ค่าไฟฟ้า
เป็นคนมีค่า(รถ) 1 ปีของคนมีรถ หมดค่าใช้จ่าย ไปกับอะไรบ้าง คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุกๆ ปี จะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ วันนี้จึงชวนมาเช็กลิสต์กันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง 1. ค่าผ่อนรถยนต์และดอกเบี้ย หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวดๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม ต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลายๆ งวด อาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย 2. ค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้า เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับค
กกพ. เคาะแล้ว ค่าไฟฟ้าเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 ปรับเป็น 4.18 บาทต่อหน่วย ลดลง 50 สตางค์/หน่วย จากมติเดิมอยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย แต่เพิ่มขึ้น 19 สตางค์/หน่วย จากงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 อยู่ที่ 3.99 บาท/หน่วย วันที่ 10 ม.ค. 2567 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ลดลงเหลือ 39.72 สตางค์/หน่วย จาก 89.55 สตางค์/หน่วย เพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับประชาชนเหลือ 4.18 บาท/หน่วย ลดลง 50 สตางค์/หน่วย จากมติเดิมอยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย แต่เพิ่มขึ้น 19 สตางค์/หน่วย จากงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 อยู่ที่ 3.99 บาท/หน่วย ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ปรับปรุงโครงสร้างราคาก๊าซเข้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นไปตามมาตรการลดค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนของกระทรวงพลังงานที่มีนโยบายให้ค่าไฟฟ้าต่ำกว่า 4.20 บาท/หน่วย โดยให้มีการเรียกเก็บความเสี่ยงด้านความขาดแคลน (Shortfall) กรณีที่ผู้ผลิตก๊าซในอ่าวไทยไม่สามารถส่งมอบก๊าซได้ตามเงื่อนไขในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติในช่วง
น่าห่วง ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร เผชิญต้นทุนสูง ส่วนรายได้ยังฟื้นไม่เต็มที่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกของไทย ทำให้ธุรกิจบริการกลายมาเป็นหนึ่งความหวังต่อการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 แต่จากสถานการณ์ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปี 2566 ของภาคธุรกิจ จะยังเพิ่มขึ้นราว 12-17% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี 2565 และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่น่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน รวมถึงต้นทุนค่าน้ำและค่าวัตถุดิบอาหารก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากความเสี่ยงภัยแล้งของภาวะซูเปอร์เอลนีโญที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนด้านอื่นๆ ที่ขยับสูงขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ต้นทุนทางการเงิน, ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งแรงกดดันด้านต้นทุนเหล่านี้จะส่งผลให้ธุรกิจบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวยังเผชิญความเปราะบางด้านต้นทุน ขณะที่การฟื้นตัวของรายได้น่าจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า โรงแรมที่พัก และร้านอาหาร เป็นธุรกิจบริการลำดับต้นๆ ที่ยังมีความเปราะบาง เ
ค่าไฟฟ้า ยังขาขึ้น คาด ปี 66 แตะ 4.85 บาท/หน่วย ดัน ธุรกิจปรับตัว รับต้นทุนเพิ่ม เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีการประเมินว่า ทุกๆ 1% ของค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ต้นทุนธุรกิจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 0.024% ซึ่งค่าไฟฟ้ายังอยู่ในทิศทางขาขึ้น คาดราคาเฉลี่ยในปี 66 น่าจะเพิ่มขึ้นแตะราว 4.85 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ 3 อันดับแรก ที่ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจโรงผลิตน้ำแข็ง โรงแรมและที่พัก และสิ่งทอ ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนค่าไฟต่อต้นทุนรวมมากกว่า 10% เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุน ในภาวะที่การปรับขึ้นราคาสินค้าหรือบริการทำได้จำกัด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้แนะ ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการปรับใช้พลังงานทางเลือกอย่างโซลาร์รูฟท็อป นอกเหนือจากการรณรงค์เรื่องการประหยัดไฟอย่างจริงจัง
กกพ. ไฟเขียว ปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร เดือน ก.ย.-ธ.ค. เหลือ 3.63 บาทต่อหน่วย อ้างอิงจาก ข่าวสด มีรายงานว่า นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ.มีมติปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับเรียกเก็บงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2563 ลงอีก 0.83 สตางค์ต่อหน่วย หรือทำให้ค่าเอฟทีอยู่ที่ -12.43 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมอยู่ที่ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในบิลค่าไฟของประชาชนในเดือนก.ย.-ธ.ค.2563 ปรับลดเฉลี่ยที่ 3.63 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 3.64 บาทต่อหน่วย ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงก่อนหน้านี้ส่งผลต่องวดปัจจุบัน “แม้ภาวะราคาเชื้อเพลิงจะลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลก ทำให้สามารถปรับลดค่าเอฟทีได้ แต่ กกพ.ยังคงต้องประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นแรงกดดันให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จึงยังไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ชัดเจน อาจเป็นปัจจัยลบและเป็
กพช.เคาะแผนพีดีพีปี 2580 รวมผลิตไฟฟ้า 7.7 หมื่นเมกะวัตต์ ยันตรึง ค่าไฟฟ้า ไว้ไม่ให้เกิน ปัจจุบัน 3.58 บาทต่อหน่วย ค่าไฟฟ้า / นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า กพช. มีมติเห็นชอบปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศปี 2561-2580 หรือพีดีพี (PDP 2018) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอให้ทบทวนสถานการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าปลายแผนในช่วงปี 2580 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 77,211 เมกะวัตต์ จากสิ้นปี 2560 อยู่ที่ 46,090 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ จากปี 2560 ที่กำลังผลิตไฟฟ้า 46,090 เมกะวัตต์ จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าปลดออกจากระบบในช่วงปีแผน 25,310 เมกะวัตต์ แต่จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เข้ามา 56,431 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหมุนเวียน 20,766 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าตามนโยบายส่งเสริมของภาครัฐรวม 520 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าขยะ 400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 120 เมกะวัตต์ รวมกับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทางเลือก หรือเออีดีพี (AEDP) กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ 18,176 เมกะวัตต์ แบ่งเป