จักรยาน
โควิด-19 ทำยอดขายจักรยานในบังกลาเทศพุ่งกระฉูด หลังคนไม่ไว้ใจขนส่งสาธารณะ การสัญจรในกรุงธากา นครหลวงของบังกลาเทศ เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากมีการประกาศ “ยกเลิกล็อกดาวน์” ไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่การกลับมาเริ่มต้นกันใหม่ครั้งนี้ ชาวกรุงธากา พบว่า การขี่จักรยาน น่าจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด ในช่วงที่วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่สงบ สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า จากเดิมที่รถสามล้อตุ๊กๆ และรถเมล์ที่แออัดไปด้วยผู้โดยสาร คือบริการขนส่งสาธารณะที่ชาวกรุงธากาใช้ แต่ตอนนี้ทั้งรถเมล์ และรถสามล้อตุ๊กๆ กลายเป็นขนส่งสาธารณะที่คนส่วนใหญ่ยังรู้สึกกลัว เนื่องจากรักษาระยะห่างทางสังคมลำบาก เลยกลายเป็นว่า มีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น เพราะรู้สึกมั่นใจ สบายใจมากกว่า จากข้อมูลของ Dhaka’s Bangshal Bike Bazar ที่รวมร้านขายจักรยานอยู่ราว 150 ร้าน พบว่า การปั่นจักรยานไปทำงานหรือไปโรงเรียน กลายเป็น “นิวนอร์มอล” หรือ “วิถีชีวิตใหม่” ของผู้คนในนครหลวงแห่งนี้ “ยอดขายจักรยานเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ตอนนี้คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการโดยสารรถเมล์ รถแท็กซี่ รถสามล้อไฟฟ้า และหันม
Probike : Bike Innovation อัพเดตเทรนด์จักรยานล่าสุด พบกันในงาน Run and Ride 2017 @Central Eastville นายสร้างสรรค์ ประชาอนุวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทโปรไบค์ จำกัด กล่าวในการร่วมเปิดงาน Run and Ride 2017 @CentralEastville ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-24 กรกฎาคม 2560 ณ ศูนย์การค้า Central Festival Eastville ว่า บริษัทโปรไบค์ตัดสินใจร่วมกิจกรรมดังกล่าวเพราะตระหนักดีถึงกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพ ทั้งในรูปแบบของการวิ่งและการปั่นจักรยานออกกำลังกาย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะได้นำข้อมูลความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมของจักรยานซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก มานำเสนอในการจัดงานครั้งนี้ ทั้งนี้แนวคิด Probike : Bike Innovation อันเป็นแนวคิดหลักในการจัดนิทรรศการและออกบูทนำเสนอสินค้าของ โปรไบค์จะให้ความสำคัญกับการแนะนำ ให้ความรู้เรื่องจักรยานที่มีหลากหลายประเภท ตอบสนองไลฟ์สไตล์ในการเลือกใช้ปั่นออกกำลัง ตั้งแต่กลุ่มที่เริ่มต้นสนใจการออกกำลังด้วยการปั่นจักรยาน ไปจนถึงนักปั่นที่ต้องการพัฒนาให้ปั่นได้ดียิ่งขึ้น รวมถึง นักวิ่งที่เริ่มหันมาสนใจปั่นจักรยานควบคู่กันไป “งาน Run and Ride 2017 วางกลุ่มเป้าหมายไปท
ตอนนี้ใครไม่ขี่จักรยานจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มพวกที่เชยเล็กน้อย ลองมองไปรอบๆตัวดูสิจะเห็นว่าสังคมไทยปัจจุบันเห่อการขี่จักรยานกันทั้งประเทศ เพราะไม่เพียงแต่มีกิจกรรมเกี่ยวกับจักรยานหลากหลายตลอดปีเท่านั้น แต่ภาครัฐก็ยังให้การสนับสนุนการขี่จักรยานออกกำลังกาย หรือแม้แต่ขี่เพื่อใช้แทนยานพาหนะพาไปตามที่ต่างๆ จึงไม่แปลกที่มีการส่งเสริมเลนจักรยานสำหรับนักปั่นรุ่นใหม่ให้ได้ไปปั่นที่สนามหรือเลนจักรยาน เช่น ที่กำลังโด่งดังมากๆก็ “Sky Lane” สนามบินสุวรรณภูมิ, สวนรถไฟ, ในหมู่บ้านชวนชื่นฟอร์ล่าวิลล์,ไร่บุญรอด เป็นต้น แต่ก็ยังมีนักปั่นจำนวนมากออกมาใช้จักรยานบนท้องถนนจริงเพื่อเดินทางไปทำงานหรือไปเที่ยวเล่นตามที่ต่างๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ ทำให้เราได้พบเห็นบรรดานักปั่นอยู่ตลอดปี และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่านักปั่นเหล่านั้นจะต้องผ่านฤดูกาลที่ผันแปร วนเวียนกันไปทั้งร้อน ฝน หนาว ซึ่งฤดูกาลที่เป็นอุปสรรคที่สุดสำหรับนักปั่นแข้งทองก็คือฤดูฝนนั่นเอง ในต่างประเทศที่มีคนใช้จักรยานกันเยอะๆ มีการคิดค้นนวัตกรรมมากมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการขี่จักรยานและมอเตอร์ไซค์ในหน้าฝน ป้องกันไม่ให้ร่างกายเปียกโชกจะได้ไม่ป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 กันยายน นายจันทา แสนทวีสุข อายุ 59 ปี ซึ่งมีบ้านพักอยู่ที่บ้านเลขที่ 12/5 ถนนสร้างคำ ต.พิบูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี และเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้เกิดไอเดีย ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นำวัสดุที่ใช้แล้วมาดัดแปลงเป็นเครื่องช่วยทำกายภาพบำบัดให้กับนางบุญหลาย แสนทวีสุข อายุ 59 ปี ภรรยาที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ กล้ามเนื้อขาและแขนอ่อนแรง ที่ต้องกายภาพบำบัด เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพให้กลับคืนมาดังเดิม เป็นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนของแขนและขา เพื่อแก้อาการที่เกิดจากการสั่งการทางสมองที่ผิดปกติให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและลดภาระให้กับผู้ดูแล จากการทดลองได้ผลดีเกินคาด นายจันทา แสนทวีสุข กล่าวว่า จุดเริ่มต้นจากการที่ประดิษฐ์เครื่องช่วยทำกายภาพบำบัดขึ้นเพื่อต้องการช่วยทำกายภาพบำบัด ในการที่จะฟื้นฟูให้กับภรรยาที่ป่วยโดยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 59 หลังจากนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลได้ 5 วันแล้วกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งหมอได้สั่งว่าให้ญาติช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดโดยการยกขาและแขนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงมานั่งคิดอยู่ที่บ้านว่าจะทำอย่างไ
กระแสเห่อปั่นจักรยานในบ้านเรายังแรงดีไม่มีตก เพราะได้แรงหนุนจากความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมและเทรนด์ใส่ใจสุขภาพ แถมบวกปัญหาจราจรที่ติดขัดแบบสาหัส ความนิยมปั่นพาหนะ 2 ล้อไม่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยเท่านั้น แต่ในหลายประเทศก็เกิดกระแสนี้คล้ายๆ กัน บางประเทศจัดเลนสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับจักรยานก็พลอยเติบโตตามไปด้วย ซีเอ็นเอ็น ระบุว่า กระแสปั่นจักรยานที่เกิดขึ้นในหลายมุมโลก นอกจากจะส่งผลดีในแง่สิ่งแวดล้อม เพราะเป็นยานพาหนะที่ไม่ปล่อยมลภาวะที่ทำให้โลกร้อน ยังช่วยสร้างโอกาสด้านธุรกิจให้กับคนเล็กคนน้อยในประเทศกานาที่ผลิตจักรยานไม้ไผ่จำหน่ายไปทั่วโลก ทั้งๆ ที่ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่ทนทาน กันแรงกระแทก และพร้อมสำหรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ แต่กลับไม่มีใครนำไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการผลิตจักรยานขายในเชิงพาณิชย์ ครั้งแรกๆ ที่มีคนคิดค้นนำไม้ไผ่มาขึ้นโครงจักรยานเริ่มตั้งแต่ปี 2437 แต่ไอเดียดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกสานต่อมานานร่วม 120 ปี จนเพิ่งเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนจากฝีมือของช่างในกานาและหน่วยงานต่างๆ ที่พยายามอย่างหนักให้จักรยานไม้ไผ่แจ้งเกิด เบอร์นีซ ดาปาห์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการริเริ่มจักร