ทำไร่อ้อย
“ผู้ใหญ่อี๊ด – อนันต์ อินทร” หนุ่มใหญ่ร่างบาง ผิวคล้ำ พูดจาสุขุม เกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้หลักทฤษฎีเกษตรพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาพัฒนาบ้านเกิด จากนักกฎหมายผันตัวเองเป็นเกษตรกร เจ้าของไร่ธันยจิราพร ไร่อ้อยที่ใหญ่สุดในนครสวรรค์ ส่งต่อผลผลิตสู่กลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรผล “การทำอะไรก็ตาม อย่างแรกเราต้องมีใจรักก่อน แล้วมาศึกษา พร้อมกับวางแผน ซึ่งการทำงานของผมจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง (ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) 2 เงื่อนไข (ความรู้และคุณธรรม) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับงานและการดำเนินชีวิตในประจำวัน” ผู้ใหญ่อี๊ด เล่าว่าหลังจากจบการศึกษาระดับม.6 แล้วเรียนต่อในด้านกฎหมาย จากนั้นหันมาทำไร่อ้อย เริ่มต้นลงมือทำเองทุกอย่าง โดยนำหลักต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เน้นการคิดต่าง ผู้ใหญ่อี๊ดเล่าเพิ่มเติมว่าเริ่มทำไร่อ้อยตั้งแต่ปี 2529 จนถึงตอนนี้อายุ 49 ปีแล้ว ปัจจุบันมีไร่อ้อยที่เป็นของตัวเอง 400 ไร่ และมีลูกไร่อีก 3,000 กว่าไร่ การทำไร่อ้อย มีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง? -สิ่งแรกคือเราต้องรู้เกี่ยวกับระบบดินก่อน แล้วนำเอาเรื่องของวิชาการเข้ามาปรับใช้ โดยการนำดิ
การปลูกอ้อยโดยทั่วไปของเกษตรกรพืชไร่ ยังคงดำเนินไปตามกระบวนการและขั้นตอนการปลูก เก็บเกี่ยว และซื้อขาย หากไม่ทำการเกษตรให้ต่าง ก็ยังคงดำรงอาชีพเกษตรกรรมอยู่ได้ แต่เมื่อเกิดความคิดทำเกษตรที่แตกต่าง โอกาสที่จะพบเทคนิค กลยุทธ์ และต่อยอดการเกษตรที่ดำรงอยู่ให้ได้รับการพัฒนาก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน เช่น คุณวงศกร ชนะภัย เกษตรกรหนุ่มไฟแรง ชาวหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ที่บ่มเพาะการเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่เล็ก ด้วยพื้นเพเดิมของครอบครัวทำไร่อ้อย เมื่อว่างเว้นจากการเรียน คุณวงศกร ก็โดดเข้าไร่ เรียนรู้ทุกขั้นตอนและกระบวนการมาด้วยตนเอง หลังจบการศึกษาจึงเปิดกิจการเล็กๆ และทำไร่อ้อยกับครอบครัวพ่วงกันไปด้วย การทำไร่อ้อย ของครอบครัวชนะภัย ยังคงดำเนินมาลักษณะเดียวกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วไป กระทั่ง 5 ปีก่อน คุณวงศกร มีแนวคิดการทำไร่อ้อยอินทรีย์ เขาเริ่มศึกษาแนวทาง และเริ่มทดลองในไร่อ้อยเดิมที่มีอยู่ 60 ไร่ “ผมชอบเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เมื่อตัวเองทำไร่อ้อยก็อยากทำไร่อ้อยอินทรีย์บ้าง ตอนที่เริ่มทำ ก็ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เริ่มสะสมมาเรื่อยๆ จะคิดจะทำจริงจัง ครอบครัวก็ไม่ว่าอะไร