ต้นทุนสูง
เศรษฐกิจซึม-ต้นทุนสูง ทำร้านอาหารปิดตัวเพียบ เรียกร้อง “นายกฯ อิ๊งค์” ออกมาตรการช่วยด่วน! นายสรเทพ โรจน์พจนารัช (สตีฟ) ประธานชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ร่อนจดหมายถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี “วอนนายกฯ แพรทองธารเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก่อนที่ปีหน้าจะทรุดมากกว่านี้” โดยมีรายละเอียดดังนี้ “นายสรเทพ โรจน์พจนารัช ประธานชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเร็ว สืบเนื่องจากชมรมผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ได้เรียกร้องไป ตั้งแต่เมื่อต้นปี 2567 ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปีนี้จะซึมและทรุดอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งทั้ง 3 ไตรมาส ติดอันดับธุรกิจที่ปิดตัวมากที่สุด 1 ใน 3 ของทั้งปี แต่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาจนจะสิ้นปี ปี 2567 ซึ่งทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่าเศรษฐกิจซึม โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารที่ปิดตัวมาอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจัยต้นทุนอาหารต่างๆ สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ น้ำมันพืช ของสด ค่าขนส่ง รวมถึงค่าไฟฟ้า รวมถึงหนี้สิน หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น จะเห็นได้ว่า ปลายปีนี้ซึ่งควรจะ
ดาคาซี่ ชานมไข่มุกแบรนด์ดัง ประกาศ ลดราคาเครื่องดื่ม หลังผ่านปัญหาต้นทุนสูง ในช่วงโควิด Dakasi (ดาคาซี่) แบรนด์ร้านชานมไข่มุกชื่อดัง ประกาศ ปรับลดราคาเครื่องดื่มหลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นจนต้องปรับเพิ่มราคา โดยมีรายละเอียดการชี้แจงผ่านเพจ Dakasi Thailand ดังนี้ “เรียนลูกค้า Dakasi จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา รายได้หลักจากการขายส่วนใหญ่ของ Dakasi มาจากช่องทางฟู้ดดีลิเวอรี ทำให้เราประสบปัญหากับต้นทุนการขายที่สูงขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งต้นทุนการเปิดหน้าร้าน เช่น ค่าเช่า และต้นทุนการขายผ่านทางฟู้ดดีลิเวอรี เช่น ค่าบริการแอปพลิเคชัน เพื่อผ่านพ้นช่วง COVID-19 ทางเราจึงต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้าบางรายการ แต่ Dakasi ก็สามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากนั้นมาได้ เพราะในช่วงเวลานั้นลูกค้าทุกคนยังคงให้การสนับสนุน Dakasi กันอย่างอบอุ่นมาโดยตลอด ในวันนี้ Dakasi อยากขอบคุณลูกค้าทุกคนจากใจจริง ทีมงาน Dakasi ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อลดต้นทุนบางส่วนลง เช่น ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนค่าเช่า ทำให้เราสามารถปรับราคาเครื่องดื่มในบางรายการลดลงได้ โดยเราขอยืนยันว่าเครื่องดื่มยังคงมีคุณภาพที่ดีเ
น่าห่วง ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร เผชิญต้นทุนสูง ส่วนรายได้ยังฟื้นไม่เต็มที่ ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกของไทย ทำให้ธุรกิจบริการกลายมาเป็นหนึ่งความหวังต่อการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 แต่จากสถานการณ์ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งปี 2566 ของภาคธุรกิจ จะยังเพิ่มขึ้นราว 12-17% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของปี 2565 และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่น่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อน รวมถึงต้นทุนค่าน้ำและค่าวัตถุดิบอาหารก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากความเสี่ยงภัยแล้งของภาวะซูเปอร์เอลนีโญที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนด้านอื่นๆ ที่ขยับสูงขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงาน, ต้นทุนทางการเงิน, ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งแรงกดดันด้านต้นทุนเหล่านี้จะส่งผลให้ธุรกิจบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวยังเผชิญความเปราะบางด้านต้นทุน ขณะที่การฟื้นตัวของรายได้น่าจะยังไม่กลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า โรงแรมที่พัก และร้านอาหาร เป็นธุรกิจบริการลำดับต้นๆ ที่ยังมีความเปราะบาง เ
รายได้ ร้านอาหาร ปี 66 โต แม้เจอความท้าทาย ต้นทุนสูง ในช่วงข้างหน้า ธุรกิจร้านอาหาร จะได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศ ที่ขับเคลื่อนได้ตามปกติและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว กอปรกับการทำตลาดของผู้ประกอบการร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จัดส่งอาหารไปยังที่พัก การขยายสาขาและการนำเชนร้านอาหารใหม่จากต่างประเทศมาให้บริการโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของธุรกิจร้านอาหารยังคงเปราะบางจากกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม และค่าไฟที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตามราคาพลังงานโลก กอปรกับการแข่งขันในธุรกิจที่สูง ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลาย ทำให้ผู้ที่จะลงทุนใหม่ต้องระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับการควบคุมต้นทุน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเติบโตของธุรกิจยังอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง โดยคาดว่า ปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะโต 2.7-4.5% จากปี 2565 (ปี 2565 คาดว่าจะโต 12.9%) หรือมีมูลค่า 4.18-4.25 แสนล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่าก่อนโควิด เป็นผลจากความท้าทายในการฟื้นตัวของร้านอาหาร Full Service ขณะที่แม้การฟื้นตัวของรา
เปิด 3 แนวทางบริหารทุนขนส่ง สำหรับผู้นำเข้า-ส่งออก เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ด้วยต้นทุนค่าขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออก แน่นอนว่าย่อมทำให้สินค้านั้นๆ มีต้นทุนที่สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น ผู้ส่งออกในปัจจุบัน จึงต้องกำหนดแนวทางในการบริการจัดการต้นทุนในด้านโลจิสติกส์ ที่แฝงอยู่กับตัวสินค้าส่งออกซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกอาจจะมองข้ามหรือคาดไม่ถึง เพราะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์นั้น แฝงอยู่ในขั้นตอนต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดซื้อวัตถุดิบ สินค้าที่มีทั้งการจัดซื้อจากต่างประเทศและในประเทศ ซึ่งจะมีเรื่องราคา ปริมาณ ของการสั่งซื้อแต่ละครั้ง หากซื้อในปริมาณต่างกัน ราคาค่าสินค้า และค่าขนส่งจะต่างกัน การซื้อสินค้าจึงต้องพิจารณาปริมาณที่ซื้อกับค่าขนส่งควบคู่กันไป หากเป็นการซื้อจากต่างประเทศ ผู้ขายอาจจะกำหนดราคาสินค้าโดยพิจารณาจากปริมาณการสั่งซื้อ และรูปแบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งต้องพิจารณาว่า ผู้ขายเสนอขายสินค้าโดยมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หากผู้ขายเสนอราคาสินค้า โดยการส่งมอบสินค้า ณ ท่าเรือ (FOB) ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบด้านค่าขนส่งหร