ถอดบทเรียน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา จนส่งผลกระทบถึงประเทศไทยในพื้นที่หลายจังหวัด และเกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนเป็นวงกว้าง เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติได้เผยวิธีการรับมือในแบบฉบับประชาชนที่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งระหว่างและหลังเกิดเหตุว่าควรต้องปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว หากผู้ประสบภัยอยู่ภายในอาคารควรหาที่กำบังที่แข็งแรงเป็นอันดับแรก เช่น ใต้โต๊ะ เพื่อปกป้องศีรษะและร่างกายจากสิ่งของที่อาจตกกระทบใส่ร่างกายจนบาดเจ็บหรือร้ายแรงกว่านั้น ทั้งสิ่งของหนัก หลอดไฟ ฝ้าเพดาน พัดลม ผู้ประสบภัยควรหลบอยู
ถอดบทเรียน อุบัติเหตุเผายาหน้าท้อง เรียกร้อง เร่งหาทางออกเป็นรูปธรรม จากกรณีเมื่อไม่นานมานี้ สถานพยาบาลที่เป็นสหคลินิกแห่งหนึ่ง ได้กระทำการที่ไม่ถูกต้องตามกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย โดยมีการเผายาหน้าท้องให้ผู้ป่วยรายหนึ่ง กระทั่งเกิดความเสียหายเกิดเพลิงไหม้ตามร่างกาย สร้างผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งต่อผู้ป่วยและภาพรวมวงการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนตะวันออก เมื่อเร็วๆ นี้ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดงานแถลงข่าว ถอดบทเรียนกรณีอุบัติเหตุการเผายา กับภูมิปัญญาการแพทย์แผนตะวันออก พร้อมเปิดแถลงการณ์จุดยืน โดย อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดี และคณาจารย์ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นการแพทย์แผนตะวันออก และให้ความรู้การใช้การรักษาโดยใช้ไฟ ในการรักษา ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์จุดยืนดังกล่าว ระบุว่า แพทย์แผนไทยคนดังกล่าว สถานพยาบาลแห่งนั้น ต้องเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน สภาการแพทย์แผนไทย และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งรัดการสืบสวน สอบสวนข้อเท็จจริง และหาทางออกในกรณีนี้อย่างเป็นรูปธรรม แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า การเผายา เป็นกรรมว
เปิดบทเรียนสำคัญของ SMEs วิกฤตโควิด-19 ให้อะไรบ้าง ? เหตุเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยกันครั้งใหญ่ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้ประกอบการหลายรายสู้ไม่ไหวจนต้องปิดตัวไป แต่ก็มีหลายรายที่พยายามปรับตัวพยุงธุรกิจให้กลับมามียอดขายได้อีกครั้ง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เหล่าผู้ประกอบการได้บทเรียนในหลายๆ เรื่อง ที่สามารถสรุปมาได้ ดังนี้ ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน จากการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆ ธุรกิจ มีลูกค้าน้อยลง ยอดขายตก หรือไม่สามารถเปิดร้านได้ชั่วคราว ส่งผลให้รายได้ที่เคยมีและน่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ กลับลดลงจนไม่พอกับรายจ่าย และต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอดกันยกใหญ่ ทั้งการมองหาช่องทางหรือพัฒนาทักษะเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม ขายของออนไลน์ ทำอาหารขาย ขับรถส่งของ สอนพิเศษ หรืองานอื่นๆ เพื่อให้มีรายได้มากกว่าหนึ่งทาง เพราะเมื่อรายได้จากงานหลักลดลง รายได้เสริมเหล่านี้ อาจช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ ร้านค้าออนไลน์แหล่งรายได้สำคัญ คนส่วนใหญ่รักในความสะดวกสบาย ยิ่งเมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิดเข้ามา ลูกค้าจึงกลัวที่จะออกจากบ้านหรือเดินทางไป
คุณสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและกลางย่อม (สสว.) กล่าวตอนหนึ่งในงาน “สตาร์ทอัพฟอรัม: บทเรียนจากความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี ” ว่า งานครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับ Startup ของไทย ผ่านความสำเร็จของ Startup เกาหลี และเปิดโอกาสให้หน่วยงานส่งเสริม Startup ไทยได้เรียนรู้การดำเนินการและระบบการส่งเสริม Startup ของ Youth Startup Academy ของเกาหลี โดย นับตั้งแต่ สสว.และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับหน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของสาธารณรัฐเกาหลี( The Small and Medium Business Administration หรือ SMBA) ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นกระทรวงวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมและวิสาหกิจเริ่มต้น (Ministry of SMEs and Startupsหรือ MSS ) ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือในหลายรูปแบบ อาทิ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-เกาหลีในการช่วยผู้ประกอบการในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การร่วมลงทุน และรูปแบบต่างๆ ของการจับคู่ธุรกิจ สร้างความสัมพันธ์ในการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาการส่งเสริมวิสาหกิจ