งานหัตถกรรมไทย
sacit ประกาศศักดางานหัตถศิลป์ไทยในแดนปลาดิบ สร้างแบรนดิ้ง ดันคราฟต์ไทยลุยตลาดต่างประเทศ พร้อมดึง “เลดี้ปราง” ร่วมสร้าง Soft Power ผ้าไทย อวดสายตาชาวโลก ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit โชว์ศักยภาพงานศิลปหัตถกรรมไทย ในงาน LIFESTYLE Week TOKYO 2023 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2566 ณ Tokyo Big Sight ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างแบรนดิ้งภาพลักษณ์คุณค่าภูมิปัญญาหัตถศิลป์ไทย สร้างมูลค่าเพิ่มคราฟต์ไทย ขยายตัวสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน พร้อมดึง “เลดี้ปราง” ร่วมสร้าง Soft Power ผ้าไทย อวดสายตาชาวโลกตามจุดแลนด์มาร์กสำคัญของญี่ปุ่น นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย หรือ sacit กล่าวว่า sacit มีบทบาทสำคัญในการสืบสาน ส่งเสริมคุณค่า ยกย่องเชิดชู รักษา พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้ง sacit มีนโยบายผลักดัน Soft Power เพื่อขับเคลื่อน “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” สู่ระด
SACICT เปิดนิทรรศการ “หัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย” จ.พระนครศรีอยุธยา งานประณีตศิลป์ หรือ งานหัตถกรรมในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิด บางชนิดยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน บางชนิดก็เริ่มสูญหายไปตามกาลเวลาเช่นกัน คุณวิชชากร จันทรศิริ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดงาน นิทรรศการ “หัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย” จัดขึ้น ณ หอหัตถศิลป์ระหว่างประเทศ ชั้น 2 อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี คุณจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ช่างเครื่องรัก ประเภทงานลงรักประดับมุก (ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2558) ครูบุญธรรม วิเชียร ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรพนัสนิคม กลุ่มเครื่องจักสาน จ.ชลบุรี และ คุณพิเชฏฐ์ เกิดทรง ช่างเครื่องไม้ ประเภทงานเครื่องดนตรีไทย (ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2559) มาร่วมพูดคุยและนำงานหัตถกรรมมาแสดงโชว์ในงาน ภายในงานนิทรรศการ จะเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมที่ใกล้สูญหายทั้งของไทยและของกลุ่มประเทศอาเซียนมาจัดแสดง อาทิ งานไม้ เครื่องมุก และเครื่องจักสาน ซึ่งบางชิ้นงานมีอายุกว่า 300 ปี ซึ่งนิทรรศการนี้ เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ต้องการนำเสนอภูมิปัญญาในการเลือกสรรวัตถุ