ทำนา
เกษตรกรที่ทำนา ต่างมีความรู้ในเรื่องการปลูกข้าวมาจากคนรุ่นก่อนแทบทั้งสิ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและประสานข้อมูลที่จำเป็นให้แก่บรรดาเกษตรกรของกรมการข้าว ทำให้เกษตรกรหลายชุมชนผลิตข้าวได้มากขึ้น และสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชนของตนเองได้ นายบุญชู วงษ์อนุ ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี ยอมรับว่า ในสมัยก่อน ตนและชาวบ้านในพื้นที่จะทำนาโดยไม่ได้อิงหลักวิชาการ ยังใช้วิธีทำนาแบบวิถีพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ด้วยเพราะแนวคิดและเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่เข้าถึง และสิ่งที่ไม่รู้คือ ขั้นตอนของการทำเมล็ดพันธุ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการปลูกข้าว ตั้งแต่เข้าร่วม “โครงการสร้างการรับรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สำหรับการขายคาร์บอนเครดิตในนาข้าว” กับกรมการข้าว ทำให้ตนและคนในชุมชนโคกสะอาดได้รู้จักกับนักวิชาการ และผู้ที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้กับในเรื่องการจัดทำแปลง และช่วยปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเดิม ให้ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีสำหรับชุมชนแห่งนี้ สิ่งสำคัญคือ การเตรียมแปลงปลูก ที่ทางชุมชนโคกสะอาดใช้พันธุ์เดิมอย่าง กข79 ดั้งเดิ
เพราะว่า “ข้าว” คือปัจจัยหลัก และ “ชาวนา” คือกระดูกสันหลังของชาติ กรมการข้าวในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงตระหนักว่าการให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตข้าว จะมีส่วนช่วยในการสร้างผลผลิตเป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ลดการขาดทุน สร้างผลกำไร และทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านการส่งมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวและการฝึกอบรม “โครงการสร้างการรับรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สำหรับการขายคาร์บอนเครดิตในนาข้าว” ตามศูนย์ข้าวชุมชนต่างๆ นายร่ม วรรณประเสริฐ ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ต.ห้วยขมิ้น อ.หนองแค จ.สระบุรี หนึ่งในผู้ร่วมโครงการ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมากรมการข้าวมีโครงการสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชนห้วยขมิ้น ในการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยสนับสนุนข้าว กข79 และ กข85 อย่างละ 1 ตัน มาขยายเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวในชุมชน เริ่มต้นจากการเตรียมแปลงข้าวให้ดี ไถหน้าดินหลายครั้งจนมั่นใจว่าไม่มีข้าวอื่นปลอมปน จึงจะได้แปลงข้าวที่สมบูรณ์ในการทำนาหว่าน เมื่อถึงช่วงปลูกข้าว จะใช้การปลูกแบบ “เปียกสลับแห้ง” ตามที่ได้รับความรู้จากกรมการข้าว ซึ่งเป็นการบริหารจัดการการเข้าออกของน้ำในแปลงนา ให้มีทั้งช่วงที่ “แปล
ตุ๊ก ชนกวนันท์ ชีวิตติดท้องนา ปลูกเอง เก็บเอง ผลผลิตแห่งความภาคภูมิใจ งานมหัศจรรย์ข้าวไทย 2024 เสวนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟเรื่องข้าวที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน เล่าเรื่องข้าวครบทุกด้าน จากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ช่วงบ่ายวันที่สองของการจัดงาน เวทีเล่าเรื่องข้าวเกษตรอินทรีย์ : คุณตุ๊ก-ชนกวนันท์ รักชีพ นักแสดงสาวที่มีอาชีพเสริมเป็น “ชาวนา” มาบอกเล่าเรื่องราวการทำนาวิถีเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ปลูกเอง เก็บเอง ผลผลิตแห่งความภาคภูมิใจ คุณตุ๊ก-ชนกวนันท์ รักชีพ นักแสดงสาวใส่ใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ หากเจ็บป่วยก็ใช้อาหารเป็นยา จับพลัดจับผลูเข้าสู่วิถีเกษตรอินทรีย์เพราะอยากให้ “ลูก” ได้เรียนรู้สัมผัสวิถีธรรมชาติ ประกอบกับ คุณพ่อบุญธรรม “สุธา นิติภานนท์” สนใจทำนาวิถีออร์แกนิกอย่างครบวงจรของในชื่อ “สุธาทิพย์ ฟาร์ม” บนเนื้อที่ 100 ไร่ ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้คนไทยได้กินข้าวที่ปลอดภัย ซึ่งตุ๊กและพี่สาวได้ช่วยคุณพ่อทำนาออร์แกนิกตั้งแต่ปีแรกจนถึงทุกวันนี้เป็นระยะเวลา 9 ปีแล้ว กว่าจะเป็นนาข้าวอินทรีย์แบบสมบูรณ์ได้ ต้องปรับตัวพอสมควร ลงทุนทำนาอินทรีย์ปีแรกถือว่า ขาดทุน ได้ผลผลิตแค่ 30% แต่หลังจา
“ประพิศ” กำชับโครงการชลประทานในพื้นที่ บริหารจัดการน้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำในพื้นที่ให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวได้รับความเสียหาย หลังลุ่มเจ้าพระยาทำนาเกินแผน 1.27 ล้านไร่ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ทั่วประเทศมีการทำนาปรัง 2564/65 จำนวน 6.52 ล้านไร่ หรือ 101.70% ของแผนทำนาปลูกข้าวทั่วประเทศที่ 6.41 ล้านไร่ ส่วนลุ่มเจ้าพระยา มีการทำนาแล้ว 4.08 ล้านไร่ หรือ 144.9% จากแผนที่กำหนดไว้ 2.81 ล้านไร่ ส่วนภาคเหนือ ทำนาแล้ว 7 แสนไร่ หรือ 155.3% ของแผนที่กำหนดไว้ที่ 4.5 แสนไร่ ภาคตะวันออกทำนาแล้ว 5 แสนไร่ หรือ 102.2% ของแผนที่กำหนดไว้ที่ 4.9 แสนไร่ และภาคอื่นๆ ยังทำนาได้ต่ำกว่าแผนที่กำหนด ขณะที่ เขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 5 แห่ง จากทั้งหมด 35 แห่งมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่ำกว่า 50% ของความจุ ดังนี้คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำ 41% ของความจุ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำ 34% ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 44% ของความจุ เขื่อนห้วยหลวง มีปริมาณน้ำ 45% ของความจุ และเขื่อนสียัด มีปริมาณน้ำ 34% ของความจุ ส่วนการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทาน ยังเป็นไ
น้ำท่วม ปี 64 กระทบผลผลิตข้าวนาปี สูญ 6.3-8.4 พันล้านบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางของไทย จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดในเดือน ก.ย.-ต.ค. 64 คิดเป็นราว 14.5% ของปริมาณผลผลิตข้าวนาปีทั้งปีการผลิต โดยมูลค่าความเสียหายน่าอยู่ที่ราว 6,300-8,400 ล้านบาท บนสมมติฐานที่เป็นพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งสิ้นราว 5 ล้านไร่ และเสียหายจากต้นข้าวตายไปราวร้อยละ 30-40 ของพื้นที่นาข้าวทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งเอื้อต่อการเพาะปลูกข้าวในภาพรวมทั้งปี ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงต้นปี ทำให้ภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งปี 64 น่าจะอยู่ในเกณฑ์ดีที่ราว 30 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 1.9 % (YoY) โดยราคาข้าวเฉลี่ยทั้งปี 64 อาจอยู่ที่ราว 8,700-9,200 บาทต่อตัน หรือลดลง 18.9-23.3% สำหรับในเดือน พ.ย. 64 ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตข้าวนาปีออกสู่ตลาดมากที่สุด หรือคิดเป็น 67.1% ของปริมาณผลผลิตข้าวนาปีทั้งปีการผลิต ราคาข้าวอาจปรับตัวลดลงจากปริมาณผลผลิตข้าว
กรมชลประทาน วอนเกษตรกรลุ่มเจ้าพระยา งดทำนาต่อเนื่องหลังเก็บเกี่ยว เหตุมีน้ำน้อย วันที่ 9 ส.ค. 2564 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้จะมีฝนตกกระจายในหลายพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนยังมีน้อย จึงขอความร่วมมือเกษตรกรที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวข้าวไปแล้ว โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยางดทำนาต่อเนื่อง เพราะยังไม่มั่นใจว่าฝนที่ตกจะไหลลงเขื่อนหรือไม่ หลังจากกรมชลประทานสำรวจการปลูกข้าวนาปี 2564 ทั่วประเทศในเขตชลประทานมีการปลูกข้าวรวม 12.72 ล้านไร่ คิดเป็น 76.37% ของแผนปลูกข้าว 16.65 ล้านไร่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกไปแล้ว 5.99 ล้านไร่ คิดเป็น 75.22% ของแผนฯ จำนวน 7.97 ล้านไร่ เริ่มมีการเก็บเกี่ยวแล้ว 0.045 ล้านไร่ โดยผลการปลูกข้าวนาปี 2564 ณ วันที่ 21 ก.ค. 2564 ภาคเหนือ มีการปลูกข้าว 1.88 ล้านไร่ คิดเป็น 73.24% ของแผนฯ ที่ 2.57 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการปลูกข้าว 3.17 ล้านไร่ คิดเป็น 93.60% ของแผนฯ ที่ 3.39 ล้านไร่ ภาคกลาง มีการปลูกข้าว 0.04 ล้านไร่ คิดเป็น 168.48% ของแผนฯ ที่ 0.02 ล้านไร่ ภาคตะวันออก มีการปลูกข้าว 0.89 ล้านไร่ คิดเป็น 97.58% ของแผนฯ ที่ 0.92 ล้านไร่ ภาคตะวันตก ม
กรมชลประทาน ห่วงข้าวชาวนาขาดน้ำยืนต้นตาย หลังปลูกเกินแผน 3 ล้านไร่ ขอความร่วมมือเกษตรกรพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ทำนาอย่างประณีต ไม่สูบน้ำเก็บเกินจำเป็น เหตุน้ำต้นทุนมีจำกัด วันที่ 27 ก.พ. 64 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงเกษตรกรที่มีการทำนาในช่วงฤดูแล้ง หลังผลสำรวจล่าสุดมีการทำนาปรัง ปี 2563/64 ทั่วประเทศ จำนวน 4.87 ล้านไร่ เกินแผนมากกว่า 2.97 ล้านไร่ หรือ 156.80% จากแผนการเพาะปลูกที่ตั้งไว้ 1.9 ล้านไร่ โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด มีการทำนาเกินแผนแล้ว 2.786 ล้านไร่ จากที่ไม่ได้กำหนดให้มีการทำนาในฤดูแล้งแต่อย่างใด เพราะปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้ กรมชลประทาน ไม่มีน้ำต้นทุนที่จะสนับสนุนการทำนา เกษตรกรต้องใช้น้ำในแหล่งน้ำของตัวเองและแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ จากสถานการณ์น้ำที่จำกัดและการทำนาเกินแผนที่กำหนดไว้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายต่อนาข้าวใน 45 จังหวัดทั่วประเทศ ที่มีพื้นที่ทำนา 3.621 ล้านไร่ เฉพาะใน 4 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และนครศรีธรรมราช มีการทำนาปรังถึง 3.075 ล้านไร่ สำหรับ
ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2563 นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ และมติคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ได้เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษาข้าวให้มีคุณภาพดี เพื่อที่จะมีโอกาสขายข้าวในราคาที่สูงและมีรายได้มากขึ้น โดยสนับสนุนเงินให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในอัตราไร่ละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาทต่อครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 28,046.82 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 4.56 ล้านครัวเรือน โดยในวันนี้ (1 ธันวาคม 2563) ธ.ก.ส. ได้โอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรโดยตรงแล้วกว่า 400,000 ครัวเรือน เป็นจำนวนเงินกว่า 1,600 ล้านบาท
ธ.ก.ส. แจงปัญหา ชาวนาบุรีรัมย์ ใช้พันธุ์ข้าวปลอมปน พร้อมเติมความรู้การเก็บเมล็ดพันธุ์ นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีชาวนา ตำบลไทยเจริญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ได้จัดซื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิจากพนักงาน ธ.ก.ส. แต่เมื่อชาวนานำไปปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต นำไปขายที่สหกรณ์กลับถูกปฏิเสธไม่รับซื้อ เนื่องจากไม่ใช่ข้าวหอมมะลิแท้ แต่เป็นข้าวปลอมปน ทำให้ได้รับความเดือดร้อนนั้น จากการสอบถามข้อมูลในพื้นที่พบว่า ชาวนารายดังกล่าวได้ซื้อพันธุ์ข้าวจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จังหวัดบุรีรัมย์ (สกต.บุรีรัมย์) ในปี 2561 เมื่อนำมาปลูกแล้วได้ผลผลิตที่ดี สามารถขายได้ในราคาที่ตลาดรับซื้อปกติ จึงได้มีการเก็บข้าวบางส่วนไว้ทำเป็นพันธุ์ในปีถัดมา แต่เมื่อนำพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้มาปลูกและขายกลับพบว่ามีการปลอมปน ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดในการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตาม ในกรณีดังกล่าว ธ.ก.ส. ได้มอบหมายให้ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ในพื้นที่ รวมถึงผู้แทน สกต. เข้าพบชาวนาผู้ได้รับความเสียหายดัง
แพทย์ เตือน เกษตรกรสัมผัสดิน โคลนพุ น้ำปนเปื้อนเชื้อโรค เสี่ยงเป็นโรคไข้ดิน นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงที่มีฝนตกหนักหลายพื้นที่อาจมีน้ำท่วมขัง โดยทั่วไปน้ำผิวดินมักปนเปื้อนเชื้อโรค โลหะหนัก และสารเคมี อาจเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ ซึ่งประชาชนกลุ่มเกษตรกรที่ทำไร่ ทำสวน ที่ต้องขุดดิน นับเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเมลิออยโดสิสหรือโรคไข้ดิน ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนในดิน โคลนพุ น้ำ ไม่สะอาด โดยผู้ป่วยโรคไข้ดิน จะมีอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยไม่จำเป็นต้องมีรอยแผลหรือรอยถลอก ติดเชื้อในปอด โดยการสำลักน้ำ หรือหายใจเอาฝุ่นดิน หรือลมฝนเข้าสู่ปอด และจากการสัมผัสเชื้อในดินหรือน้ำ รวมทั้งการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน และผ่านทางการหายใจ ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง มีอาการคล้ายปอดอักเสบติดเชื้อ โดยจะมีอาการทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง มีอาการไข้ ไอ เนื่องจากติดเชื้อในปอด มีอาการอักเสบหรือเป็นฝีที่ผิวหนัง และมีไข้สูง ดังนั้น เกษตรกรจึงควรระวังและป้องกันตนเองด้วยการลดสัมผัสดิน โคลนพุ และน้ำที่ไม่สะอาดหรือปนเปื้อนเชื้อโรค แต่หากมีคว