ค่าไฟแพง
ลุยเต็มตัว TCL บุกตลาดแอร์เชิงพาณิชย์ ชู นวัตกรรม จบปัญหาค่าไฟแพง TCL แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก เดินหน้ารุกตลาดเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยเต็มกำลัง หลังครองแชมป์ยอดขายอันดับ 1 แอร์บ้านสำเร็จ ประเดิมเปิดตัวเครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์รุ่นใหม่ 2 Series กว่า 10 รุ่น ได้แก่ Round Flow Cassette Series เย็นทั่วอาคาร สั่งการง่าย ดีไซน์เรียบหรู กระจายลมเย็นได้ 360 องศา ด้วยเทคโนโลยี ลดความชื้นภายในห้อง ทำให้ลดการเกิดเชื้อรา และ Floor & Ceiling Series เย็นทั่วอาคาร สั่งการง่าย ติดได้ทั้งฝ้าและพื้น สวิงบนล่าง 104 องศา และสวิงซ้ายขวา 80 องศา สามารถปรับความแรงได้ 7 ระดับ ด้วย DC มอเตอร์ ทั้ง 2 Series สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ทุกรุ่นเพิ่มความสะดวกสบาย ลดต้นทุนค่าไฟ จับกลุ่มธุรกิจ SMEs ตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 3 ภายใน 3 ปี นายจีรชัย ศักดิ์สง่าวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายเครื่องปรับอากาศ บริษัท ทีซีแอล อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ TCL เปิดเผยว่า TCL พร้อมเดินหน้าเปิดตลาด เครื่องปรับอากาศเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ หลังประสบผลสำเร็จจากเครื่องปรับอากาศทั่
ค่าไฟฟ้าปลายปี 67 มีแนวโน้มพุ่ง! หน่วยละ 20-40 สตางค์ จากค่าไฟงวดปัจจุบันอยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมประชุมบอร์ดในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ หนึ่งในวาระสำคัญจะมีการพิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที งวดใหม่ ก.ย. – ธ.ค. 67 เบื้องต้นคาดว่าจะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณหน่วยละ 20-40 สตางค์ จากค่าไฟงวดปัจจุบันอยู่ที่หน่วยละ 4.18 บาท เนื่องจากหลายปัจจัยหลัก โดยเฉพาะการทยอยคืนชำระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 98,000 ล้านบาท ซึ่ง กฟผ. มีภาระต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย และยังมีหนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยคืนให้กับ บมจ.ปตท. ที่ได้รับภาระไปงวดก่อนหน้านี้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยจากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงต่อเนื่อง กระทบกับราคาซื้อก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งแนวโน้มความต้องการก๊าซที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ส่งผลให้ราคาในตลาดเพิ่มขึ้น จากหลายปัจจัยจึงทำให้ค่าเอฟทีงวดนี้มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ซึ่งหลังจากบอร์ด กกพ. มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้
ค่าไฟแพง ภาคเอกชนหวัง งวด ก.ย.-ธ.ค ลดค่า Ft เหลือ 4.25 บาท ปัญหาค่าไฟยังคงเป็นประเด็นร้อนสำหรับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนหรือภาคอุตสาหกรรม เพราะทุกฝ่ายต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าจากค่าไฟแพงในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ทำให้ต้องจับตามองค่าไฟงวดที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2566) ว่าทิศทางจะเป็นอย่างไรต่อไป วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และในฐานะโฆษก กกพ. ได้เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวด 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2566) เบื้องต้นจะลดลงได้ไม่ต่ำกว่า 20 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟเฉลี่ยที่เรียกเก็บจากประชาชนปัจจุบันอยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย ทว่าจะลดได้มากกว่านี้อีกหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ด กกพ. ที่จะสรุปขั้นสุดท้ายภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนภาคเอกชนก็ตั้งตาคอยราคาค่าไฟงวด 3 โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เองก็ได้แสดงถึงความกังวลเรื่องค่าไฟฟ้างวดที่ 3/2566 เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนระดับสูงมาต่อเนื่องจาก
เปิด 10 ข้อควรรู้ ติดโซลาร์รูฟท็อป คุ้มไม่คุ้ม ช่วยลดค่าไฟได้จริงไหม ในช่วงหน้าร้อน หลายครอบครัวต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว การมองหาพลังงานทางเลือกจึงเป็นความหวังในการช่วยลดค่าไฟฟ้าของแต่ละบ้าน ซึ่งปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจไปที่การติดตั้ง Solar Rooftop(โซลาร์รูฟท็อป) หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา อย่างไรก็ตาม แม้โซลาร์รูฟท็อปจะได้รับความนิยม แต่การติดตั้งก็หมายถึงการลงทุนอย่างหนึ่ง ดังนั้น เราควรศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้เปิด 10 ข้อ คลายสงสัยไว้ดังนี้ 1. บ้านของเราเหมาะกับการติดตั้ง Solar Rooftop หรือไม่ หากบ้านมีคนอยู่ในช่วงเวลากลางวัน หรือเป็นโฮมออฟฟิศ ร้านค้า ร้านกาแฟ แบบนี้ได้ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เต็มที่ จึงน่าติดตั้งเพื่อใช้งาน มีการใช้อุปกรณ์ที่กินไฟมาก เช่น แอร์ ตู้เย็น ตู้แช่ ไฟฟ้าจากโซลาร์ผลิตมาใช้ทันที และนิยมติดตั้งเป็นระบบที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้ 2. หลังคาบ้านเราเหมาะกับการติดตั้งหรือไม่ บ้านต้องมีโครงสร้างหลังคาแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได
เห็นบิลค่าไฟแล้วหนาว! เปิดใช้เท่าเดิม แต่ทำไม ค่าไฟแพงขึ้น MEA การไฟฟ้านครหลวง ชี้แจงค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นช่วงเดือนเมษายน 2566 นี้ ไม่ได้เป็นการขึ้นค่าไฟฟ้า เหตุเกิดจากอากาศร้อนสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ใช้ไฟฟ้าเพิ่ม ยืนยันคิดคำนวณตาม คณะกรรมการ กกพ. พร้อมแนะวิธีประหยัดพลังงาน วันที่ 19 เมษายน 2566 นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง MEA ในฐานะโฆษก MEA เปิดเผยว่า จากในช่วงเดือนเมษายน 2566 นี้ที่มีผู้ใช้ไฟฟ้าสงสัยว่าค่าไฟสูงขึ้นเพราะการไฟฟ้าขึ้นค่าไฟนั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง โดย MEA ยืนยันว่ายังใช้หลักเกณฑ์วิธีการคิดค่าไฟฟ้าจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าในอัตราตามที่นโยบายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://www.mea.or.th/profile/109/111 สำหรับสาเหตุที่ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากช่วงนี้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่ร้อนจัด ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำความเย็นต้องทำงานมากขึ้นและใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เห็นได้จากค่าพลังความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Maxim
ขนลุกหน้าร้อน! ค่าไฟบ้าน งวด พ.ค.-ส.ค. ปรับเป็น 4.77 บาท/หน่วย ภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรม ปรับลดลง วันที่ 18 เมษายน 2566 เว็บไซต์ ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เผยว่า ในงวดเดือนพ.ค.-ส.ค. 2566 กกพ. มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กกพ. ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วย สำหรับ ค่าเอฟที งวด ม.ค.-เม.ย. 66 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย หรือเฉลี่ยรวมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น (ได้แก่ ประเภทธุรกิจ อุตสาหกรรม บริการ) อยู่ที่ 154.92 สตางค์ต่อหน่วย หรือเฉลี่ยที่ 5.33 บาทต่อหน่วย โดยในงวดใหม่ (พ.ค.-ส.ค. 66) ที่เป็นอัตราเดียวทำให้ค่าไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยปรับขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.05 บาทต่อหน่วย ขณะที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ฯลฯ จะปรับลดลง 0.56 บาทต่อหน่วย
จะเกินลิมิตแล้ว! กฟผ. วอนรัฐช่วยดูแล ภาระค่าเชื้อเพลิง ใกล้ทะลุ 1 แสนล้าน เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 65 เฟซบุ๊ก กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โพสต์ระบุ กฟผ. เผย แบกรับภาระค่าเชื้อเพลิง ใกล้ทะลุ 1 แสนล้านบาท วอนรัฐช่วยดูแล พร้อมแจง กำไรสะสมไม่ใช่เงินสด ไม่สามารถนำมาช่วยพยุงค่าไฟฟ้าได้ กฟผ. เผยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ร่วมแบกรับภาระค่าเชื้อเพลิงแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท แม้กู้เงินนับหมื่นล้านมาเสริมสภาพคล่องแล้วแต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องขอกู้เงินเพิ่ม วอนรัฐช่วยดูแล เพื่อมิให้กระทบความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาว ส่วนกำไรสะสมเป็นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานในรูปของสินทรัพย์เพื่อผลิตและส่งไฟฟ้ามิใช่เงินสดจึงไม่สามารถนำมาช่วยพยุงค่าไฟฟ้าได้ นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ห่วงใยต่อความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาวิกฤตราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมรับภาระค่าไฟฟ้ากับประชาชนตามแนวทางบริหารค่าไฟฟ้าตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่งวดเดือนกันยายน 2564 จนถึงปัจจุบันรวมแล้วเกือบ 1 แสนล้านบาท แม้ กฟผ. จะพยายามแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการก
โซลาร์รูฟท็อป พลังงานทางเลือก ตัวช่วยธุรกิจ ยุคค่าไฟแพง “พลังงานไฟฟ้า” จัดเป็นต้นทุนสำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ โดยคิดเป็นราว 4.0% ของต้นทุน ซึ่งปัจจุบันแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทยมาจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ราว 64% และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ กว่า 20% เมื่ออัตราค่าไฟฟ้าได้รับแรงกดดันจากราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลในตลาดโลกที่มีแนวโน้มยืนสูง การลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อปในภาคธุรกิจ จึงได้รับความสนใจมากขึ้น แม้ราคาแผงโซลาร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัญหาอุปทานวัตถุดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มขึ้นราว 7.0% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ตลาดโซลาร์รูฟท็อปภาคธุรกิจในปี 65 น่าจะขยายตัวสู่ระดับ 125.9 เมกะวัตต์ หรือเติบโตราว 54.2% จากปี 64 โดยค่าไฟที่จะประหยัดได้จริงของแต่ละธุรกิจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ ปริมาณการใช้ไฟ เงินลงทุนในการติดตั้งและงบการเงินของกิจการ สำหรับแรงหนุนของตลาดโซลาร์รูฟท็อปภาคธุรกิจในปี 65 คาดว่า จะมาจากกลุ่มธุรกิจที่มีสัดส่วนต้นทุนการดำเนินธุรกิจจากค่าไฟที่สูง ทั้งธุรกิจในภาคการผลิต ไม่ว่าจะ
“ศรีสุวรรณ” บุกร้อง สตง. สอบการไฟฟ้าฯ ส่อทุจริต เหตุไฟฟ้าแพง วันนี้ เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน โดยเปิดเผยว่า ตามที่ประชาชนจำนวนมากได้ออกมาเปิดเผยและร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาค่าไฟฟ้าแพงมากในรอบบิลที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นประเด็นปัญหาซ้ำเติมประชาชน ในช่วงที่รัฐบาลรณรงค์ขอร้องให้ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนกระทั่ง รมว.พลังงาน กฟผ. สนพ. และ กกพ. ต้องรีบออกมาแก้หน้าด้วยการเสนอมาตรการเพิ่มเติมในการลดค่าครองชีพให้ประชาชน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 ที่ผ่านมานั้น ทั้งนี้ ปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าแพงนั้นเกิดขึ้นสะสมมานาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากนโยบายที่ผิดพลาดล้มเหลวของการบริหารจัดการระบบพลังงานไฟฟ้าทั้งระบบของรัฐบาล ตั้งแต่การเจตนาฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญโดยให้ผู้ประกอบการเอกชนมาผลิตไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน มากเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติไ