ฎีกาชาวบ้าน
รถเกิดอุบัติเหตุ สินค้าหล่นกระจัดกระจาย ชวนกันมาขนเอาไป ระวังจะผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ต้องมีใครแจ้งความ ตำรวจจับได้เลย เพราะเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แถมยอมความไม่ได้ด้วย แม้เอาไปคืนความผิดก็ยังอยู่
จากกรณีปัญหาการใช้ทางเท้าเป็นทางมอเตอร์ไซค์ที่เผยแพร่กันมากในโลกออนไลน์ ในทางกฎหมายแล้ว เรื่องนี้มีกฎหมายที่มีโทษปรับอยู่ นั่นคือพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่บัญญัติว่า มาตรา ๑๗ ห้ามมิให้ผู้ใด (๒) จอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ และมีบทกำหนดโทษอยู่ในมาตรา ๕๖ ที่ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ทั้งนี้ ยังกำหนดให้ประชาชนผู้พบเห็นแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หากไม่ดำเนินการ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด(มาตรา ๕๙) นอกจากนี้ ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งครึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจร หรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกครึ่งหนึ่ง(มาตรา ๔๘ วรรคสาม) หมายเหตุ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เรื่องของการค้ำประกันเกิดปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่มาจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จนส่งผลให้ผู้ค้ำประกันต้องเข้าใช้หนี้แทน เรื่องของกฎหมายค้ำประกันมีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๐ ที่ว่า “อันว่าค้ำประกันนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น อนึ่ง สัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” การเข้าค้ำประกันนั้น จะมีทั้งที่เป็นการค้ำประกันโดยบุคคลหลายคน เข้าทำสัญญาค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ และกรณีบุคคลคนเดียวเข้าค้ำประกัน การเข้าค้ำประกันด้วยคนหลายคน ผู้ค้ำประกันจะมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน นั่นหมายความว่า เจ้าหนี้จะบังคับให้ผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งใช้หนี้แทนจนหมดสิ้น หรือให้เฉลี่ยกัน หรือบังคับที่ใคร มากน้อย อย่างไรก็ได้ ดังที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๘๒ วรรคสองว่า “ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้น มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม
การเข้าพักในโรงแรม หากมีกรณีสัมภาระหรือทรัพย์สิน หรือรถยนต์ ของผู้เข้าพัก สูญหายไป กรณีนี้ ทางโรงแรมจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ หรือการที่ ทางโรงแรมมีข้อความจำกัดความรับผิด ประกาศอยู่ภายในห้องพัก ว่าจะรับผิดไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ข้อจำกัดความรับผิดนั้น จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายได้หรือไม่ กรณีดังกล่าว ต้องพิจารณาจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ มาตรา 674 เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ล หรือสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น จะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามา นั่นคือ โดยหลักแล้ว ทางโรงแรมต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ หากเป็นทรัพย์สินมีค่า อาจจะต้องพิจารณาจาก มาตรา 675 วรรค 2 ที่ว่า ความรับผิดนี้ ถ้าเกี่ยวด้วยเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือของมีค่าอื่น ๆ ให้จำกัดไว้เพียงห้าพันบาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง ส่วนกรณีที่ ทางโรงแรม มีข้อจำกัดความรับผิด ปิดเป็นป้ายประกาศไว้ เมื่อดูจาก มาตรา 677 ที่ว่า ถ้ามีคำแจ้งความปิดไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่อื่นท
กรณีที่ ลูกจ้างลักสมุดเช็คจากนายจ้าง แล้วปลอมลายเซ็น นำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคาร ธนาคารก็จ่ายเงินให้ได้ มีคำถามกรณีนี้ ทางธนาคารมีสิทธิ์ไปหักเงินจากบัญชีของนายจ้างหรือไม่ (ใครต้องเป็นฝ่ายรับความเสียหายนี้) จาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๗๒ ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น นั่นหมายความว่า เงินที่ลูกค้า (เคสนี้คือนายจ้าง) นำไปฝากไว้กับธนาคาร ย่อมเป็นเงินของธนาคารแล้ว ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นธนาคารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ (ทางธนาคารจะไปหักเงินจากบัญชีของนายจ้างหรือลูกค้า หาได้ไม่) กรณีปัญหาดังกล่าวมีคำพิพากษาฎีกาที่เคยตัดสินไว้ ดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15447/2555 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา 672 ว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แ
ปัจจุบัน คอนโดมีเนียม อาคารชุด ตึกสูงมีอยู่มากในเมืองใหญ่ และตึกเหล่านี้ บางตึก ใช้กระจกเป็นผนังอาคาร ซึ่งดูเหมือนไม่มีอะไร แต่….อาคารกระจกเหล่านี้กลับสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกับอาคาร เนื่องจาก มีแสงสะท้อนจากอาคารชุดสาดใส่บ้าน นั่นเอง ตัวอย่างเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นจริง เมื่อ ศาลฎีกา มีคำพิพากษา ให้บริษัทเจ้าของโครงการอาคารชุดอยู่อาศัยขนาดใหญ่กลางกรุง ที่ใช้กระจกติดตั้งรอบตัวอาคาร ชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของบ้านใกล้เคียงที่ฟ้องคดี ระบุว่า ต้องเจอปัญหา ๖ เดือน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน ของทุกปี เกิดภาวะตะวันอ้อมข้าว แสงสะท้อนจากอาคารชุดสาดใส่บ้าน เกิดความร้อนจนอยู่ไม่เป็นสุข จนกว่าจะแก้ไขลดแสงสะท้อนให้สิ้นไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๗๒/๒๕๕๗ ในคดีที่ประชาชนผู้มีบ้านอยู่อาศัยใกล้กับโครงการอาคารชุด ที่ระบุว่าได้รับผลกระทบจากโครงการอาคารชุดขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ย่านสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นอาคารที่ติดตั้งกระจกรอบตัวอาคาร แสงสะท้อนจากกระจก ก่อให้เกิดความร้อนจนไม่สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างปกติสุขฟ้องคดี ขอให้แก้ไขความเดือดร้อน และเรียกค่าสินไหมทดแทนจนกว่าจะแ
ฎีกาชาวบ้าน ตอน น้ำท่วมที่จอดรถคอนฯ รถเสียหาย นิติบุคคลต้องรับผิดหรือไม่ จากปัญหา น้ำท่วมที่จอดรถคอนโดมิเนียม แล้วรถยนต์ของเจ้าของร่วมที่จอดอยู่บริเวณที่จอดรถเสียหาย มีปัญหาว่านิติบุคคลต้องรับผิดหรือไม่ กรณีดังกล่าว อาจพิจารณา จากหลักกฎหมาย ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องละเมิด คือ “มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ประกอบกับ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา๓๓ วรรค ๒ ที่บัญญัติว่า “นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการ และดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมติของเจ้าของร่วม ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้” จากเหตุดังกล่าวและข้อกฎหมายข้างต้น น่าพิจารณาว่า ที่จอดรถคอนโดมีเนียม นั้นจัดเป็นทรัพย์ส่วนกลาง ที่นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องดูแล ดังนั้น หากกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นกับรถเจ้าของร่วมที่นำมาจอดไว้ในที่จอดรถส่วนกลาง อาจต้องพิ
การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลธรรมดาทั่วไปกับการกู้เงินจากสถาบันการเงิน มีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ดังจะได้พิจารณาจากข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ สำหรับ อัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น มีบัญญัติอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี การกู้ยืมเงินกันเองนั้นอยู่ภายใต้บังคับ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ที่ว่า มาตรา 3 บุคคลใด (ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ท่านว่า บุคคลนั้น มีความผิดญานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ —————————- มาตรา 654 นั้นเป็นเรื่องของการยืม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่อง ดอกเบี้ยของการยืมใช้สิ้นเปลืองไว้ว่า ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เป็นหลักทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการยืมทรัพย์ที่ใช้สิ้นเปลืองชนิดใด หากกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อไปให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี แต่เมื่อเป็นกรณีการกู้ยืมเงินกัน มีพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้
ปัจจุบัน บริษัทประกัน มีโปรแกรม หรือแผนประกัน การคุ้มครอง กันออกมาค่อนข้างมาก ซึ่งการทำความเข้าใจประกันภัยแต่ละชนิด ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก อย่างประกัน ที่โฆษณาว่า “ไม่ต้องตอบปัญหาสุขภาพ” หรือ “ไม่ถามปัญหาสุขภาพสักคำ” แท้จริงแล้วเป็นประกันประเภทใด และมีความคุ้มครองเพียงใด ต่างจากประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิตอื่นๆ หรือไม่ ติดตามรายละเอียดได้จากคลิป หมายเหตุ : รายการฎีกาชาวบ้าน เป็นรายการกฎหมายใกล้ตัว ออกอากาศ ทาง www.matichon.co.th โดยมี นายโอภาส เพ็งเจริญ คอลัมนิสต์สัพเพเหระคดี หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และนางสาวเสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน เป็นผู้ดำเนินรายการ
ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓ เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากัน เพราะเหตุตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น วรรคสอง สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้ วรรคสาม ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ จากกฎหมายข้างต้น สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทนจากผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่า ทั้งกรณีที่มีการฟ้องหย่ากันตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคแรก หรือแม้มิได้มีการฟ้องหย่ากันตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคสอง รายละเอียด ดังนี้ ๑. ตามมาตรา ๑๕๒๓ วรรคแรก เป็นกรณีฟ้องหย่า “ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น” ๑.๑. ภริยา เรียกค่าทดแทนจากสามี และจากผู้ที่สามี