ตรึงราคา
ข่าวดี! ตรึงราคา ก๊าซหุงต้ม ถัง 15 กก. ไว้ที่ 408 บาท ถึงสิ้นปี วันที่ 20 ตุลาคม 2565 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) กล่าวว่า กบง. มีมติเห็นชอบทบทวนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) โดยให้คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นแอลพีจีที่ 19.9833 บาทต่อกิโลกรัม (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อให้ราคาขายปลีกแอลพีจีอยู่ที่ประมาณ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.-31 ธ.ค. เพื่อช่วยลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน กระทรวงพลังงาน ได้ติดตามสถานการณ์ราคาแอลพีจี เพื่อพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบกับผู้ใช้ก๊าซ ปัจจุบันยังผันผวน เห็นได้จากเดือน ก.ย.-ต.ค. ราคาแอลพีจีตลาดโลกลดลง 11% หรือประมาณ 69.40 เหรียญสหรัฐต่อตัน จาก 644.65 เหรียญสหรัฐต่อตัน สู่ระดับ 575.25 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง ยูเครน-รัสเซีย ส่งผลให้เกิดวิกฤตราคาพลังงานทั่วโลก ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ภาพรวมเศรษฐกิจ และค่าครองชีพของประชาชน ราคาขายปลีกแอลพีจีในประเทศอยู่ที่ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ส่งผลต่อส
กรมการค้าภายใน ย้ำมุ่งแก้ปัญหาสุกรให้เกิดประโยชน์ทั้งเกษตรกร-ผู้บริโภค เมื่อวันที่ 18 ก.ย. นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า จากที่มีการขอให้รัฐปลดล็อกราคาสุกรหน้าฟาร์มให้เป็นไปตามกลไกตลาดเพื่อลดความเดือดร้อนของผู้เลี้ยงสุกร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขอชี้แจงว่า จากที่ราคาสุกรมีชีวิตในประเทศปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน 2563 จากกิโลกรัมละ 67 – 68 บาท เป็นกิโลกรัมละ 81-82 บาท ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อสุกรปรับสูงขึ้นสูงกว่ากิโลกรัมละ 170 บาท กระทบต่อประชาชนผู้บริโภคที่ยังอยู่ในช่วงเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญ ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมสุกร คือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้ประกอบการโรงเชือดชำแหละ สมาคมตลาดสดไทย และ ห้างค้าส่งค้าปลีกรายใหญ่ ประชุมหลายครั้ง เพื่อหารือแนวทางบริหารจัดการอุปทานและราคาสุกรที่เหมาะสมเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน รวมทั้งไม่สร้างผลกระทบต่อโอกาสของสินค้าสุกรไทย ที่จะสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้ ซึ่งทุ
พะเยาจำใจ! ตรึงค่าแรง 315 บาท เหตุเศรษฐกิจไม่โต ผลผลิตเกษตรไร้ราคา พะเยา – เมื่อวันที่ 16 ก.ค. นายชัย สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างอัตราขั้นต่ำ จ.พะเยา ได้มีการหารือเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัด ที่เกรงจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลด้านค่าแรงขั้นต่ำที่ได้หาเสียงไว้ ซึ่งอนุกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ตรึงค่าแรงขั้นต่ำ จ.พะเยา ไว้ที่ 315 บาท เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เติบโต GPP ลดลง หากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะมีผลกระทบมากกว่าผลดี ผลการประชุมหารือดังกล่าว ทางคณะอนุกรรมการ จะส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการฯ ส่วนกลางในการพิจารณาต่อไป ในส่วนของหอการค้าพะเยา ได้ส่งเรื่องไปยังหอการค้าไทยอีกทางหนึ่ง เพื่อขอให้ชะลอการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดพะเยา เสนอต่อรัฐบาลต่อไป ปธ.หอการค้าพะเยา กล่าวต่อว่า สำหรับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของพะเยาในขณะนี้ พบว่าเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่สองที่ผ่านมา ถึงไตรมาสที่สามอยู่ในช่วงชะลอตัว มีแนวโน้มลดลง ข้อมูลจากสำนักงานคลัง จ.พะเยา แจ้งว่าปัจจุบัน GPP ของจังหวัดพะเยาอยู่ที่ 2.8 ซึ่งต่ำกว่า GPP ของประเทศ ซึ่งอยู่ที่