จ่ายเงินประกันรายได้
พี่น้องสวนยางฟังทางนี้ ธ.ก.ส. เปิดหลักเกณฑ์ จ่ายเงินประกันรายได้ฯ ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่แน่นอนจากการประกันรายได้ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำ อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสร้างความมั่นคงในอาชีพ เป้าหมายเกษตรกร 1.83 ล้านราย พื้นที่สวนยางกว่า 18.28 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณ 9,717 ล้านบาท โดยประกันรายได้ตามการผลิตแต่ละประเภท ได้แก่ ยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดี ประกันราคา 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) ประกันราคา 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ประกันราคา 23 บาท/กิโลกรัม กำหนดระยะเวลาประกันรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564) โดยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 ธ.ก.ส. ได้เริ่มโอ
ธ.ก.ส. จ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบ 2 แล้ววันนี้ กว่า 6 แสนราย วงเงิน 5,684 ล้านบาท ส่วนที่เหลือรอ ครม. อนุมัติงบฯ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามเป้าหมายในเร็วๆ นี้ นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 เบื้องต้นจำนวน 18,096.06 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินชดเชยส่วนต่างฯ ให้แก่เกษตรกรในงวดที่ 1 ไปแล้วจำนวน 786,219 ครัวเรือน เป็นเงิน 9,128.48 ล้านบาท ส่วนการจ่ายเงินในงวดที่ 2 ซึ่งเดิมกำหนดจ่ายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกแต่ละชนิดในปีนี้ลดต่ำกว่าปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ส่งผลให้เงินชดเชยส่วนต่างฯ ที่ ครม. อนุมัติไว้ไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างฯ ให้แก่เกษตรกรในงวดที่ 2 ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ธ.ก.ส. ได้มีการหารือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ อย่างใกล้ชิด ซึ่งในการประชุมคณะอนุก