ถุงเพาะชำ
หนุ่มใต้ปิ๊งไอเดีย ทำ “ถุงเพาะชำจากยางพารา” ย่อยสลายได้ เจ้าแรกของโลก คุณนัท – ณัฐวี บัวแก้ว วัย 24 ปี ผู้บริหารหนุ่ม และ เจ้าของไอเดีย “ถุงเพาะชำจากยางพารา” แบรนด์ Greensery ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ยางพาราแล้ว ยังถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และลดโลกร้อนได้อีกด้วย คุณนัทเล่าให้ “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ฟังว่า ตนเรียนจบมาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในสมัยที่เขาเรียนอยู่ปี 3 ได้เข้าไปช่วยน้องสาวทำโครงงานเกี่ยวกับถุงเพาะชำดูดซับน้ำ ซึ่งเป็นโครงงานในวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบกับก่อนเรียนจบ คุณนัทมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม PSU Startup Challenge ที่จัดโดยสถาบันพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต ซึ่งเป็นการแข่งขันเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการเกษตร นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณนัทอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง “ก่อนเรียนจบ ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ PSU ที่เป็นโครงการแข่งขันเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการเกษตร บวกกับเคยช่วยน้องสาวทำโครงงานเก
นวัตกรรม! “NU Bio Bag” ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ผลิตจากกากกาแฟ ไม่ก่อมลพิษ ในภาคเกษตรไทย “ถุงเพาะชำ” ถือเป็นวัสดุสำคัญในการเพาะปลูก แต่เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะอยู่ในถุงได้ ถุงเพาะชำจึงกลายเป็นขยะทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจอยากลดปริมาณขยะ มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงได้คิดค้นนวัตกรรม NU Bio Bags หรือ ถุงปลูกย่อยสลายทางชีวภาพจากพลาสติกพีแอลเอผสมกากกาแฟ ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ ผศ.ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร เปิดเผยว่า งานวิจัยถุงปลูกย่อยสลายทางชีวภาพจากพลาสติกพีแอลเอผสมกากกาแฟ เกิดจากแนวคิดอยากลดปริมาณขยะซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ซึ่งใช้เวลาทดลอง และวิจัยเข้าสู่ปีที่ 3 โดยทางคณะผู้จัดทำได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการออกแบบ และพัฒนาจากผลงานวิจัย เข้ามาช่วยในกระบวนการผสมระหว่างพลาสติกพีแอลเอ กับกากกาแฟ ใช้เครื่องบดผสมแบบเกลียวคู่ (twin-scew extruder) และขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่าฟิล์มด้วยเครื่องเป่าฟิล์ม (blow film extruder) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถผลิตได้ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งกระบวนการผลิตมีความสะดวกรวดเร็ว ราคาค่าใช้จ่ายไม่แพ