทศสิ
น่าห่วง ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร เผชิญต้นทุนสูง ส่วนรายได้ยังฟื้นไม่เต็มที่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกของไทย ทำให้ธุรกิจบริการกลายมาเป็นหนึ่งความหวังต่อการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 แต่จากสถานการณ์ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปี 2566 ของภาคธุรกิจ จะยังเพิ่มขึ้นราว 12-17% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี 2565 และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่น่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน รวมถึงต้นทุนค่าน้ำและค่าวัตถุดิบอาหารก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากความเสี่ยงภัยแล้งของภาวะซูเปอร์เอลนีโญที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนด้านอื่นๆ ที่ขยับสูงขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ต้นทุนทางการเงิน, ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งแรงกดดันด้านต้นทุนเหล่านี้จะส่งผลให้ธุรกิจบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวยังเผชิญความเปราะบางด้านต้นทุน ขณะที่การฟื้นตัวของรายได้น่าจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า โรงแรมที่พัก และร้านอาหาร เป็นธุรกิจบริการลำดับต้นๆ ที่ยังมีความเปราะบาง เ
เปิดแนวโน้ม ค่าแรงมนุษย์เงินเดือนในไทย ประจำปี 2564 แม้ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ซบเซาและการซ้ำเติมของโควิด-19 แต่อาจไม่กระทบต่อภาพรวมค่าจ้างในประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้นแม้ไม่มาก แต่จากข้อมูลที่ระบุถึง เงินเดือนในประเทศไทยถูกคาดการณ์ว่าจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในปี 2564 โดยบริษัทต่างๆ มีภาพรวมคาดการณ์การจัดสรรงบประมาณ เพื่อขึ้นเงินเดือนที่อัตรา 5% จากผลการสำรวจช่วงครึ่งแรกของปี 2563 หากการสำรวจเชิงลึกชี้ว่าค่ากลางจะอยู่ที่ 3% ข้อมูลข้างต้น เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ เผยข้อมูลผลการสำรวจอัตราค่าตอบแทนรวมในประเทศไทยประจำปี 2563 (Annual Thailand Total Remuneration Survey (TRS) 2020) โดยเมอร์เซอร์ (Mercer) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำทางด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการพนักงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการสำหรับพนักงาน การเกษียณอายุ และการลงทุน โดยการสำรวจมีบริษัทเข้าร่วมทั้งหมด 577 บริษัทจากในอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย ระหว่างเดือนเมษายนและมิถุนายนของปีนี้ และได้ดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม เกี่ยวกับสภาพการณ์ตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คุณพิรทัต ศรีสัจจะเลิศวาจา Caree
“หม่อมเต่า” เผย สานงานต่อ “บิ๊กอู๋” ยันขึ้นค่าแรง 400 บาท ต้องดูผลกระทบนายจ้าง-เศรษฐกิจภาพรวม ไม่กังวล ถกนโยบาย รัฐบาล เมื่อวันที่ 17 ก.ค. เวลา 09.50 น. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ให้สัมภาษณ์ว่า ภารกิจแรกที่จะดำเนินการจะเป็นการสานต่องานของ พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว อดีต รมว.แรงงาน คนก่อนเนื่องจากตนเองไม่ได้คาดหวังว่าจะมาทำงานที่กระทรวงแรงงาน จึงต้องขอเวลาศึกษางานก่อน ส่วนกรณีนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท นั้น ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วยอมรับว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก อยากให้ทุกคนได้รับค่าแรง แต่เรื่องนี้มีผลกระทบหลายส่วน ทั้งนายจ้าง และ เศรษฐกิจระดับมหภาค หากเกิดเฟ้อขึ้นมาจะทำอย่างไร ต้องให้คณะกรรมการไตรภาคีพิจารณาแล้ว ตนก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ดังนั้นต้องค่อยๆ ทำ ยังไม่สามารถขึ้นได้ทันที “แม้ค่าจ้างแรงงาน 400 บาท จะเป็นเงินไม่มากนัก แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมหากเกิดเงินเฟ้อขึ้นมา ดังนั้นต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งไม่ใช่เร็วๆ นี้ และไม่ทันแถลงนโยบายรัฐบาล และโดยปกติการขึ้นค่าแรงจะขึ้นช่วงปีใหม่อยู่แล้ว ซึ่งจะพยายามให้ทัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับผลสรุปข
พะเยาจำใจ! ตรึงค่าแรง 315 บาท เหตุเศรษฐกิจไม่โต ผลผลิตเกษตรไร้ราคา พะเยา – เมื่อวันที่ 16 ก.ค. นายชัย สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างอัตราขั้นต่ำ จ.พะเยา ได้มีการหารือเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด ที่เกรงจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลด้านค่าแรงขั้นต่ำที่ได้หาเสียงไว้ ซึ่งอนุกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ตรึงค่าแรงขั้นต่ำ จ.พะเยา ไว้ที่ 315 บาท เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เติบโต GPP ลดลง หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลกระทบมากกว่าผลดี ผลการประชุมหารือดังกล่าว ทางคณะอนุกรรมการ จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการฯ ส่วนกลางในการพิจารณาต่อไป ในส่วนของหอการค้าพะเยา ได้ส่งเรื่องไปยังหอการค้าไทยอีกทางหนึ่ง เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดพะเยา เสนอต่อรัฐบาลต่อไป ปธ.หอการค้าพะเยา กล่าวต่อว่า สำหรับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของพะเยาในขณะนี้ พบว่าเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่สองที่ผ่านมา ถึงไตรมาสที่สามอยู่ในช่วงชะลอตัว มีแนวโน้มลดลง ข้อมูลจากสำนักงานคลัง จ.พะเยา แจ้งว่าปัจจุบัน GPP ของจังหวัดพะเยาอยู่ที่ 2.8 ซึ่งต่ำกว่า GPP ของประเทศ ซึ่งอยู่ที่
คาดวันแรงงานเงินสะพัด 2,200 ล้าน – แรงงานอ่วมหนี้พุ่งเฉลี่ย 158,000 บาท/ครัวเรือน แรงงานอ่วมหนี้พุ่ง – นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจ สถานภาพแรงงานไทย : กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท” ว่า ทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจ 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ ในกลุ่มอาชีพข้าราชการ รับจ้าง พนักงานเอกชนรัฐวิสาหกิจ และรับจ้างรายวัน พบว่า ส่วนใหญ่จะมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000-15,000 บาท โดยสัดส่วน 86.2% ไม่มีเงินออม ทำให้แรงงานถึง 95% มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่อยู่อาศัย และยานพาหนะ โดยเฉลี่ยจำนวนหนี้สินต่อครัวเรือนประมาณ 158,000 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 15% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังมีสัดส่วนการกู้เงินในระบบสูงกว่า ซึ่งต้องผ่อนชำระประมาณเดือนละ 7,200 บาท และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ยังคงเจอปัญหาผิดนัดชำระหนี้ เพราะมีค่าใช้จ่ายเดือนชนเดือน และรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย จากราคาสินค้าและค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งยังมองว่าเศรษฐกิจในประเทศยังทรงตัว ทั้งนี้ แรง
ยังไม่เลิก! พนักงานนับพัน ประท้วงโบนัส ปักหลักกิน-นอน หน้าบริษัท มา 4 วันเต็ม ประท้วงโบนัส – จากกรณีพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง ภายในนิคมอุตสาหกรรม304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กว่า 1,000 คน รวมตัวกันประท้วงขอโบนัสประจำปี โดยให้ประกาศให้พนักงานทราบภายในวันที่ 20 พ.ย. 61 หลังจากบริษัทนิ่งเฉยไม่ติดประกาศให้ทราบเกรงว่าจะไม่ได้โบนัส หลังจาก บริษัทฯหารือร่วมกับแรงงาน ตัวแทนส่วนราชการแต่ไม่เป็นผล จึงปักหลักประท้วงห้ามรถสินค้าออกนอกเขตโรงงาน การเจรจาร่วมสามฝ่าย ที่ผ่านมาไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่าย บริษัทฯ บอกขาดทุนแต่พนักงานไม่เชื่อยื่นคำเรียกร้องเดิม 1.5+5,000 เท่าเดิม การเจรจาร่วมสามฝ่ายผ่านตัวแทนของบริษัทฯ เมื่อไม่ได้ตามคำเรียกร้องพนักงานกว่าครึ่ง 1,200 คน ปักหลักประท้วงเรียกร้องสิทธิตามที่พึงจะได้ แม้จะมีการเจรจาร่วมกันสามฝ่ายถึง 3-4 ครั้งแต่ก็ไม่เป็นไปตามคำเรียกร้องจึงประท้วงต่อไป โดยซื้อกุญแจมาล็อกประตูใหม่ เป็นฝ่ายถือประตูรั้วโรงงานเอง และปักหลักประท้วงข้ามวันข้ามคืนนอนอยู่ในโรงงาน ล่าสุด วันที่ 23 พ.ย. พนักงานหนุ่ม-สาวพากันนอนกันเป็นกลุ่มๆจุดๆเอาแรง กระทั่งตื่น มีการส่งเสียงอาการเข้า
เมื่อวันที่ 22 กันยายน นางศิริรัตน์ ข้นสังข์ อายุ 32 ปี พร้อมด้วย นางสาวนิสา เอี่ยมสะอาดและผู้ใช้แรงงานประมาณ 180 คน ที่ได้รับความเดือดร้อนหลังจาก ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงงานมะพร้าวปิดกิจการ ทำให้พนักงานตกงาน และอ้างว่าไม่ได้รับเงินชดเชยได้เดินทางเข้าที่พบ ร.ต.อ.เดช ประเสริฐศักดิ์ รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางสะพาน เพื่อให้เรียกผู้ประกอบการโรงงานเจรจากับผู้ใช้แรงงานที่ได้รับความเดือดค้อน นางสาวนิสา เอี่ยมสะอาด ตัวแทนแรงงาน กล่าวว่า ตนเป็นพนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวเพื่อการส่งออก โดยซื้อมะพร้าวผลสดผลิตเป็นเนื้อมะพร้าว น้ำมะพร้าว ที่ผ่านมาโรงงานประสบภาวะขาดสภาพคล่อง เนื่องจากลูกค้าในตลาดยุโรป และอเมริกาสั่งยกเลิกการซื้อสินค้า โรงงานจึงประกาศปิดตัวเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยช่วงแรกผู้ประกอบการโรงงาน ยืนยันกับคนงานกว่า 180 ราย สัญญาว่าจะจ่ายค่าแรงให้เพียง 75 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดยังไม่ได้จ่ายตามข้อตกลง และคนงานทั้งหมดไม่สามารถเจรจากับผู้ประกอบการได้ จึงเข้าพนักงานสอบสวนเพื่อให้เรียกเจ้าของโรงงานรับผิดชอบจ่ายคาแรงที่ตกค้าง ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานพร้อมประสานกับ
กระทรวงแรงงานตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ใช้สูตรใหม่ชั่งน้ำหนัก 10 ปัจจัยชี้ขาดให้ขึ้นไม่ขึ้น เผย 15 จังหวัดเฮ ! บอร์ดไตรภาคีค่าจ้างส่งสัญญาณไฟเขียวให้ปรับเพิ่มจาก 300 เป็น 304-360 บาท/วัน 1 ม.ค. 60 ส่วน 62 จังหวัดที่เหลือต้องรอลุ้น ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง อยู่ระหว่างพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2560 หลังจากก่อนหน้านี้เคยพิจารณาข้อเสนอขอปรับค่าแรงขั้นต่ำที่อนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดรวม 6 จังหวัด แต่ชะลอดำเนินการออกไปเนื่องจากมองว่าสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม และให้อนุกรรมการทั้ง 6 จังหวัด นำกลับไปทบทวนแล้วเสนอมาใหม่ ล่าสุดจากข้อมูลผลสรุปของอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัดทั่วประเทศพบว่า มี 13 จังหวัดเสนอขอปรับค่าแรงขั้นต่ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณา ภายใน 1 เดือนจากนี้ไปจะได้ข้อสรุปชัดเจนว่าจะประกาศปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในจังหวัดใดบ้าง ส่วนจังหวัดอื่นๆ ที่เหลือ หากจังหวัดใดต้องการให