ค่าโดยสาร
เคาะ! ค่าโดยสารแอพแท็กซี่ เริ่ม 40 บาท พร้อมเปิดคุณสมบัติการเข้าร่วม คาด พ.ย.นี้ เปิดให้บริการ เว็บไซต์ มติชนออนไลน์ รายงานข่าว นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา ได้ลงนามในกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือแท็กซี่ป้ายดำ จำนวน 5 ฉบับเรียบร้อยแล้ว ทำให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) มีความพร้อมที่จะเปิดให้ บริษัทผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นที่สนใจยื่นขออนุญาตและขอการรับรองจาก ขบ. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป คาดว่า ขบ. จะใช้เวลาในการพิจารณาความถูกต้องภายใน 30 วัน หากผ่านการพิจารณา คาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการเริ่มเปิดให้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่นได้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีแท็กซี่ป้ายดำสนใจเข้าร่วมแอพพลิเคชั่น ประมาณ 1 หมื่นคัน โดย ขบ. จะทำการประเมินความพึงพอใจจากประชาชนคู่ขนานกันไปด้วย สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น (สตาร์ตมิเตอร์) แท็กซี่ที่เรียกผ่านแอพ จะอยู่ระหว่าง 40-150 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของรถว่า เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ส่วนอัตราค่าโดยสารตามระยะทางหรือค่าโดยสารระยะทาง
ข้าราชการเฮ ขึ้นรถไฟฟ้า สามารถนำมาเบิกค่าโดยสารคืนได้ ข้าราชการเฮ – เมื่อวันที่ 19 ก.ย. นายสรพงษ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวถึงผลประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าทั้งระบบ เพื่อลดค่าครองชีพให้ประชาชน ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ซึ่งขณะนี้ได้ข้อยุติเรียบร้อย โดยเตรียมนำเสนอแผนให้ รมว.คมนาคม พิจารณา ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพจะแบ่งออกเป็น ระยะยาวและสั้น โดยมาตรการระยะยาวจะให้สิทธิหน่วยงานราชการทุกแห่ง สามารถซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า แล้วนำมาเบิกเป็นค่าโดยสารได้ทันที จากเดิมจะสามารถเบิกค่าเดินทางได้ กรณีที่ไม่สามารถใช้รถหลวงเดินทางได้ก่อน รวมทั้งสามารถนำค่าตั๋วโดยสารมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ส่วนมาตรการระยะสั้นนั้น ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกสายทางจะลดค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 3 ช่วง คือ ช่วงตั้งแต่เปิดให้บริการ 07.00 น. ช่วง 10.00-16.00 น. และช่วง 20.00 น. ปิดให้บริการ โดยผู้ให้บริการแต่ละสายทางจะกลับไปจัดทำโปรโมชั่นต
นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์กรณีรถแท็กซี่คันหมายเลขทะเบียน ทว-5395 กรุงเทพมหานคร มาตรค่าโดยสารขึ้นเร็วผิดปกติ ซึ่งเป็นการเรียกใช้บริการจากวัดเทียนดัด (อ.สามพราน) ไปยังสะพานใหม่ โดยมาตรค่าโดยสารแสดงราคา 1,298 บาท และบัตรประจำตัวผู้ขับรถที่ติดอยู่หน้ารถแสดงชื่อ-นามสกุลผู้ขับรถ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน นั้น กรมการขนส่งทางบกดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยติดตามตัวผู้ขับรถที่ปรากฏในคลิปคือ นายฉลอง สังข์กลิ่นหอม ให้มารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่และนำรถเข้าตรวจสอบมาตรค่าโดยสารที่ส่วนตรวจสภาพรถ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องมาตรค่าโดยสาร ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดปกติ ทั้งนี้ มาตรโดยค่าสารในรถคันดังกล่าวเป็นรุ่น 3TM แบบ TB18p ที่เคยพบปัญหาหากวิ่งติดต่อกันเป็นเวลานานและระยะทางไกล เครื่องจะมีความร้อนสะสม ทำให้มาตรค่าโดยสารแสดงผลคลาดเคลื่อน เนื่องจากผู้ขับรถฝ่าฝืนใช้มาตรค่าโดยสารที่มีสภาพชำรุดมาให้บริการ มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ประกอบมาตรา 60 จึงเปรียบเทียบปรับในอัตราโทษสูงสุด 2,000 บาท พร้อมให้ดำเนินการเปลี
วันนี้ (9 กันยายน) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ กรณีสถานการณ์รถไฟฟ้าสายสีม่วง ระบุว่า รถไฟฟ้าสีม่วงอาการหนัก ผู้โดยสารเมิน-ขาดทุนเพิ่ม ก่อนที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงลงมาจาก 14-42 บาท เป็น 14-29 บาท ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา ผมได้คาดการณ์ว่าจะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เท่านั้น จะไม่เพิ่มขึ้นถึง 30% ตามที่ประธานกรรมการ รฟม.คาดการณ์ไว้ ดังที่ผมได้โพสต์ไว้เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559 เรื่อง “ลดราคารถไฟฟ้าสายสีม่วง ผู้โดยสารเพิ่ม 30% ได้จริงหรือ?” แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 8% หรือ 1,600 คนต่อวันเท่านั้น จากประมาณ 20,000 คนต่อวัน ทำให้ รฟม.ขาดทุนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ เดิมก่อนปรับลดค่าโดยสาร รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารวันละประมาณ 600,000 บาท ในขณะที่ รฟม.ต้องจ่ายค่าจ้างให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เดินรถและบำรุงรักษาวันละประมาณ 3.6 ล้านบาทสำหร