งานเสริม
ว่างจากงานประจำ มาใช้ครัวคอนโดฯ ทอดไก่ขาย ไม่มีหน้าร้าน แต่สร้างรายได้ 40,000 บาท/เดือน ชีวิตของมนุษย์ลูกจ้างอย่างเราๆ เมื่อมีเวลาว่างจะเลือกทำอะไรกัน? สำหรับ คุณหมี-อินทนนท์ เสาร์สูงยาง วัย 26 ปี คนนี้ เลือกที่จะทำงานหารายได้ต่อ แถมงานเสริมหลังเลิกงานของเขาอย่าง ทอดไก่ขาย ก็สร้างรายได้ให้เขากว่า 40,000 บาทเลยทีเดียว! คุณหมี เล่าให้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ ฟังว่า ตนนั้นเรียนจบ ปวส. เลือกที่จะไม่เรียนต่อและเข้ามาหางานในเมืองกรุงทำ ซึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน คุณหมีก็ได้งานทำอยู่ในสนามบินแห่งหนึ่งได้ด้วยดีมาตลอด จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เปลี่ยนชีวิตของใครหลายๆ คน รวมถึงคุณหมีที่ โดนจ้างออก ด้วย “พอโดนจ้างออก ก็หางานทำไปเรื่อย จนได้เข้ามาทำงานเป็นพนักงาน Part-Time ที่ร้าน The Pizza Company แห่งหนึ่ง เรื่อยมา ทำไปได้สักพัก ก็เริ่มคิดแล้วว่า อืม เราน่าจะหาเงินได้มากกว่านี้นะ เพราะเราก็ช่วยแบ่งเบาภาระที่บ้านอยู่ แล้วทำงานร้านพวกนี้มันก็ค่อนข้างหนักครับ ผมก็อยากมีเวลามากกว่านี้ เลยเข้าไปคุยกับผู้จัดการร้านว่า ขอทำงานช่วงเช้าถึงบ่าย 2 ได้ไหม เขาก็โอเค ก็คิดอยู่สักพักครับว่าจะทำอะไรต่อ
วัตถุดิบขึ้นราคา แต่ขายแค่ 5 บาท ร้านขนมของเด็ก ม.5 แบ่งเวลาหลังเลิกเรียนมาช่วยแม่ทำ นอกจากร้าน 20 บาททุกอย่าง ยังมีร้านคุณนาย เบเกอรี่ 5 บาททุกอย่าง มีเจ้าของเป็น น้องโฟกัส-ธันย์สิตา อริยะรุ่งรัตน์ วัย 17 ปี ที่แบ่งเวลาหลังเลิกเรียนมาเปิดร้านขายเบเกอรี่กับคุณแม่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเกือบทุกวัน น้องโฟกัส เล่าให้ฟังว่า คุณแม่ชอบทำขนมทานอยู่เป็นประจำ เมื่อตกงานจากโควิด ประกอบกับได้สูตรเบเกอรี่มาใหม่ จึงลองทำกิน และต่อยอดทำขาย โดยเลือกเปิดร้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีความครึกครื้นกว่าจังหวัดอ่างทองบ้านหลังปัจจุบัน โดยตั้งชื่อร้านว่า คุณนาย เบเกอรี่ ตามชื่อของพี่ชาย คือ นาย แรกเริ่มขายราคา 10 บาท แต่ไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้า จึงเปลี่ยนมาขาย 5-6 บาท ถึงปัจจุบันเปิดมานาน 3-4 ปี ปัจจุบันน้องโฟกัสเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในอ่างทอง ในช่วงหลังเลิกเรียนจะแวะเข้ามาช่วยคุณแม่ทำขนมที่ย้ายฐานการผลิตมาอยู่อ่างทอง จึงไม่ต้องเดินทางไปกลับอยุธยาเหมือนเมื่อก่อน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีหน้าร้านอยู่ที่อยุธยาเหมือนเดิม โดยอยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อรองรับ
เปิดไอเดีย เริ่มต้นทำ ธุรกิจเสริม ควบคู่กับ งานประจำ ใครเหมาะกับธุรกิจแบบไหน เช็กเลย! หากใครที่กำลังเริ่มต้นหาไอเดียทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการทำงานประจำด้วยแล้วล่ะก็ 25 ไอเดียธุรกิจที่เป็นไปได้ เพื่อให้คุณเริ่มต้นธุรกิจเสริมของคุณ คู่กับงานประจำ เว็บไซต์ กรมส่งเสริมอุสาหกรรม ได้นำเอาไอเดียจาก เว็บไซต์ Inc. มาฝาก ดังนี้ 1. มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจท้องถิ่นตัวเองเลยสิ ถ้าคุณมีประสบการณ์หรือความรู้เฉพาะด้านนะ ก็ใช้ทักษะเหล่านั้นเลย ในการแต่งตั้งตัวเองเป็นที่ปรึกษาสำหรับธุรกิจท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อที่เจ้าของธุรกิจเหล่านั้นจะได้มาปรึกษาคุณ ซึ่งก็มีธุรกิจมากมายที่อาจจะเต็มใจร่วมงานกับคุณให้คุณช่วยพวกเขาในการแก้ปัญหา เช่น วางแผนงานธุรกิจ หรือแม้กระทั่งจัดการโซเชียลมีเดียด้วยก็ได้ ซึ่งคุณสามารถใช้ 18 ขั้น ในการขึ้นสู่ผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจฉบับเริ่มต้น 18-Step Checklist (https://goo.gl/ePXeoQ) 2. เป็นช่างซ่อมก็ได้ หรือรับจ้างทำนู่นทำนี่ก็ได้ ถ้าคุณซ่อมสิ่งของต่างๆ เก่ง เช่น ติดตั้งหน้าต่าง แก้ไขท่อน้ำอุดตัน หรือต่อเฟอร์นิเจอร์เข้าด้วยกันได้ คุณสามารถใช้สกิลเหล่านั้นได้แน่นอน และก็สามารถช่วยคนที
เพราะอาชีพไม่ควรมีแค่หนึ่ง พยาบาลคลินิก ผุดงานเสริม ทำ บราวนี่ ฟัดจ์ ขาย สร้างรายได้อีกทาง เรียกว่าปี 2563 เป็นปีที่แทบจะไม่ได้ขยับตัวได้ทำอะไร ผลพวงมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจากจะทำให้การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนไปแล้ว ผลกระทบต่ออาชีพก็เจอเซอร์ไพรส์กันถ้วนหน้า เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีโอกาสได้คุยกับ คุณน้ำค้าง- รัมภ์รดา เจ้ยทองศรี วัย 29 ปี พยาบาลสาวประจำคลินิกแห่งหนึ่งใน กทม. เธอเล่าให้ฟังว่า คลินิกที่เธอทำ เป็นคลินิกเกี่ยวกับรับให้คำปรึกษาปัญหามีบุตรยาก ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ อย่าง จีน ที่เข้ามาใช้บริการ แต่เมื่อโควิดระบาด ทางคลินิกจึงได้รับผลกระทบหนักเลยทีเดียว ทำให้ต้องมีการปรับตัวกันใหม่หมด “เมื่อก่อนทำงานรับปรึกษาการให้นมบุตร เพราะเคยเป็นพยาบาลเด็ก มีใบรับรองถูกต้อง แต่มันต้องขึ้นเวรดึกแล้วต่อ ป.โท ด้วย เลยย้ายมาทำคลินิกปรึกษาคนมีบุตรยาก พอลูกค้าไม่มี คลินิกก็ต้องปรับตัว มีการลดเงินเดือนพนักงานและผู้บริการลงเพื่อประคองๆ กันไปทั้งหมด แล้วก็หันมาทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าคนไทยมากขึ้น” คุณน้ำค้าง เล่า แต่เหมือนยังไม่เป็นที่น่าวางใจเท่าใดนัก ค
เปลี่ยนวัชพืชไร้ค่า เป็นงานสานเกรดพรีเมี่ยม “CHOM hand craft” ทำมือทุกชิ้น “ผักตบชวา” เจ้าพืชลอยน้ำ พบเห็นกันมากตามลำคลอง จนหลายคนคิดว่ามีต้นกำเนิดในประเทศไทย ซึ่งความจริงแล้วมันมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยพืชชนิดนี้เป็นตัวการสร้างปัญหาต่อระบบนิเวศ ไม่มีทางใดที่จะกำจัดได้อย่างเด็ดขาด เพราะมันสามารถปรับตัวอยู่ได้ในทุกสภาพน้ำ และเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู อย่างบ้านเรา ได้หยิบจับ นำผักตบชวา มาสานเป็นงานหัตถกรรมหลากหลาย ที่เด่นชัด เห็นจะเป็นกระเป๋า ฝีมือจากชาวบ้าน ผู้สูงอายุ ทำขายกันเองมาหลายสิบปี เกิดเป็นอาชีพสร้างรายได้มานาน คุณแอล-อิสรัตน์ แซ่ลิ้ม สาวเจนวาย อายุ 24 ปี เธอร่วมกับคุณแม่ของแฟน คุณเปรม-ชม รอดรัตน์ อายุ 64 ปี ทำแบรนด์ CHOM hand craft งานแฮนด์เมดจากผักตบชวาที่พิถีพิถันทุกรายละเอียด จากฝีมือการสานของคุณแม่ที่อยู่ในวงการนี้มาร่วม 20 ปี “เมื่อก่อนแอลเป็นช่างภาพ ส่วนคุณแม่ทำงานสานให้กับศูนย์ในจังหวัดชัยนาท ช่วงแรกจะเป็นการสานไม้ไผ่ ช่วงหลังผักตบชวาเริ่มเยอะ เลยมีการดัดแปลง คุณแม่เป็นคนแกะแบบกระเป๋าหวายจากบาหลี หลังจากนั้นคนในชุมชนก็เริ่มทำกัน ชาวบ้านจังหวัดใกล
3 หัวใจหลัก ธุรกิจซาลอนยืนอยู่ได้ในยุคข้าวยากหมากแพง แนะ ช่างผมไทย เร่งนำเทรนด์ ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เฟื่องฟู ข้าวปลาอาหารและการบริการหลายๆ อย่างมีราคาสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน รายได้นั้นกลับสวนทางกับรายจ่าย จึงทำให้หลายๆ คนคิดอย่างรอบคอบเวลาจะควักเงินออกมาจากกระเป๋าแต่ละครั้ง และแน่นอนว่าเมื่อการใช้จ่ายลดลง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจแต่ละสาขาต้องเร่งปรับตัว ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจร้านซาลอน ที่หากจะว่าไปก็อยู่ยากในยุคที่เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ เพราะคงไม่มีใครเดินเข้าร้านซาลอนได้ทุกวันเหมือนร้านขายอาหารตามสั่ง ดังนั้น เราจึงแนะนำ 3 หัวใจของการทำธุรกิจซาลอนให้ยืนอยู่ได้ ในยุคข้าวยากหมากแพง ในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ SUBLIMIC ของ บริษัท ชิเซโด้ โปรเฟสชั่นแนล ไทยแลนด์ (จำกัด) ได้พบกับผู้คร่ำหวอดในวงการซาลอนอย่าง คุณพิชัย อร่ามเจริญ เจ้าของคัท แอนด์ เคิร์ล อคาเดมี ร้านซาลอนกว่า 16 สาขา และควบตำแหน่งนายกสมาคม Intercoiffure Thailand สมาคมช่างทำผมระดับโลก ที่ปัจจุบันมีสมาชิก 50 ประเทศ แฮร์สไตลิสต์กว่า 3,000 คน โดยคุณพิชัยได้เผยถึง 3 หัวใจหลักสำคัญ ของการทำธุรกิจซาลอนในยุคข้าวยากหมากแพง ดังนี้ 1. การพัฒนาฝีมือแล
เตะฝุ่นเพียบ!! สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผย ตัวเลขผู้ว่างงาน ก.ค. ทะลุ 4.36 แสนคน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เผยสถิติการทำงานของคนไทยประจำเดือน ก.ค. 62 พบว่า จำนวนการว่างงาน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีทั้งสิ้น 4.36 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 5.4 หมื่นคน และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 7.3 หมื่นคน นอกจากนี้ยังพบว่าเพศชาย มีอัตราการว่างงานสูงกว่าเพศหญิง โดยอัตราการว่างงานของเพศชาย ร้อยละ 1.2 และเพศหญิง ร้อยละ 1.1 สำหรับ ภาวะการทำงานของประชากรเดือนกรกฎาคม 62 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมีจำนวน 56.60 ล้านคน เป็นผู้ที่พร้อมทำงาน 38.09 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 37.62 ล้านคน ผู้ว่างงาน 4.0 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.0 หมื่นคน ส่วนผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 18.51 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน, นักเรียน, คนชรา เป็นต้น โดยจำนวนผู้มีงานทำ 37.62 ล้านคน ลดลงจากปี 2561 จำนวน 1.01 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นการลดลงในสาขาการขายส่ง-ขายปลีก, การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 2.6 แสนคน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 1.2