จิ้งหรีด
สร้างรายได้เกือบล้าน ใน 1 เดือน! คุณพ่อวัย 38 ปี เลี้ยงจิ้งหรีดขาย ฟาดรายได้แซงงานประจำ เรื่องราวของ Jeff Neal (เจฟฟ์ นีล) คุณพ่อวัย 38 ปี ที่ต้องการช่วยลูกสาวดูแลสัตว์เลี้ยง อย่าง Bearded Dragon หรือ มังกรเครา ซึ่งกินจิ้งหรีดเป็นอาหาร และเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เขาจึงลองเริ่มต้นเพาะจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม แต่งานนี้กลับกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยสามารถทำรายได้ถึง $27,000 หรือประมาณ 900,000 กว่าบาท ภายในเดือนเดียว! เจฟฟ์ นีล มีอาชีพหลักเป็นพนักงานขายชิ้นส่วนและบริการเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้กับโรงงานผลิตต่างๆ ในรัฐเพนซิลเวเนีย แลได้เริ่มต้นเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม ภายใต้ชื่อ Critter Depot ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแลงคาสเตอร์ “ในปี 2016 ลูกสาวผมเลี้ยงสัตว์ Bearded Dragon หรือ มังกรเครา เธอรักมันมาก ผมเลยอยากช่วยดูแลมัน แต่การซื้อจิ้งหรีดเป็นอาหาร ค่อนข้างมีราคาแพง ผมเลยเริ่มหาข้อมูลวิธีเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด มันง่ายมากเพราะจิ้งหรีดขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และผมรู้ว่ามีตลาดขายออนไลน์ ผมเลยเริ่มประกาศตามกลุ่มเลื้อยคลานออนไลน์ ว่าผมมีจิ้งหรีดขาย ก็มีคนสนใจติดต่อเข้
สร้างอาชีพแก้จน ด้วย จิ้งหรีด แมลงทำเงินยุคใหม่ ลงทุนน้อย ขายได้กำไรงาม ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ NAETC จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ และสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน ด้วยกิจกรรมอบรมออนไลน์ดีๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ด้วยการ เลี้ยงจิ้งหรีดขาย โดย คุณสมเกียรติ คนเชื้อ และ คุณวร บุญตา เกษตรกรฟาร์มจิ้งหรีด ใน ตำบลหนองงูเหลือม จังหวัดนครปฐม โดยวัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยง มีดังนี้ 1. บ่อสำหรับให้จิ้งหรีดอยู่ (จะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้) 2. แผงไข่ 3. ท่อน้ำ PVC 4. อาหารสำหรับเลี้ยงจิ้งหรีด (อาหารสำเร็จ สามารถซื้อได้ที่ร้านขายอาหารสัตว์) รวมถึง ผักปลอดสาร เช่น ต้นกล้วย (หยวกกล้วย) ใบเตย ผักขม ใบหม่อน ใบดอกรัก (สามารถนำมาให้จิ้งหรีดกินได้) ส่วนสายพันธุ์จิ้งหรีดที่ใช้เลี้ยง จะเป็น สายพันธุ์ ทองดำ ทองแดง และ ทองดำล้วน ที่เกษตรกรฟาร์มจิ้งหรีดจะนิยมเลี้ยงกัน โดยสามารถหาซื้อไข่จิ้งหรีดมาจากฟาร์มจิ้งหรีดทั่วไปได้โดยตรง โดยคุณสมเกียรติซื้อมาในราคาขันละ 50 บาท วิธีเลี้ยง 1. เมื่อได้ไข่จิ้งหรีดมาแล้ว ต้องมาทำการเรียงรังไข่ก่อน
ยกระดับ ฟาร์มจิ้งหรีด! สัตวแพทย์สาว ผุดโรงงาน แปรรูป โปรตีนจิ้งหรีดอัดเม็ด ตีตลาดอาหารเสริมต่างประเทศ ปัจจุบัน โปรตีนจากแมลง ได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งอนาคต ซึ่งในต่างประเทศ เกิดกระแสการบริโภคโปรตีนจากแมลงกันอย่างกว้างขวาง แต่ในประเทศไทยแล้วนั้น การทานแมลงยังเรียกว่าเป็นการบริโภคที่เฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่กันอยู่ คุณลัลน์ลลิต สุคนธรัตนสุข ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มีดีกรีเป็นถึงสัตวแพทย์เจ้าของกิจการ ProteGo ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีด โดยเธอได้เล่าให้ฟังว่า ProteGo มาจากคำว่า Protein on the Go ซึ่งหมายความถึง โปรตีนที่สามารถพกติดตัวไปได้ในทุกที่ “ในประเทศไทย การบริโภคแมลงหรือโปรตีนจากแมลงยังไม่แพร่หลายนัก คือยังถือว่าเป็นอาหารเฉพาะกลุ่ม นอกจากนั้น คนบ้านเรายังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโปรตีนจากแมลง ยังไม่แพร่หลายนัก เราก็เลยเห็นโอกาสว่า ต่างประเทศโปรตีนแบบนี้เป็นที่นิยมมาก” “ท้องถิ่นที่เราอยู่อย่าง ขอนแก่น ซึ่งก็อยู่ในภาคอีสาน เขามีพวกฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดอยู่เยอะมาก มี Supply ค่อนข้างสูง สามารถนำมาต่อยอดทำส่งออกได้เพราะตลาดก็มีรองรับ เราเองจบสัต
มกอช.-ปศุสัตว์ หนุนเกษตรกร เลี้ยงจิ้งหรีด ป้อนตลาดใน-นอกประเทศ เพจ ไทยคู่ฟ้า เผยแพร่ข่าวอ้างอิงถึง องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้วางแผนส่งเสริมแมลงให้เป็นอาหารทั่วโลก เพราะแมลงเป็นแหล่งโปรตีน มีไขมันต่ำ และไฟเบอร์สูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงแมลงโดยเฉพาะ “จิ้งหรีด” ปัจจุบันมีเกษตกรเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นจำนวนมาก จึงให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมปศุสัตว์ ร่วมกันส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด ทั้งสายพันธุ์ทองดำ ทองแดง และสะดิ้ง มีกำลังการผลิตจิ้งหรีดรวมมากกว่า 7,000 ตันต่อปี เพื่อป้อนตลาดทั้งภายใน และต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ผู้เลี้ยงแมลงโดยเฉพาะจิ้งหรีด ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ทั้งหมดจำนวน 11 แปลง พื้นที่รวมประมาณ 848.5 ไร่ ใน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ พิจิตร พิษณุโลก มหาสารคาม ลพบุรี สระแก้ว และสุโขทัย ที่มีกำลังการผลิตรวมกว่า 1.1 พันตัน ต่อปี ที่สำคัญ ได้พัฒนาคุณภาพผลผลิตจนได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรท
อึ้ง!! โปรตีนจิ้งหรีดสูงกว่าเนื้อวัว ทูตพาณิชย์แนะส่งออกป้อนคนมะกันนิยมเปิบแมลง น.ส.อุษาศรี เขียวระยับ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีรายงานเกี่ยวกับการรับประทานแมลงที่สามารถรับประทานได้ (Edible Insects) ที่จัดทำโดยสหประชาชาติ (UN) ระบุว่าภายในปี 2593 ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 9.7 พันล้านคน และอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมดในขณะนั้นจะต้องมีอาหารถึงสองเท่า แต่พื้นดินเพาะปลูกมีจำนวนไม่เพียงพอ และ 1 ใน 3 ของพื้นดินเพาะปลูกที่มีอยู่ในโลกได้ใช้ไปในการปศุสัตว์ ขณะที่พื้นที่ป่าและน้ำก็มีจำกัด ซึ่งอาหารโปรตีนที่จะมาทดแทนปศุสัตว์ ก็คือแมลง เพราะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง น.ส.อุษาศรี กล่าวว่า ยังมีการยืนยันอีกว่าโปรตีนจากจิ้งหรีดมีมากกว่าโปรตีนจากเนื้อวัว และจิ้งหรีดยังมีกรดอะมิโนที่สำคัญ 9 ชนิด มีทั้งวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกเนเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม และในการเลี้ยงก็ใช้พื้นที่น้อยกว่า เช่น พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร สามารถผลิตโปรตีนจากแมลงได้ 150 ตันต่อปี และจิ้งหรีดยังปล่อยแก๊สมีเทน ซึ่งเป็นแก๊สที่มีผลกระทบต่อชั้นบร
“จิ้งหรีด” เป็นแมลงที่หลายคนคุ้นชื่อรู้จักดี ส่วน “จิ้งโกร่ง” เป็นแมลงประเภทไหน ฟังชื่อแล้วไม่ค่อยคุ้น แต่ทำไมจึงมีชื่อคล้ายกัน? จิ้งโกร่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Brachytrupes portentosus เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ มีลักษณะคล้ายกับจิ้งหรีด และชื่อพื้นเมืองของญาติจิ้งหรีดนี้มีแตกต่างกัน ได้แก่ อ้ายโกร่ง หัวตะกั่ว จี้กุ่ง ขี้กุ่ง จี่นายโม้ ขี้หนาย จี่ป่ม และ จี่โป่ง จิ้งโกร่ง รูปร่างคล้ายกับจิ้งหรีดแต่ค่อนข้างอ้วน มีลำตัวยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร มีสีน้ำตาล หนวดยาวแบบเส้นด้าย หัวกลมและใหญ่ ปากแบบกัดกิน ปีกมีลายเส้นเล็กน้อย ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ขอบปีกคู่หน้าสีกัน มีอวัยวะฟังเสียงอยู่ที่บริเวณขาหน้า ในทางโภชนาการชี้ว่า จิ้งโกร่งเป็นแหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับจิ้งหรีด เมนูจิ้งโกร่งคั่วใบมะกรูด หลายคนบอกเอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม ในปัจจุบันผู้คนนิยมบริโภคแมลงมากขึ้น เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าบางประเภทไม่เป็นอันตราย แถมยังให้ประโยชน์และคุณค่ามากกว่าเนื้อสัตว์เสียด้วยซ้ำ และจิ้งโกร่งก็เป็นแมลงอีกชนิดที่นิยมนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ รับประทานกัน ที่จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านตำบลพร
แมลงทอดขายดี ตัวอ่อนเงาะจักจั่น ราคาพุ่งโลละ 4 พันบาท รถด่วนถูกกว่าแค่ 2.5พันบาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่กาดทุ่งเกวียน ตลาดศูนย์รวมของฝากของที่ระลึกชื่อดังของภาคเหนือ ตั้งอยู่ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง – เชียงใหม่ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีประชาชนให้ความสนใจเลือกซื้อแมลงทอดกันอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่หนอนไม้ไผ่ หรือที่เรียกว่า หนอนรถด่วน รุ่นใหม่ เริ่มเป็นตัว และออกมาแล้ว จึงมีการนำมาทอดกรอบๆ และจำหน่ายกันอย่างคึกคัก นางกาญจนาภา ลือแปง อายุ 60 ปี เจ้าของร้านภายในกาดทุ่งเกวียน กล่าวว่าจำหน่ายแมลงทอดมานานกว่า 20 ปี แล้ว มีทั้งจิ้งกุ่ง จิ้งหรีด ตัวไหม ตั๊กแตน แมงดา เป็นต้น ที่ผ่านมามีประชาชน และนักท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบรับประทานแมลงทอด มาเลือกซื้อกลับบ้านไป ทั้งไปกินเล่น หรือซื้อไปเป็นของฝาก โดยที่ร้านมีการนำแมลงหลากหลายชนิดมาวางให้ดู และจำหน่าย ทั้งชนิดทอด และอบ “ที่คึกคัก และได้รับความสนใจจากผู้ซื้อในช่วงนี้ คือ หนอนไม้ไผ่ หรือหนอนรถด่วน จะขายดีที่สุด เพราะรสชาติมัน เค็ม อร่อย กินแล้วเพลินๆ ขณะนี้วางจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 2,500 บาท
นายพิศาล พงศาพิชณ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า แนวโน้วการส่งออกจิ้งหรีดไปสหภาพยุโรป หรืออียู (อียู) กำลังสดใส มีผู้นำเข้าจิ้งหรีดจากไทย ทั้งในรูปจิ้งหรีดแช่แข็ง ต้มบรรจุกระป๋อง และจิ้งหรีดอบและบดเป็นโปรตีนผงเพื่อใช้เป็นส่วนผสมอาหาร เป็นต้น แต่เนื่องจากการบังคับใช้กฎระเบียบว่าด้วยอาหารใหม่หรือโนเวลฟู้ด (Novel Food) ของ อียู ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 ทั้งนี้ กฎระเบียบโนเวลฟู้ด ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสินค้าที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยสินค้าเกษตรและอาหารหลายรายการ รวมทั้งจิ้งหรีดและผลิตภัณฑ์ ต้องดำเนินการยื่นขอขึ้นทะเบียนตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมาย สถานะอาหารใหม่ (Novel Food) พร้อมทั้งจัดทำเอกสารข้อมูลทางวิชาการประกอบการยื่นขอ (Scientific Dossier) โดยสามารถยื่นคำขอในสถานะอาหารที่มีการบริโภคมานาน (Traditional Food) หรือสถานะอาหารใหม่ (Novel Food) เพื่อให้สำนักงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) พิจารณาความปลอดภัยหรือหลักฐานการบริโภคก่อนอนุญาตเปิดตลาดนำเข้าอย่างเป็นทางการ ดังนั้น มกอช. จึงเร่งประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะผู้แทน
นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้สนใจทำการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อการค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากจิ้งหรีดเป็นแมลงที่เลี้ยงง่าย จึงได้มีการพัฒนา ศึกษา คิดค้น ปรับปรุงพันธุ์ และวิธีเลี้ยง เพื่อให้ได้จิ้งหรีดที่เข้มแข็ง โตเร็ว และเพิ่มจำนวนต่อรุ่นของการผลิตให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในพื้นที่ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามจิ้งหรีดอาจมีโอกาสป่วยเป็นโรคได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย อาทิ โรคไม่ติดเชื้อ หรือโรคติดเชื้อที่ระบาดตามธรรมชาติ ระบบสุขอนามัยหรือการสุขาภิบาลที่ไม่ดี การเลี้ยงที่แออัดมากเกินไป ประกอบกับสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน ร้อนเกินไป หนาวจัด น้ำท่วม ทำให้จิ้งหรีดเกิดความเครียด อ่อนแอ ป่วยและล้มตาย เมื่อมีการตายอย่างผิดปกติ ผู้เลี้ยงมักจจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในการแก้ปัญหาเป็นอันดับแรก บางรายอาจคิดว่าสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเป็นตัวกระตุ้นให้จิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้ ที่ผ่านมาพบว่ามีการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ หรือยาบำรุงกำลัง ละลายน้ำหรือผสมอาหารให้จิ้งหรีดกินเพื่อเป็นกา
“แต่ก่อนเคยทำไร่ข้าวโพด 20 ไร่ ต้องใช้ยาและปุ๋ยเคมีมาก อีกทั้งแรงงานหายาก เมื่อขายผลผลิตแล้ว หักลบต้นทุนกำไรไม่คุ้มค่า จึงน้อมนำเอาศาสตร์พระราชา ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ทำการเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 2 ไร่กว่า สามารถส่งลูกเรียนจนจบปริญญา 2 คน” เป็นคำกล่าวที่ภาคภูมิใจของ คุณบุญหย่วน ดีคำวงศ์ เกษตรกรวัย 60 ปี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เมื่อปี 2535 ได้เริ่มนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในพื้นที่ 2 ไร่กว่า บริเวณบ้านของตนเอง โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล เลี้ยงไก่ จิ้งหรีด และกบ ใช้แรงงานภายในครอบครัว ไม่ต้องจ้างแรงงาน ทุกอย่างที่ปลูกและเลี้ยงได้นำมาประกอบอาหารในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็จำหน่ายเป็นรายได้ ปัจจุบันทุกวันจะมีรายได้จากพืชผัก 300 บาท ในรอบเดือนมีรายได้จากการจำหน่ายจิ้งหรีด 4,000-6,000 บาท และในรอบปีจะจำหน่ายลูกกบได้กว่า 50,000 บาท พร้อมกับจำหน่ายผลไม้ในสวนอีกประมาณ 20,000 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ เรื่องปุ๋ยและยาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพราะทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพใช้เอง รวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด