ถ่านอัดแท่ง
เมินคนมอง ทำถ่านอัดแท่ง เป็นอาชีพ ให้รายได้พิสูจน์ความสำเร็จ เดือนละ 3-4 หมื่นบาท แถมต่อยอด ผลิตเครื่องอัดถ่านขาย หลังจากเดินทางไปทำงานด้านอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้อย่างถูกกฎหมายนาน 5 ปี ก็ถึงเวลาที่ต้องมีธุรกิจของตัวเอง ทำให้ คุณเอม-เทพฤทธิ์ กาญจน์แก้ว ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิดจังหวัดอุดรธานี ด้วยหวังว่าจะกลับมาเป็นเชฟอาหารไทยที่จริงจังไปถึงการจองคอร์สเรียน แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ คอร์สดังกล่าวกลับถูกเลื่อนไปเรื่อยๆ เมื่อไม่มีอะไรทำ ทำให้คุณเอมใช้เวลาว่างในการเริ่มต้นเผาถ่าน เพราะที่บ้านมีต้นไม้เยอะประกอบกับอยากลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งการเผาถ่านไม่ใช่เรื่องง่าย ในการทำครั้งแรกจึงเกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การจุดเตา การปิดเตา รวมถึงระยะเวลาที่ต้องเสียไปกับการนั่งเฝ้านั่งรอแทนที่จะได้ไปทำอย่างอื่น ทำให้คุณเอมเริ่มมองหาถ่านรูปแบบใหม่ และได้รู้จักกับ ถ่านอัดแท่ง “ผมไปศึกษาข้อมูลด้วยตัวเอง มันทำยังไง ก็ไปดูราคาเครื่องจักรเครื่องละแสนกว่าบาท มันต้องซื้อยังไงเนี่ย เลยไปซื้อเครื่องอัดถ่านแบบมือหมุน 3,000 กว่าบาท ก็ไม่ไหว หมุนยาก มันฟืด ปวดแขน ส่วนสูตรผสมถ่านก็ไปหาตามยูทูบมาลองทำ ก็
ถ่านอัดแท่งพรีเมี่ยม จาก กะลามะพร้าว ธุรกิจช่วยชีวิต อดีตวิศวกรเคมี ลูกหลานเจ้าของธุรกิจประมง กะลามะพร้าว ผลผลิตทางการเกษตรถูกทิ้งกองไว้ ถูกเอสเอ็มอีแห่งเมืองแม่กลอง โดยบริษัท แม่กลองไทยเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด นำมาพัฒนา ยกระดับเพิ่มมูลค่ากลายเป็นผลิตภัณฑ์ ถ่านอัดแท่ง มาตรฐานระดับ พรีเมี่ยม จุดติดง่าย ใช้งานได้ยาวนาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่กว่าจะมาเป็น ถ่านอัดแท่งพรีเมี่ยม ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ คุณเอก-จิรวัฒน์ ชาญวิทย์วัฒนกิจ เจ้าของธุรกิจ บริษัท แม่กลองไทยเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าว จ.สมุทรสงคราม เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า หลังจากเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ประเทศสหรัฐฯ ได้กลับมาช่วยงานครอบครัวที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการประมง กระทั่งช่วงปี 2547-2548 ธุรกิจต้องเผชิญอุปสรรคต่างๆ เช่น ปัญหาด้านแรงงาน ปัญหาวัตถุดิบในทะเลลดลง จึงปรึกษาครอบครัวขอยุบธุรกิจดังกล่าวออกไป “ช่วงเวลานั้น ผมมี 2 ทางเลือก คือ กลับไปเป็นมนุษย์เงินเดือนในบริษัทขนาดใหญ่ หรือสร้างธุรกิจใหม่เป็นของตัวเอง ซึ่งปัจจัยแวดล้อมของการทำธุรกิจในจังหวัดสมุทรสงคราม มีให้เลือก 2
ถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ของวิสาหกิจชุมชนตำบลปิงโค้ง ไฟแฮง ติดเมิน คุ้มเกิ๋นราคา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 19,878 ไร่ ผลผลิตที่ได้ 15,902,400 กิโลกรัม ซึ่งหลังการเก็บเกี่ยวและกะเทาะเปลือก/เมล็ด จะมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือซังและเปลือกข้าวโพด 3,339,504 กิโลกรัม ต่อปี เกษตรกรส่วนมากจะเผาทำลายซังและเปลือกข้าวโพด ทำให้เกิดสภาวะหมอกควัน อากาศเป็นมลพิษ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยทางสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาวและเทศบาลตำบลปิงโค้ง ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลปิงโค้งดำเนินการนำซังข้าวโพดมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ ไร้ราคา นำมาสร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาท ขั้นตอนการผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด นำซังข้าวโพด เผาในเตาเผาถ่านแบบไร้ควัน ที่ทำจากถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยบรรจุซังข้าวโพด 35-40 กิโลกรัม ต่อการเผาแต่ละครั้ง และใช้เวลาเผาประมาณ 1 ชั่วโมง จะได้ถ่านขี้แมว 20% (ประมาณ 8 กิโลกรัม) นำถ่านขี้แมวเข้าเครื่องตีป่นโม่ให้ละเอียดเป็นผง นำผงถ่านเข้าเครื่องผสม อัตราส่วน ผงถ่าน