ต้นทุนต่ำ
ขายอาหาร “ไม่มีหน้าร้าน” ต้นทุนต่ำ ไม่ปวดหัวกับคนงาน แถมไม่เสี่ยงเจ๊ง ทุกวันนี้ ผู้คนหันมาพึ่งบริการสั่งอาหารแบบดีลิเวอรี่มากขึ้น เพราะโทรศัพท์มือถือที่ช่วยให้การสั่งอาหารจากร้านต่างๆ สะดวกสบาย แถมไม่ต้องเผชิญปัญหารถติดที่นับวันจะสาหัสขึ้นเรื่อยๆ กระแสดีลิเวอรี่อาหารได้รับความนิยมทั่วโลก ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด “สเตติสตา” ประเมินว่า ปัจจุบัน ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลกมีมูลค่าราว 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากกว่า 11 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ไปจนถึงปี 2566 โดยเฉพาะในเอเชียที่ตลาดดีลิเวอรี่อาหารผ่านออนไลน์เติบโตอย่างเด่นชัด ประเมินว่าน่าจะมีมูลค่าราว 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของความต้องการรวมทั้งโลก นี่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารพากันตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว และเกิดธุรกิจขายอาหารแบบไม่มีหน้าร้าน หรือที่เรียกว่า Ghost Restaurants ซึ่งเน้นทำอาหารสำหรับดีลิเวอรี่เท่านั้น เว็บไซต์นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า ร้านอาหารแบบไม่มีหน้าร้านผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะรองรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคนี้แล้ว ยังเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ มีทุนน
การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 มีมูลค่า 3,059 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.51% จากปี 2558 และในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ส่งออก 1,554 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.62% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนส่งผลดีต่อธุรกิจ “ธุรกิจอาหารสัตว์” ซึ่งเป็นต้นน้ำของกลุ่มปศุสัตว์ได้มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปัจจัยบวกของธุรกิจอาหารสัตว์ไม่ใช่เพียงความต้องการใช้อาหารสัตว์ที่เพิ่มตาม “ปริมาณตัวกิน” เท่านั้น แต่สิ่งสำคัญมาจาก “ต้นทุนวัตถุดิบ” ที่ปรับลดลง โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะข้าวสาลี และกากข้าวสาลี (DDGS) ในปี 2559 มีปริมาณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 4.57 ล้านตัน จนทำให้เกษตรกรขาดทุนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศลดลง กิโลกรัมละ 4-5 บาท นำมาสู่ ข้อเรียกร้องให้ “ขึ้นภาษีนำเข้ากากข้าวสาลีจาก 0% เป็น 27%” ตามเดิม เพื่อจำกัดปริมาณการนำเข้าข้าวสาลี อย่างไรก็ตาม ขณะที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์ยืนยันว่า จำเป็นต้องใช้ข้าวสาลี และ DDGS เพราะผลผลิตข้าวโพดในประเทศมีเพียงปีละ 4.5 ล้านตัน ไม่เพียงพอต่อดีมานด์ที่ต้องการ 8 ล้านตัน ต้องนำเข้า นำเข้าข้าวสาลี 2 แสนตัน กระทรวงพาณิชย์จึง
ส้มตำมาละเด้อ ทุนไม่ถึง 2 หมื่น เปิดร้านได้เลย “ส้มตำ” และเมนูอีสานอันหลากหลาย กำลังอยู่ในกระแสคนทาน อาจเพราะมีรสชาติจัดจ้านถูกปากคนไทยส่วนใหญ่ เมื่อยามนี้ตลาดมี “ดีมานด์”สูง ผู้ประกอบการหลายราย จึงอาจอยากฉวยโอกาสดีๆ ไว้ ซึ่งอาจมีทั้งประเภทต้องการเปิดร้านใหม่ไปเลย หรืออาจมีร้านอาหารอยู่แล้วแต่คิดเสริมเมนูอีสานเข้าไป เพื่อเป็นตัวเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น แต่ถ้าใครกำลังคิดว่าถ้าจะเปิดจริงๆคงไม่ใช่เรื่องง่าย ลองศึกษาข้อมูลนับจากนี้ ที่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการปรุงและการวางระบบธุรกิจร้านอาหารอีสาน ภายใต้แบรนด์ “ส้มตำมาละเด้อ” ดูก่อน เชื่อว่าน่าจะได้ประโยชน์ไม่น้อย คุณเอ – โรสสุคนธ์ ภัทรภาดา ตัวแทนบริษัท พร้อมปรุง จำกัด เจ้าของกิจการแฟรนไชส์ “ส้มตำมาละเด้อ” แนะนำตัวให้รู้จัก พื้นเพเธออยู่ที่จังหวัดตาก ก่อนจะมาทำธุรกิจนี้เคยเปิดกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและพลาสติกรีไซเคิล แต่หันเหมาทำร้านอาหารอีสาน เนื่องจากคุณแม่มีฝีมือ โดยเฉพาะเครื่องแกง นั้น รสชาติดี มีลูกค้ารับซื้อมายาวนานเป็นต้นทุนสำคัญ ส่วนตัวเธอเองนั้นมีความใฝ่รู้ด้านอาหาร ก่อนหน้านี้เคยเดินทางจากจังหวัดตาก มาอบรมหลักสูตร “ส้