ตัวเหี้ย
นายวินันท์ วิระนะ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เปิดเผยถึงการเตรียมพื้นที่รองรับตัวเหี้ย ที่จะขนย้ายมาจากสวนลุมพินี กรุงเทพมหานครในวันที่ 21 กันยายน นี้ว่า ขณะนี้ที่สถานีฯ มีตัวเหี้ยจำนวน 197 ตัว จากของที่สวนลุมพินีนำมาชุดแรกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม จำนวน 55 ตัว ชุดที่ 2 วันที่ 17 สิงหาคม จำนวน 32 ตัว รวมจากของสวนลุมพินีจำนวน 87 ตัว ส่วนของเก่าเป็นของกลาง และเป็นของที่นำมาจาก จ.สมุทรสงครามและ จ.สมุทรสาคร ที่ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์นำมามอบให้ รวมทั้งหมดแล้วจำนวน 197 ตัว ในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ที่ได้เลี้ยงไว้ ปลูกสร้างด้วยกำแพงปูนซีเมนต์ มีการต่อสังกะสี เพื่อเพิ่มความสูงป้องกันตัวเหี้ยปีนหนี ด้านในจะมีการสร้างบ่อน้ำปูนซีเมนต์เพื่อให้ตัวเหี้ยได้กินและอยู่อาศัยหลายจุด โดยตัวเหี้ยจะชอบอาศัยอยู่ในพงหญ้าใต้ต้นไม้ และขุดรูอยู่อาศัย ท่ามกลางพงษ์หญ้าและป่าไม้เบญจพรรณ สำหรับด้านความเป็นอยู่ในความเป็นจริงตัวเหี้ยจะมีความอดทนอยู่ได้ทุกสภาวะ เพราะว่าเคยเห็นบนเขา ตามแหล่งน้ำจะอาศัยอยู่ได้หมด แต่ส่วนเรื่องอาหารถ้ามาอยู่ตรงนี้จะมีอาหารในช่วงที่ปริมาณที่จำกัด เน
กรณี สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสวนลุมพินี โดยจะเข้าจับตัวเหี้ย ที่เบื้องต้นมีมาก กว่า 400 ตัว ไปไว้ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ชลบุรี เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ที่เข้าไปออกกำลังกายว่า ตัวเหี้ยออกมาสร้างความหวาดกลัวให้ เช่น วิ่งตัดหน้า ขณะกำลังวิ่ง หรือปั่นจักรยาน นั้น วันที่ 19 กันยายน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า หลังจากทราบเรื่องนี้ ได้สั่งการให้นางเตือนใจ นุชดำรงค์ ผู้อำนวยการสำนักสัตว์ป่า ประสานไปยังสำนักสิ่งแวดล้อมกทม.เพื่อร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยกทม.จะเข้าไปจับตัวเหี้ยโดยพละการไม่ได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จะต้องแจ้งให้กรมอุทยานฯรับทราบและร่วมดำเนินการด้วย นางเตือนใจ กล่าวว่า เบื้องต้น ได้ประสานทำความเข้าใจไปทางกทม.แล้วว่า ความจริงแล้ว ตัวเหี้ยนั้นไม่ใช่สัตว์อันตราย ที่จะไปจู่โจมทำร้ายใครก่อน ยกเว้นว่าทำให้มันตกใจ พื้นที่ เช่น สวนลุม หรือบริเวณ สวนสัตว์ดุสิต เป็นพื้นที่เดิมที่มีตัวเหี้ยอาศัยมาก่อน แต่เวลาต่อมา คน