ค้ำประกันสินเชื่อ
บสย. คิกออฟ “The S1 Project” จับมือ EXIM BANK นำร่องพัฒนานวัตกรรมสินเชื่อ-ค้ำประกันสินเชื่อร่วมกัน บสย. คิกออฟ The S1 Project (SME One) นำร่องแผนพัฒนานวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อ เปิดตัวโครงการความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ตั้งเป้าก้าวสู่การพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ เชื่อมโยงแพลตฟอร์ม Digital Ecosystem ยกระดับการบริการ Digital Lending และ Digital Credit Guarantee ตอบโจทย์โลกการเงิน เพื่อผู้ประกอบการ SMEs นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ทั้ง 2 สถาบัน ร่วมเปิดโครงการ The S1 Project (SME One) โครงการความร่วมมือการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายยกระดับด้านการบริการสินเชื่อ และการค้ำประกันสินเชื่อ สร้างเครือข่ายการให้บริการทางการเงินยุค Digital Transform ภายใต้แพลตฟอร์มออนไลน์ร่วมกัน โดยใช้จุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ให
บสย. ยกระดับองค์กร ขับเคลื่อนสู่ ดิจิทัล เทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อ ผ่านรูปแบบ “Hybrid Guarantee” แม่ทัพใหม่ บสย. “สิทธิกร ดิเรกสุนทร” มุ่งยกระดับ ขับเคลื่อนองค์กรด้วย ดิจิทัล เทคโนโลยี ก้าวทะยานไปข้างหน้า เพื่อ SMEs ไทย ประกาศทิศทางนโยบายและแผนดำเนินงานปี 2565 “TCG Fast & First” รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อทุกมิติ ผ่านนวัตกรรม ค้ำประกันสินเชื่อ Hybrid Guarantee นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยทิศทางและแผนดำเนินงาน บสย. ปี 2565 ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง กรรมการและผู้จัดการทั่วไป เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 และ ครบรอบการก่อตั้ง บสย. 30 ปี ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 พร้อมยกระดับองค์กรก้าวสู่ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ภายใต้แนวคิด “TCG Fast & First” รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs ขับเคลื่อนองค์กรด้วย digital Technology สร้าง Financial Platform เป็นเครื่องมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของ บสย. เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน ครอบคลุมถึงก
ธุรกิจฟื้นตัว! บสย. สร้างสถิติอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ ม.ค. – 15 ต.ค. 2564 ยอดค้ำทะลุ 2 แสนล้านบาท รักษาการจ้างงานและสร้างแรงงานใหม่กว่า 2 ล้านราย มั่นใจ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 กระตุ้นเศรษฐกิจโค้งสุดท้าย เติมทุน SMEs ไมโคร-เปราะบาง Restart กิจการ นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 ตุลาคม 2564 ได้อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อทุกโครงการ รวมวงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) จำนวน 187,446 ฉบับ สร้างสถิติค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย. รอบ 30 ปี ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบ 215,237 ล้านบาท คิดเป็น 1.07 เท่า สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ 4.13 เท่าของวงเงินค้ำประกัน คิดเป็นมูลค่า 833,333 ล้านบาท ก่อเกิดการจ้างงาน จำนวน 2,050,661 ราย แบ่งเป็น การรักษาการจ้างงาน จำนวน 1,667,657 ราย และการจ้างงานใหม่ จำนวน 383,004 ราย โดยมีภาระค้ำประกันสินเชื่อ (Outstanding) ณ ไตรมาส 3/2564 จำนวน 604,076 ล้านบาท คิดเป็น 13%
บสย. ท็อปฟอร์ม ช่วยเอสเอ็มอีฝ่าโควิด ค้ำประกันสินเชื่อกระฉูด 1.4 แสนล้าน บสย.โชว์ผลงานช่วยเอสเอ็มอี 1.3 แสนรายฝ่าวิกฤตโควิด-19 เผย 11 เดือนปีนี้ค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว 1.4 แสนล้าน พร้อมตั้งศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน ช่วยเอสเอ็มอีได้แล้วกว่า 2 พันราย เตรียมชงรัฐบาลอนุมัติอีก 2 โครงการเป็นของขวัญปีใหม่ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงผลดำเนินงาน บสย. ช่วง 11 เดือนแรกปี 2563 (มกราคม-พฤศจิกายน 2563) ว่า มียอดค้ำประกันสินเชื่อแตะ 140,000 ล้านบาท และช่วยผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ 130,000 ราย สร้างปรากฏการณ์ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ครั้งสำคัญในรอบ 29 ปี ด้วยผลดำเนินงานเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งด้านยอดการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ จำนวนลูกค้าใหม่ และจำนวนการอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) ของ บสย. ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลดำเนินงาน 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 (ระหว่าง ม.ค.-ต.ค.62-63) ที่เติบโตขึ้น ประกอบด้วย 1. ยอดการอนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อ ปี 63 เพิ่มขึ้น 122% จาก 61,392 ล้านบาทเป็น 135,984 ล้านบา
บสย. เร่งเยียวยาท่องเที่ยว เปิดเกณฑ์ค้ำฯ ซอฟต์โลน เติมทุนเต็มวงเงิน สูงสุดต่อราย 20 ล้านบาท บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เร่งเยียวยาภาคท่องเที่ยว เปิดเกณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ผ่านซอฟต์โลน 10,000 ล้านบาท เติมทุนเต็มวงเงิน ค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดต่อราย 20 ล้านบาท ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บสย. พร้อมดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อ กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ตามมาตรการของรัฐบาล ร่วมกับธนาคารออมสิน ในโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ระยะที่ 8 โดยมีหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อ ดังนี้ 1.เป็นโครงการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอาชีพอิสระ ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ระยะที่ 8 2.บสย. จะให้การค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้วงเงินกู้เต็มจำนวนที่ต้องการ 3.ค้ำประกันสิน
วินมอเตอร์ไซค์เฮ! บสย.เล็งค้ำประกันสินเชื่อ รายละ 50,000 บาท – ตั้งเป้าช่วยผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 82,600 ราย วงเงินกว่า 107,000 ล้านบาท บสย. เผยผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อปี 2561 ยอดค้ำประกันสินเชื่อ 88,878 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 62 ยอดค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี 107,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น 82,600 ราย ทั้งนี้มีแนวคิดค้ำประกันผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างกว่า 1.5 แสนรายทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายใต้ชื่อโครงการ “รักพี่วิน” รายละไม่เกิน 50,000 บาท ดีเดย์วันวาเลนไทน์ นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ บสย. พร้อมด้วย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เผยผลการดำเนินงานการค้ำประกันสินเชื่อ ปี 2561 และแผนงาน บสย. ในปี 2562 ว่า ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ประจำปี 2561 (1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 2561) อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อรวม 88,878 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินอนุมัติจากการค้ำประกันสินเชื่อ รวม 133,191 ล้านบาท หรือ 1.5 เท่าของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ สร้างผลประโยชน
ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-15 กันยายน) ธนาคารพันธมิตรที่ผนึกกำลังกับ บสย. ได้ให้การช่วยเหลือรายย่อย ปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ มากกว่า 10,000 ราย คิดเป็นวงเงินความช่วยเหลือมากกว่า 1,100 ล้านบาท ฮีโร่ในดวงใจของพ่อค้าแม่ขายในรอบ 5 เดือน ไม่ใช่ใครอื่นไกล แต่เป็น 4 ธนาคารใจดี ที่ได้มอบความสุขสดชื่นให้กับพ่อค้า แม่ขาย และรายย่อย คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารทิสโก้ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย และ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารออมสิน และธนาคารทิสโก้ ให้วงเงินกู้รายละ 200,000 บาท ขณะที่ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อยและธนาคารกรุงเทพ ให้วงเงินกู้รายละ 100,000 บาท สำหรับธนาคารกรุงเทพ นอกจากจะมี บสย.ค้ำประกันแล้ว จะต้องมีผู้ค้ำประกันด้วย 1 คน วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ที่ผ่านการปล่อยกู้จากธนาคารใจดีทั้ง 4 ธนาคาร มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกเดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ในเดือนเมษายน มีผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อและค้ำประกัน 146 ราย ค้ำประกันและได้สินเชื่อ 13 ล้านบาท เดือนพฤษภาคม เพิ่มเป็น 1,020 ราย วงเงิน 112 ล้านบาท เดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว 2,400 ราย วงเงิน 275 ล้านบาท เดือนกรกฎาคม ขยับตัว
สวัสดี แฟนคลับ “เส้นทางเศรษฐี” ทุกท่านครับ วันนี้ผมมีเรื่องราวดีๆ มาฝากครับ ผมตื่นเต้นกับข่าวนี้มาก ปีนี้หน่วยงานค้ำประกันสินเชื่อ บสย.ของผมนี่แหละครับ จะจัดงานระดับชาติ ถือเป็นเกียรติกับประเทศไทยมาก ปีนี้ บสย. ได้รับเกียรติจากกลุ่มประเทศสมาชิกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมาพันธ์ประกันสินเชื่อแห่งภูมิภาคเอเชีย หรือ ACSIC (Asian Credit Supplementation Institution Confederation) โดยมีกลุ่มประเทศสมาชิกจาก 11 ประเทศเข้าร่วมประชุม ในระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน ภายใต้ธีมที่กำลังฮือฮา “บทบาทการค้ำประกันสินเชื่อเป็นความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs” ผมสนับสนุนคำพูดที่ว่า “SMEs สร้างชาติ” หลังจากมีโอกาสได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจทั้งจาก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และ ไต้หวัน พบว่า เบื้องหลังความสำเร็จที่ทุกประเทศมีก็คือ การใช้กลไกการค้ำประกันสินเชื่อ เป็นพลังขับเคลื่อนครับ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีการพัฒนาโมเดลกลไกการค้ำประกันสินเชื่อที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ครับ สิ่งที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับผมอีกเรื่องหนึ่งคือ กระ