ชาวสวน
สบายใจ ไม่รวย แต่พอกิน! คนรุ่นใหม่ทำเกษตร ปลูกผักสลัดบนดอย มีรายได้หลักหมื่น แถมได้ดูแลพ่อแม่ “ถามว่ามีความสุขไหม ทำเกษตรแรกๆ คือร้องไห้เลย มือแตก มือลอก รู้สึกว่า “กูปิ๊กมาอะหยังวะ” ท้อมาก แม่ก็ไล่กลับไปอยู่เวียง (เชียงใหม่) แต่เรารู้สึกว่าไม่สนุก เลยกลับมาสู้ต่อ เพราะทำเกษตรสบายใจกว่า ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองพอ ขยันมากก็ได้มาก และได้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ด้วย” คำบอกเล่าจาก คุณกระแต-วนิดา สุขกำแหง สาววัย 27 ปี เธอเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนลำไย จึงซึมซับวิถีเกษตรมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งเมื่อได้ลองทำงานประจำ แต่ไม่ตรงใจ การกลับมาทำเกษตร อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ จึงเป็นความตั้งใจจริง นำมาสู่การสร้างรายได้ต่อเดือนที่มั่นคงจากผักสลัด ที่เริ่มจากปลูกเล็กๆ ในสวนลำไย สู่การเช่าพื้นที่บนดอยเพิ่มผลผลิต งานประจำไม่ใช่ทาง คุณกระแต เล่าให้ฟังว่า เธอไม่มีทุนเรียนต่อปริญญาตรี หลังจบ ปวส. ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จึงหยุดเรียนเพื่อหาทุนศึกษาต่อ โดยเลือกทำงานประจำ เป็นบาริสต้า เปิดร้านกาแฟ และเป็นบาร์เทนเดอร์ ใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือนนาน 2 ปี
บัณฑิตป้ายแดง ไม่ทิ้งอาชีพครอบครัว ต่อยอด ขายทุเรียนออนไลน์ คว้ารายได้กว่า 6 ล้านบาท ใน 5 เดือนแรก หลายปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จำนวนมาก เลือกเดินออกจากอาชีพเกษตรกรรม เพราะบางคนมองเป็นงานหนัก บางคนมองว่าไม่เท่ รวมถึงเป็นงานยากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับ คุณนิ้ง-สิริยากร ธรรมจิตร์ บัณฑิตป้ายแดง เธอเลือกกลับมาสานต่อธุรกิจสวนทุเรียนของครอบครัว ด้วยการสร้างแบรนด์ลูกสาวกำนัน คุณนิ้ง เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมเธอเป็นเด็กที่ชื่นชอบงานด้านวิชาการ จุดเปลี่ยนสำคัญคือ ช่วง ม.6 คุณพ่อของเธอไปเห็นทุนการศึกษา ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เพื่อเข้าศึกษาต่อคณะเกษตรนวัตและการจัดการ (IAM) คณะที่ช่วยให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ที่สร้างรายได้สูง “ตอนแรกเคยตั้งคำถามว่า ถ้าเรียนด้านเกษตรกรรมเฉยๆ จะไหวหรือไม่ แต่ที่บ้านบอกเราชัดเจนว่า ไม่ได้อยากให้เรากลับมาเพื่อทำสวน แต่อยากให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม คณะก็ให้เราเรียนรู้ด้านเกษตรควบคู่กับธุรกิจ ไม่ใช่เรียนแค่ทฤษฎี แต่ให้เราได้เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริงๆ ตลอด 4 ปี ทั้งการฝึกงานที่สวนทุเรียนในจังห
ล้มเหลวมาไม่รู้กี่ธุรกิจ สู้ใหม่ด้วย “ส้ม” ผลไม้ทำเงิน ปีละหลายล้าน จากธุรกิจบ่อกุ้ง ที่ขาดทุนย่อยยับ และร้านติดแอร์ ล้างแอร์ที่โดนดีลเลอร์ใหญ่ตัดราคา จนรายได้หดหาย นั่นไม่ทำให้ คุณพีราดา แพทย์ผล อายุ 45 ปี หรือ เจ๊เจี๊ยบ รู้สึกท้อ กลับกัน เธอมองว่าเป็นบทเรียนชีวิต และประสบการณ์การทำธุรกิจ ทำให้ลุกขึ้นสู้ใหม่ ทุกวันนี้กลายเป็นเจ้าของร้านส้ม มีรายได้แบบยังไม่หักค่าใช้จ่ายหลัก 10 ล้านต่อปี อะไรคือเคล็ดลับการขาย ที่มัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด มาไขคำตอบกัน “เจ๊ง” มาไม่รู้กี่ธุรกิจ เริ่มต้นใหม่ด้วย “ส้ม” เจ๊เจี๊ยบ เป็นคนจังหวัดเพชรบุรี ขยันทำธุรกิจมาแล้วหลายอย่าง แต่ไม่ประสบความสำเร็จสักอย่าง “ทำบ่อกุ้ง ช่วงแรกก็รายได้ดี พอเจอวิกฤตราคากุ้งตกก็ขาดทุนย่อยยับ ส่วนร้านรับติดแอร์ ล้างแอร์ พอจะเริ่มตั้งตัวได้ มาเจอพวกดีลเลอร์ใหญ่ขายตัดราคาทำให้รายได้หดหาย เลี้ยงลูกน้องไม่พอ เลยสู้ใหม่ด้วย ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ แถวรังสิต” เจ๊เจี๊ยบ เล่าให้ฟัง กระทั่งถึงจุดเปลี่ยน คนบ้านเดียวกันแนะนำให้ลองขายส้ม เพราะเป็นผลไม้ที่ขายได้ตลอด ไม่ว่าจะวันปีใหม่ ตรุษจีน สารทจี
เปรี้ยว หอมโดนใจ มะนาวแป้นบ้านแพ้ว มีเท่าไหร่ขายหมด ขายได้สูงสุดวันละ 20 ตัน โกยเหนาะๆ 6 ล้านต่อเดือน เพราะเติบโตมาในครอบครัวชาวสวนที่ปลูกมะนาวแป้นในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้ คุณเทวี จิวสุวรรณ หรือ เจ๊วี วัย 59 ปี ชำนาญเรื่องการปลูกมะนาวแป้นเข้าไปถึงระดับ DNA เมื่อต้องรับช่วงต่อ เจ๊วีก็ได้ลองมาเปิดแผงขายมะนาวแป้นที่ตลาดขายส่งชื่อดัง จนขายดิบขายดีถึงขนาดมองหาลูกสวนที่ปลูกมะนาวแป้นเหมือนกัน เพื่อให้ผลผลิตมีจำหน่ายเพียงพอ โดยสามารถขายได้สูงสุดวันละ 20 ตัน มะนาวแป้นบ้านแพ้ว คุณภาพเยี่ยม เจ๊วี เล่าว่า หลังได้มาเปิดแผงขายมะนาวแป้นที่ตลาดสี่มุมเมือง ลูกค้าให้การตอบรับดีมาก เพราะต่างติดใจในผลผลิต เปลือกบาง ให้น้ำเยอะ เปรี้ยว และมีกลิ่นหอม จึงทำให้ความต้องการมะนาวมีมากขึ้น และมะนาวที่ปลูกเองก็เริ่มไม่พอขาย “เจ๊เริ่มมองหาลูกสวนอื่นๆ ที่ปลูกมะนาวแป้นและอยู่บ้านแพ้วเหมือนกันมาเสริม เพื่อให้จำนวนมะนาวมากพอต่อความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี แล้วเจ๊ก็ผันตัวเองมาเป็นคนกลางรับซื้อมะนาวแป้นด้วย นอกจากกระจายรายได้ให้สวนเล็กสวนน้อยที่ไม่สามารถหาตลาดเพื่อขายผลผลิตของตัวเองได้ ยังไ
ถุงห่อทุเรียน ตัวช่วยชั้นดีของชาวสวน เพิ่มคุณภาพผลผลิต ยกระดับสู่ตลาดพรีเมี่ยม ทุเรียน คือ ราชาผลไม้ ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากยางพารา ปัจจุบันชาวสวนยังพบปัญหาการเข้าทำลายผลไม้ของโรคและแมลงในระยะพัฒนาผล (60-90 วัน) ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการพัฒนานวัตกรรม Magik Growth ถุงห่อทุเรียน เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช และเพิ่มคุณภาพปริมาณผลผลิตของเกษตรกร ดร.ณัฐภพ สุวรรณเมฆ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวบนเวทีเสวนาในหัวข้อ ทุเรียน ราชาผลไม้ ปลูกยังไงให้ปัง ว่า เกษตรกรส่วนใหญ่พยายามแก้ปัญหาโดยฉีดพ่นสารเคมียาฆ่าแมลง ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา สวทช. ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้นำองค์ความรู้เรื่องวัสดุศาสตร์โดยพัฒนาสูตรผสมเม็ดพลาสติก (polymer compound) ร่วมกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปนอนวูฟเวน นำมาผลิตนวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวน ในชื่อการค้าว่า Magik Growth โดยทดสอบถุงห่อผลไม้ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนาม เพื่อจัดเก็บข้อมูลผลวิจัยอย่างเป็นระบบ ร่วมกับ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเ
เกษตรกรสาวเจนวาย ใช้ทักษะภาษาจีน ช่วยเกษตรกรส่งผลไม้ไทยสู่ตลาดอินเตอร์ การทำสวน ไม่ได้เป็นอะไรที่แปลกใหม่ เพราะอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน หลายคนเห็นปู่ย่าตายายยึดอาชีพเป็นเกษตรกรทำสวนกันมาตั้งแต่ยังเล็ก แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เราเห็นในปัจจุบันมักเป็นคนเฒ่าคนแก่ ส่วนลูกหลานนั้นเมื่อเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ต่างทิ้งที่ทางกันไปหมด ไม่กลับมาต่อยอดอาชีพดั้งเดิม แต่ถึงอย่างนั้นยังมีหนุ่มสาวเจนวายอีกส่วน ที่ไม่คิดทิ้งงานอาชีพเกษตรกรรม เมื่อเรียนจบมุ่งหน้ากลับบ้านเกิดเพื่อสานต่ออาชีพดั้งเดิมที่พ่อแม่สร้างไว้อย่างภูมิใจ เช่น คุณน้ำ-พลอยณิศา เรืองชัยโชค ทายาทสาวชาวสวนจังหวัดจันทบุรี วัย 26 ปี ดีกรีไม่ธรรมดา เธอเป็นลูกสาวคนโตของ คุณณัฐวัฒน์ เรืองชัยโชค นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี หลังจบการศึกษาคุณน้ำยึดอาชีพตามที่ได้ร่ำเรียนมาเป็นครูสอนภาษาจีนให้กับเด็กนักเรียนชั้น อนุบาล 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดทองทั่ว วัดเนินสูง และวัดดอนตาล ในจังหวัดบ้า
“โควิด” ทำคนซื้อหายเกลี้ยง ”เตาตาล” เสี่ยงล่มสลาย ชวนอุดหนุน “ยิ้มทั้งน้ำตาล” สถานการณ์โรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” สร้างแรงสั่นสะเทือน จนเกิดความเสียหายตามกันแทบทุกหย่อมหญ้า อย่างล่าสุด มีเรื่องราวน่าตกใจ เมื่อมีผู้ออกมาเปิดเผยว่า ชาวสวนตาล คนเคี่ยวน้ำตาล หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า อาชีพ “เตาตาล” ผู้สืบสานภูมิปัญญาตกทอดมาจากบรรพบุรุษนับร้อยปีของไทยนั้น กำลังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง “ล่มสลาย” โดยเพจ เดอะมนต์รักแม่กลอง สมุทรสงคราม ออกมาโพสต์ เรื่องราว เล่าว่า “ในท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 คนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดไม่แพ้ใครก็คือ ชาวสวนตาล เตาตาล คนทำน้ำตาลมะพร้าว ชาวสวนเตาตาลเป็นคนขยันสุดๆ ด้วยความจำเป็น ไม่ขยันไม่ได้เพราะเมื่อเริ่มปาดหน้างวงมะพร้าวเพื่อเอาน้ำตาลแล้ว น้ำหวานบริสุทธิ์จากงวงตาลจะไหลออกมาทุกวันเหมือนน้ำนมที่ไหลจากอกแม่ เมื่อน้ำตาลออกทุกวัน ก็ต้องเอามาเคี่ยวทำน้ำตาลทุกวัน ไม่มีพักเบรก ไม่มีวันหยุด ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ทำตาล เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจหยุดชะงัก การรับซื้อน้ำตาลหดหาย วิบากกรรมของความขยัน คือ น้ำตาลมะพร้าวที่ผลิตออกมาทุกวันๆ จึงขายไม่ออก ตกค้างเป็นภาระอยู่
แม็คโคร รับซื้อผลไม้ชาวสวนเพิ่มอีก 40% ช่วยระบายผลผลิต พร้อมจุดพลุ “เทศกาลผลไม้ฤดูกาล” ทุกสาขา กระตุ้นไทยช่วยไทย ร่วมใจสู้ภัยโควิด–19 บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม MOU กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ รับซื้อผลไม้ฤดูกาลจากเกษตรกรในปี 2563 เพิ่มจากปีก่อน 40% หวังช่วยชาวสวนบรรเทาผลผลิตล้นตลาดจากสถานการณ์โควิด–19 พร้อมจัด “เทศกาลผลไม้ฤดูกาล ภาคตะวันออก” ขนทัพ ทุเรียน เงาะ มังคุด สละ อัดแคมเปญใหญ่ เน้นไทยช่วยไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เนื่องด้วยมีการคาดการณ์ว่า ปี 2563 ผลไม้ฤดูกาลจะมีผลผลิตจำนวนมาก และส่วนใหญ่กระจุกตัวภายในประเทศ ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้การส่งออกลดลง แม็คโคร ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าส่งที่สนับสนุนผลผลิตเกษตรกรไทยมาโดยตลอด จึงได้วางแผนการรับซื้อเพิ่มขึ้น และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการรับซื้อผลไม้จากชาวสวนกับสองกระทรวงหลักอย่าง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมจัด “เทศกาลผลไม้ฤดูกาล ภา
พืชผลราคาตก ! ถึงยุคเกษตรกรต้องปรับตัว ขายออนไลน์ อย่ามัวแต่รอรัฐ หลังจากมีการนำเสนอข่าว เกษตรกรพังงาร่ำไห้ นายทุนกดราคามังคุด ต่ำสุดในรอบ 30 ปี จำต้องเททิ้ง ไร้รัฐเหลียวแล ไปเมื่อวานก่อน ก็ได้รับความสนใจและมีการเข้ามาแสดงความคิดเห็นมากมายจากชาวโซเชียล “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ได้สอบถามความเห็นของประชาชน ในฐานะผู้บริโภคมีความเห็นต่อข่าวนี้อย่างไร คุณธนาเศรษฐ์ ชัยวัฒน์โกศล พ่อค้าวัย 45 ปี ให้สัมภาษณ์ว่า ในฐานะคนทำมาค้าขาย มองว่า ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ก็ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อเอาตัวให้รอด จนถึงปัจจุบัน มีการออนไลน์ควบคู่กับหน้าร้านไปด้วย ในส่วนของสินค้าเกษตร ตนมองว่า เกษตรกรน่าจะเข้าไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง ถ้าหากช่วยไม่ได้ก็ขอสถานที่ของอำเภอในการขายผลิตผล เอาเต็นท์มาลง แล้วนำของที่ปลูก ทำป้ายอิงค์เจ็ตติดประกาศว่า ของเกษตรกรโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ตนมองว่าน่าจะขายดี เพราะคนไทยเห็นแบบนี้แล้ว ก็มีแต่คนอยากช่วย เพราะเป็นตนก็จะช่วยซื้อไปทานเองและซื้อแจกเช่นกัน คุณธนรรณพ ทองนวล อายุ 35 ปี ที่ปรึกษาการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ให้สัมภาษณ์ว่า จริงๆ เกษตรกรมีห
“ซินเจนทา” จัดทำโครงการรักษ์ผึ้ง สร้างความรู้ระหว่างเกษตรกรชาวสวนและผู้เลี้ยงผึ้ง พร้อมสนับสนุนงานประชุม International Conference on Biodiversity 2019 งานประชุมวิชาการนานาชาติและนิทรรศการทางวิชาการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (International Conference on Biodiversity) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤษภาคม 2562 ณ เซนทาราแกรนด์ บางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอผลงานและเทคโนโลยีด้านความหลากหลายทางชีวภาพ นำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนจาก บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย ผู้นำนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรและอาหาร นางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ หมอพืชและผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนธุรกิจ ประเทศไทย ซินเจนทา เปิดเผยว่า “วิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิศาสตร์เขตร้อน กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลก เนื่องด้วยเป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่ปัจจุบันเกิดการสูญเสีย จากปัจจัยต่างๆมากขึ้น เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของชุมชน การใช้ปัจจัยทางการเกษตร โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก