ช่องทางขายของออนไลน์
เปิดขั้นตอนการทำ Dropship! ธุรกิจสร้างรายได้โดยที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้า ใครๆ ก็ทำได้ Dropship (ดร็อปชิป) เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจด้าน E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) หรือการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คือการเป็นตัวแทนจำหน่ายแบบไม่ต้องสต๊อกสินค้า รวมถึงไม่ต้องแพ็กสินค้า และไม่ต้องส่งของเอง เพียงเราสมัครเป็นตัวแทน Dropship นำข้อมูลสินค้ามาโพสต์ขายลงแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ที่เราสร้างไว้เช่น Facebook Marketplace, Shopee, Lazada, TikTok Shop และบวกกำไรเพิ่ม หากลูกค้าสั่งออร์เดอร์เข้ามาตัวแทนก็ติดต่อไปให้ทางคนขายหรือโรงงานเป็นผู้จัดส่งของให้เรา ปัจจุบัน มีธุรกิจขายส่งที่เริ่มให้บริการ Dropship มากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีเว็บไซต์จำนวนมากที่เปิดให้บริการ ร้านค้า Online อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจแบบ Drop Shipping เช่น Shopify ที่เป็น Platform ร้านค้า Online ชื่อดัง ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศ Canada หรือ LnwShop (เทพช็อป) เว็บไซต์บริการร้านค้าออนไลน์ สัญชาติไทย ที่มีฟังก์ชันให้ผู้ใช้งานสามารถตกแต่งหน้าร้านได้ตามใจ ใน Template ที่ใช้งานง่าย โดยที่ทาง Dropship จะให้เรานำข้อมูลต่างๆ เช่น รายละเอียดสินค้า รูปภาพตัวอย
ผู้ประกอบการรู้ไว้ 5 ช่องทางขายของออนไลน์ หากเลือกใช้เป็น ยอดขายปังแน่ ปัจจุบัน เทคนิคการใช้คอนเทนต์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดออนไลน์ ถือเป็นสิ่งที่ทรงพลังและมักใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถตอบโจทย์ ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และอาจนำไปสู่การขายได้ด้วย แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย อย่าง Twitter, Facebook, Instagram, Youtube และ Search Engine ถือเป็นช่องทางการขายของออนไลน์ ที่ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลและสามารถนำไปปรับใช้กับการขายได้ โดย เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ ได้เผยแพร่ Trend Content Marketing บนแพลตฟอร์มทั้ง 5 ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ ไว้ดังนี้ Twitter จะกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ในปี 2020 ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Twitter (ทวิตเตอร์) ทั้งหมด 6,545,000 บัญชี มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก จึงเหมาะที่จะใช้เป็นแพลตฟอร์มในการกระจายข่าวสารสำคัญแบบอิงกระแส ทั้งระดับโลกและประเทศ ทั้งการเงิน กีฬา ภาพยนตร์ เกม ฯลฯ ซึ่งการใช้งานที่เหมาะสมของทวิตเตอร์คือ การทวีต (โพสต์) ข้อความความยาวไม่เกิน 280 คำ แต่การเขียนข้อความที่ความยาวเท่าเดิมคือ 140 ค