จ่ายเงินสมทบ
จ่อขยายเพดานจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม ถึง 2 หมื่นบาท ขยับเกษียณอายุจากเดิม เป็น 65 ปี ตอบโจทย์สังคมสูงอายุ? เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เข้าหารือร่วมกับบริษัทการลงทุน AllianceBernstien Asset Management (Korea) Ltd. เพื่อนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนกลับเข้าสู่กองทุน นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบัน สปส. ได้นำเงิน กองทุนประกันสังคม ไปลงทุนใน 8 กองทุนที่มีความมั่นคงสูง โดยบริษัท AB เป็นบริษัทจัดการบริหารกองทุนของเกาหลี โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทางประกันสังคมได้ลงทุนผ่านบริษัทเอเยนซีในประเทศสิงคโปร์ด้วยเงินลงทุนราว 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการลงทุนปีที่ผ่านมามีผลประกอบการอยู่ที่ร้อยละ 4.79 ในเป้าหมายการลงทุนร้อยละ 4 ดังนั้น ก็ถือเป็นตัวเลขที่น่าพึ่งพอใจ แต่การที่จะบริหารกองทุนประกันสังคมให้มีความยั่งยืนและหลุดออกจากการคาดการณ์ของไอแอลโอ
ม.40 ใครจ่ายเงินสมทบเกิน ไม่ต้องกังวล ประกันสังคม แนะวิธี ขอรับเงินคืนได้ วันที่ 10 พ.ค. 2565 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ ต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือน กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก คือ 1. ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน 2. ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน 3. ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่ายในอัตรา 300 บาท/เด
ไขข้อข้องใจ ว่างงานแบบไหน ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ไขข้อสงสัย เรื่อง ว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19 1. นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดกักตัว 14 วัน เพราะมีความเสี่ยง สำนักงานประกันสังคมช่วยเหลืออะไรบ้าง (ลูกจ้างไม่ได้ป่วยแต่โดนกักตัวเพราะมีความเสี่ยง และนายจ้างให้หยุดงาน) คำตอบ นายจ้างไม่ให้ทำงาน ให้กักตัว 14 วัน เพราะมีเหตุสงสัยหรือควรสงสัยว่าลูกจ้างอาจเป็นโรคโควิด-19 และไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตามที่นายจ้างรับรองการหยุดงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมีคำสั่งให้กักตัว แต่ไม่เกิน 90 วัน (อยู่ระหว่างแก้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ม.79/1) ทั้งนี้ แนะนำให้นายจ้างและลูกจ้างลงทะเบียนผ่าน e-form กรณีว่างงานทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ได้ดังนี้ – (สำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน) แบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (e-form for unemployment benefit) กรณีหยุดงานเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างสั่งปิดกิจการชั่วคราว หรือท่านหยุดเนื่องจากต้องกักตัว