ตลาดอีคอมเมิร์ซ
อยากบุกตลาดจีนต้องแอปนี้! ชวนรู้จัก ‘แอปแดง’ Xiao Hong Shu (RED) แพลตฟอร์มรีวิวมาแรงของจีน ที่แบรนด์ไทยห้ามพลาด ปัจจุบันตลาดจีนถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีโอกาสทางธุรกิจสูงที่สุด ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่มากกว่า 1.4 พันล้านคน และมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการรีวิวจากผู้ใช้จริง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ทำให้การทำการตลาดในจีน ต้องอาศัยเครื่องมือหรือสื่อโซเชียลที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม และกำลังมาแรงในช่วงนี้ ก็คือ Xiao Hong Shu (小红书 ) หรือ เสี่ยวฮงชู มีความหมายว่า “สมุดโน้ตสีแดง” คนส่วนใหญ่จึงเรียกว่า “RED” หรือแอปแดง ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดย Mao Wenchao และ Qu Fang ซึ่งเป็นยูนิคอร์นที่มีชื่อเสียงมาก เนื่องจากสามารถดึงดูดเงินลงทุนจาก Tencent และ Alibaba บริษัทยักษ์ของจีนได้ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มาของ ‘แอปแดง’ ในช่วงแรกแพลตฟอร์มนี้ถูกมองว่าเป็น “Instagram เวอร์ชันจีน” เพราะมีฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกัน เช่น การแชร์รูปภาพ วิดีโอ ไลฟ์สไตล์ต่างๆ และได้พัฒนาให้แตกต่างด้วยการเน้นรีวิวจากผู้ใช้จริง กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีอิทธ
อินโดนีเซีย สั่งแบน ‘TEMU‘ อีคอมเมิร์ซน้องใหม่มาแรงจากจีน เนื่องจากกลัวกระทบเศรษฐกิจ และเพื่อปกป้องธุรกิจขนาดเล็กในประเทศ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศรายงานว่า อินโดนีเซียยืนยันคำสั่งแบนแพลตฟอร์ม TEMU (ทีมู่) อีคอมเมิร์ซน้องใหม่มาแรงของจีน โดยอ้างเหตุผลเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็ก และละเมิดระเบียบข้อบังคับด้านการค้า นายบูดี อารี เซเทียดี รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารอินโดนีเซีย ย้ำว่า การขายตรงจากโรงงานถึงลูกค้าของ TEMU เป็นการละเมิดข้อบังคับด้านการค้าของอินโดนีเซียที่จะต้องมีตัวกลางในการค้าขาย พร้อมกับย้ำด้วยว่า การอนุญาตให้ TEMU ทำการค้าในอินโดนีเซีย จะส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ ข่าวระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้จับตาดู TEMU อย่างใกล้ชิด ในความพยายามที่จะเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย TEMU ซึ่งเป็นของ PDD Holdings เจอกับความล้มเหลวในการจดทะเบียนในหลายประเทศ เนื่องจากข้อขัดแย้งด้านเครื่องหมายการค้า และการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ อย่างไรก็ตาม TEMU กลายเป็นแอปในไอโฟนที่มีการโหลดมากสุดในสหรัฐอเมริกา
สินค้าจีนทะลักไม่หยุด “TEMU” อีคอมเมิร์ซ บุกไทย ชูสินค้าราคาหลักสิบ ส่งฟรี ส่วนลด 90% สะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซไทย เมื่อ TEMU (ทีมู่) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซน้องใหม่จากประเทศจีน ในเครือ “Pinduoduo” เข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ TEMU เข้ามาตีตลาด หลังจากบุกตลาดสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2565 ตามด้วยฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เมื่อปี 2566 จุดเด่นของแพลตฟอร์ม TEMU คือ การเชื่อมโยงผู้บริโภคกับพันธมิตรสินค้า ผู้ผลิตและแบรนด์หลายล้านรายการ จึงทำให้สามารถขายสินค้าราคาเข้าถึงง่าย ตั้งแต่หลักสิบบาท อีกทั้งยังมีการจัดโปรโมชันเอาใจผู้บริโภคหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ด้วยส่วนลดสูงสุด 90% นอกจากนี้ ยังมีประเภทสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลาย ใน 33 หมวดหมู่หลัก ไม่ว่าจะเป็น บ้านและห้องครัว เสื้อผ้าสตรี เสื้อผ้าผู้ชาย จิวเวลรี่และเครื่องประดับ ความงามและสุขภาพ ยานยนต์ แฟชั่นเด็ก ศิลปะและงานฝีมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า สมาร์ทโฮม เครื่องดนตรี เป็นต้น และมีบริการหลังการขายที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค เช่น การจัดส่งฟรีทุกการสั่งซื้อ โดยความร่วมมือกับ J&T Express การคืนสิ
เปิดขั้นตอนการทำ Dropship! ธุรกิจสร้างรายได้โดยที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้า ใครๆ ก็ทำได้ Dropship (ดร็อปชิป) เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจด้าน E-Commerce (อีคอมเมิร์ซ) หรือการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คือการเป็นตัวแทนจำหน่ายแบบไม่ต้องสต๊อกสินค้า รวมถึงไม่ต้องแพ็กสินค้า และไม่ต้องส่งของเอง เพียงเราสมัครเป็นตัวแทน Dropship นำข้อมูลสินค้ามาโพสต์ขายลงแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ที่เราสร้างไว้เช่น Facebook Marketplace, Shopee, Lazada, TikTok Shop และบวกกำไรเพิ่ม หากลูกค้าสั่งออร์เดอร์เข้ามาตัวแทนก็ติดต่อไปให้ทางคนขายหรือโรงงานเป็นผู้จัดส่งของให้เรา ปัจจุบัน มีธุรกิจขายส่งที่เริ่มให้บริการ Dropship มากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีเว็บไซต์จำนวนมากที่เปิดให้บริการ ร้านค้า Online อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจแบบ Drop Shipping เช่น Shopify ที่เป็น Platform ร้านค้า Online ชื่อดัง ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศ Canada หรือ LnwShop (เทพช็อป) เว็บไซต์บริการร้านค้าออนไลน์ สัญชาติไทย ที่มีฟังก์ชันให้ผู้ใช้งานสามารถตกแต่งหน้าร้านได้ตามใจ ใน Template ที่ใช้งานง่าย โดยที่ทาง Dropship จะให้เรานำข้อมูลต่างๆ เช่น รายละเอียดสินค้า รูปภาพตัวอย
3 สินค้าขายดี บน 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แฟชั่น และ ความงาม มาแรง เปิดสัดส่วนสินค้าขายดีบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ พบสินค้าแฟชั่นขายดีบน “Shopee” ส่วน “Lazada” ครองตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ “TikTok Shop” ยืนหนึ่งเรื่องความงาม วันที่ 22 มกราคม 2567 นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO & Co-Founder ของ Priceza แพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ต่างๆ กล่าวในงานสัมมนา Priceza Thailand E-Commerce Trends 2024 ว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มมีจุดแข็งและประเภทของสินค้าขายดีแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ขายสินค้าออนไลน์สามารถศึกษาและทำความเข้าใจธรรมชาติของแพลตฟอร์ม เพื่อลงขายสินค้าและใช้กลยุทธ์การขายได้อย่างเหมาะสม โดยรายงาน E-Commerce Report 2023 ของ Momentum Works บริษัทให้คำปรึกษาทางธุรกิจในสิงคโปร์ ระบุว่า สัดส่วนของประเภทสินค้าที่จำหน่ายบนแต่ละแพลตฟอร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดังนี้ Shopee แบ่งตามจำนวนหน่วยการขาย (Unit Solds) เป็นดังนี้ ของใช้ภายในบ้าน (Home & Living) 20% สินค้าแฟชั่น (Fashion & Accessories) 18% สุขภาพและความงาม (Health
จัดการสินค้าง่าย ขายของออนไลน์สบาย ด้วย Order Fulfillment Center BEST Supply Chain (เบสท์ ซัพพลายเชน) ผู้ให้บริการบริหารจัดการคลังสินค้าสมัยใหม่ ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด นำเสนอโซลูชั่นผู้ช่วยออนไลน์มือโปรด้วยบริการ OFC (Order Fulfillment Center) ที่จะเข้ามาช่วยพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์บริหารจัดการคลังสินค้าหลังบ้านอย่างมืออาชีพ ในปี 2565 ตลาดอีคอมเมิร์ซมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่จบ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเลือกช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางในการกระจายสินค้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า สัดส่วนการซื้อสินค้าแต่ละกลุ่มผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและการปรับตัวของผู้ประกอบการค้าปลีกผ่านการทำกลยุทธ์ Omni-channel (Offline to Online) ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น โดยมียอดขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในปีที่ผ่านมาโต 2-3 เท่าตัว สอดคล้องไปกับผลสำรวจของผู้บริโภคที่คาดว่าปีนี้ จะหันมาใช้จ่ายซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นกว่า 35% ส่งผลใ
แนะ SMEs รุก B2B E-Commerce เข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะกิจการน้อยหรือใหญ่ต้องได้รับผลกระทบทั้งสิ้น เพียงแต่ว่ากิจการขนาดเล็กมักจะปรับตัวเข้าสู่ E–Commerce หนึ่งในทางรอดที่สำคัญของทุกธุรกิจทั่วโลกได้ไวกว่า ขณะที่ธุรกิจแบบ B2B หรือการค้าระหว่าง 2 ธุรกิจ (Business to Business) ที่พวกเรามักจะคุ้นเคยกับรูปแบบออฟไลน์มากกว่า กลับก้าวไปข้างหน้าในยุคโควิด-19 ได้ยากขึ้น เราจึงอยากแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จัก B2B E-Commerce กลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และเป็นโอกาสสำหรับคนที่กำลังมองหาตลาดใหม่ๆ ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme เหตุผลที่คุณควรเจาะตลาด B2B E-Commerce ถึงแม้ว่าที่เกริ่นไปในข้างต้นจะเปิดด้วยเรื่องโควิด-19 แต่ความจริงแล้วกระแส B2B E-Commerce ได้เติบโตมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ในปี 2559 ที่แม้ว่าจะมีเปอร์เซ็นต์การเติบโตของรูปแบบธุรกิจนี้น้อยกว่ารูปแบบ B2C แต่หากนับมูลค่ารวมแล้ว ตลาด B2B กลับมีมูลค่ารวมสูงกว่า B2C ประมาณเท่าตัวมาตลอด สำหรับมูลค่าอีคอมเมิร์ซทั้งแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และธุรกิจกับผู้บริโภค (
ร้านค้าจีน บุกตลาดอีคอมเมิร์ซไทย พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ควรทำอย่างไร? ปัจจุบันตลาด E-commerce ในไทย มีการซื้อขายกันอย่างครึกครื้น ทำให้พ่อค้าแม่ค้าหลายๆ คน ไม่ว่าจะเล็กใหญ่เข้ามาแสวงหาความคุ้มค่ากันทั้งนั้น รวมถึง ร้านค้าจากต่างประเทศอย่าง ร้านค้าจีน กลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับผู้ค้าออนไลน์ เพราะนอกจากเรื่องการเข้ามาขายตัดราคาแล้ว ยังมีค่าขนส่งที่รัฐบาลจีน สนับสนุนเรื่องการลดภาษีนำเข้าสินค้า แล้วร้านค้าไทยจะอยู่รอดอย่างไร? 5 ข้อต่อไปนี้ อาจตอบคุณได้ – บริการดีมีชัยไปกว่าครึ่ง – ส่งของไวประทับใจชัวร์ – สินค้าตรงปก ไม่จกตาลูกค้า – เมื่อมีปัญหาส่งเคลมได้ทันที – เรื่องภาษาเราก็มีความได้เปรียบ ข้อมูลจาก K SME, Zort
‘ออโรร่า’ ผู้นำธุรกิจทองคำรูปพรรณและแบรนด์ร้านทองแท้ออโรร่า ประกาศพันธมิตรทางธุรกิจอย่างเป็นทางการกับ ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน พร้อมส่งโปรโมชั่นสุดร้อนแรงในแคมเปญ ‘Shopee 4.4 Crazy Flash Sale’ นายอนิพัทย์ ศรีรุ่งธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาดร้านทองแท้ออโรร่า (Aurora Gold and Jewelry) บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด กล่าวว่า ออโรร่าเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคชาวไทยมายาวนานกว่า 47 ปี ด้วยคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและบริการ รวมถึงสาขาที่มีมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ล่าสุดบริษัทได้เริ่มกลยุทธ์รับลูกค้าดิจิตอล ผ่านการผนึกกำลังกับ ‘ช้อปปี้’ นำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งนับเป็นแบรนด์เครื่องประดับทองรายแรกในประเทศไทยที่รุกทำตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ‘ออโรร่า’ ได้เริ่มทดลองแคมเปญทางการตลาด ร่วมกับ ‘ช้อปปี้’ โดยพบการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญทั้งในแง่ของยอดคำสั่งซื้อที่เติบโตกว่า 150 เท่า และยอดขายเติบโตกว่า 300 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงการขายปกติ ในขณะที่สินค้าที่วางจำหน่ายในแฟลชเซลล์สามารถขายหมด 300 ชิ้นภายใน 20 นาที ซึ่งส
ธ.กรุงเทพ จัดงาน ‘E-Commerce Trends 2020’ อัพเดต-รับมือ ภาวะแข่งขันตลาดอีคอมเมิร์ซ ธนาคารกรุงเทพ – นายวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ (ที่ 2 จากซ้าย) รองผู้จัดการใหญ่ และ นายกนกศักดิ์ โมกขมรรคกุล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ที่ 2 จากขวา) พร้อมคณะผู้บริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมต้อนรับ นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ (กลาง) กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com โอกาสให้เกียรติเป็นวิทยากรในงานสัมมนา ‘E-Commerce Trends 2020’ ที่จัดโดยธนาคารกรุงเทพ ณ สำนักงานใหญ่ สีลม เมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้ให้ความเห็นว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซจะยังคงเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงดุเดือดมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาพรวมเทรนด์การค้าอีคอมเมิร์ซในปี 2020 จะพบว่าแพลตฟอร์มผู้เล่นรายใหญ่จะยังทำกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริหารจัดการงานขนส่งแบบเรียลไทม์ (e-Logistics) ควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกด้วยระบบชำระเงินผ่านช่องทางดิจิตอล (Digital Payment Solution) เช่น e-Wallet ขณะที่บรรดาแบรนด์ต่างๆ จะมุ่งทำการตลาดผ่านช่องทาง Omni–Channel อาวุธลับที่ผสานทุกช่องทางธุรกิจ ทั้งออนไ