ช้อปปิ้ง
TikTok เผย คนไทยช้อปปิ้งเก่ง 77% สั่งของออนไลน์ทุกสัปดาห์ พบยอดขายตั้งแต่ต้นปีจนถึงแคมเปญ 8.8 เพิ่มขึ้น 500% เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2567 คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing – TikTok Thailand กล่าวว่า “จากการสำรวจของ TikTok พบว่า พฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ The Bargain Hunters นักช้อปผู้ล่าสินค้าราคาถูก, The Inspirational Shoppers นักช้อปผู้สร้างแรงบันดาลใจ, The Effortless Shoppers นักช้อปที่เน้นความสะดวก และ The Purposeful Shoppers นักช้อปที่มีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งหากแบรนด์วางแผนอย่างเข้าใจและเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก็จะสามารถวางกลยุทธ์และใช้เครื่องมือต่างๆ ของ TikTok เจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ข้อมูลจาก Kantar เผยว่า นักช้อปไทยถึง 77% ช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประจำทุกสัปดาห์ ขณะที่ “คอนเทนต์” คือกุญแจสำคัญ ในการขับเคลื่อนความสำเร็จของการทำตลาด Social Commerce ในภาคธุรกิจ ซึ่งการทำคอนเทนต์ช่วง Mega Sales ควรให้ความสำคัญทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ โดยคุณภาพของคอนเทนต์จะช่วยเพิ่มยอดคลิก ยอด Engage จากผู
ช้อปปิ้งยุคใหม่ เลิกเห่อของถูก! ช้อปแบบมีสติ ยอมจ่ายเพิ่ม เพื่อเน้นความคุ้มค่า ตอบโจทย์การใช้งานระยะยาว ในยุคปัจจุบัน เวลาที่จะใช้จ่ายซื้อของ สิ่งที่ชาวอเมริกันต้องการมากที่สุดคือ ความคุ้มค่า ซึ่งคำว่า “คุ้มค่า” ในที่นี้ ไม่ได้แปลว่าแค่ “ราคาถูก” เสมอไป โดยสินค้าและบริการนั้น มีราคาที่พุ่งสูงขึ้นมาสักพักแล้ว เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และในขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ทำให้ผู้ซื้อเสียเงินมากขึ้นในการกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต เพื่อซื้อของหรือชำระค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น บิลรายเดือน เป็นต้น แม้ว่าผู้บริโภคจะเผชิญกับแรงกดดันเหล่านี้ พวกเขาก็ยังคงต้องจับจ่ายใช้สอย และมองหาโปรโมชัน ทำให้ Walmart (วอลมาร์ต) ที่เป็นบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ และหลายประเทศทั่วโลก มีการจัดโปรโมชันสินค้าลดราคาเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก ทำให้ลูกค้าแห่กันไปซื้อเพื่อคว้าดีลสุดคุ้มกับสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แชมพู ยาสีฟัน กระดาษชำระ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 3.8% ในไตรมาสนี้ ควบคู่ไปนั้น ผู้คนยังมองหาดีลในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสวนทางกับที่คิดไว้ ร้านค้าหลา
หยุดช้อปปิ้งไม่ได้ สัญญาณของ “โรคเสพติดการช้อปปิ้ง” พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป การช้อปปิ้งในออนไลน์หรือออฟไลน์ ถือเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของใครหลายคน แต่ถ้าช้อปจนหยุดตัวเองไม่ได้ ซื้อของมากเกินความจำเป็น จนเกิดปัญหาหนี้สิน เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเข้าข่ายเป็น Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้งโดยไม่รู้ตัว แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า Shopaholic หรือ โรคเสพติดการช้อปปิ้ง เป็นโรคทางสุขภาพจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะเสพติดการซื้อของโดยที่ไม่คำนึงถึงสถานะทางการเงินของตัวเอง และมีความอยากจะไปช้อปปิ้งอยู่ตลอดเวลา โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จนทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาความสัมพันธ์จนต้องทะเลาะกับคนในครอบครัว บางครั้งซื้อมาแล้วต้องโกหกคนในครอบครัวว่ามีคนให้มา หรือบอกราคาที่ถูกกว่าราคาจริงที่ซื้อ ซึ่งโรคนี้พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย 9 พฤติกรรมที่เข้าข่ายการเป็น Shopaholic อยากซื้อของตลอดเวลา ซื้อของเกินความจำเป็น ยับยั้งพฤติ
คลายล็อกครั้งนี้ ช็อปปิ้งอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด หลังจากห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ช็อปปิ้งต่างๆ กลับมาเปิดให้บริการ หลายคนๆ คงอดไม่ได้ที่จะออกมาจับจ่ายซื้อของ โดยเฉพาะสาวๆ แต่การออกมาช็อปปิ้งท่ามกลางสถานการณ์ที่โควิดยังแพร่ระบาดนั้น คงต้องระวังตัวเองเป็นพิเศษหน่อย โดยเพจ กรมอนามัย ได้แนะนำวิธีการ ช็อปปิ้งอย่างไร ให้ปลอดภัยที่สุด ดังนี้ 1. วางแผนช็อปปิ้งให้ดี โดยเช็กลิสต์ของที่ต้องการซื้อ เพื่อใช้เวลาให้น้อยที่สุด 2. สวมใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น 3. เว้นระยะห่างในการเลือกซื้อสินค้าจากผู้อื่น 1-2 เมตร 4. หลีกเลี่ยงร้านค้าแออัด หรือรอจังหวะในช่วงที่คนไม่หนาแน่น 5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก และหน้ากาก 6. ล้างมือให้บ่อย หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่มีการสัมผัส 7. พกถุงหิ้ว กล่องใส่อาหาร ขวดน้ำ และแก้วของตัวเอง 8. เมื่อกลับถึงบ้านให้อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที ที่มา เพจกรมอนามัย
มาร์เก็ตบัซซ เผยนักช็อปไทย 86% พร้อมรับมหกรรมช็อปปิ้ง 11.11 ที่กำลังจะมาถึง จากผลการสำรวจความสนใจของนักช็อปชาวไทยที่มีต่อแคมเปญ 11.11 โดยมาร์เก็ตบัซซพบว่า 86% ของนักช็อปมีแผนการที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ใช่แค่ซื้อสินค้าให้ผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังมีแผนที่จะจับจ่ายเพื่อตัวเองด้วย แคมเปญช็อปปิ้งวันที่ 11 เดือน 11 ถือเป็นมหกรรมช็อปปิ้งสุดยิ่งใหญ่ที่เรียกความสนใจจากกลุ่มนักช็อปชาวไทยได้ในทุกๆ ปี ไม่เพียงแต่จะรู้จักหรือคุ้นเคยกับแคมเปญนี้เป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ยังมีการเตรียมตัวเพื่อเทศกาลนี้อีกด้วย โลกปัจจุบันของการช็อปปิ้งมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป แบรนด์ต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขายอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างโอกาสในการขายและตอบโจทย์นักช็อปให้ได้มากขึ้น การทำอีคอมเมิร์ซในรูปแบบของการกำหนดแคมเปญวันพิเศษ มอบเงื่อนไขพิเศษให้กับนักช็อปในหนึ่งวันนั้น ถือเป็นกลยุทธ์เด็ดที่บรรดาอีคอมเมิร์ซหลายค่ายและแบรนด์ต่างๆ นำกลยุทธ์นี้มาใช้ มาร์เก็ตบัซซได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างของชายและหญิงในประเทศไทย จำนวน 500 กลุ่มตัวอย่างเพื่อสำรวจความสนใจของนักช็อปว่าพวกเขามีแผนการที่จะซื้อสินค้าอะไร และจะเลือ