ทิพยประกันภัย
55 ปี สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โครงการหลวงแห่งแรก ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 1,500 บาท แลกกับผืนดินบนดอยอ่างขาง เกิดเป็นโครงการหลวงแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงผืนดินขนาดใหญ่ที่เคยเป็นไร่ฝิ่น และป่าเสื่อมโทรม กลับกลายเป็นสวนสวรรค์แห่งพืชพรรณเมืองหนาว และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคเหนือ หนึ่งในสถานที่ที่คนทั่วโลกอยากมาเที่ยวมากที่สุดในหน้าหนาวนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อสืบสานพระราชปณิธานแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดโครงการ “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา” ครั้งที่ 48 เพื่อนำคณะครูอาจารย์ และผู้สนใจ เดินทางมาเรียนรู้ต้นแบบแห่งความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่สูงของประเทศไทย ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นการเผยแพร่ศาสตร์พระราชา และเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนได้รับรู้ในวงกว้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขางไม่เพียงเ
เชิญครู–อาจารย์ทั่วประเทศ และผู้ที่สนใจ ร่วมตามรอยในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จภูพาน ๑๐๙ ครั้ง “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 47” ทิพยประกันภัย ขอเชิญชวนร่วมโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 47 ในการเดินทางไปเรียนรู้และสัมผัสพระอัจฉริยภาพแห่งการพัฒนา ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน พร้อมกราบนมัสการ “หลวงพ่อองค์แสน” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสกลนคร ณ วัดพระธาตุเชิงชุม เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมรับฟังการบรรยายด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนในทุกมิติ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี และ อาจารย์อดุลย์ ดาราธรรม ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย ผู้คิดค้นนวัตกรรมสื่อการสอนสำหรับเยาวชนในศตวรรษที่ 21 หรือ Interactive Board Game หนึ่งเดียว
ทิพยประกันภัย สานต่อแนวคิดจิตอาสา พาเรียนรู้วิถีพอเพียง ร่วมดำนาในผืนนาประวัติศาสตร์ ณ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) จ.อ่างทอง บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 46 นำคณะครูอาจารย์และผู้สนใจเยี่ยมชม “ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย” ตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงการน้อมนำแนวพระราชดำริด้านจิตอาสาและเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เป็นโครงการที่เกิดจากน้ำพระทัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ที่มีต่อชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2549 ที่สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกว่า 2,161 ไร่ และบ้านเรือนกว่า 650 หลังคาเรือนในจังหวัดอ่างทอง มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จึง
ทิพยประกันภัย ชวนถอดรหัสความสำเร็จ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำครบวงจรแห่งแรกของไทย พลิกฟื้นปากพนัง สู่อู่ข้าวอู่น้ำเมืองคอน บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 45 นำคณะครูอาจารย์และผู้สนใจเยี่ยมชม “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เคยรุ่งเรืองในฐานะเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่อดีต ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในหัวเมืองใหญ่ และมีความสำคัญต่อความมั่นคงในการบริหารราชการแผ่นดิน ในอดีตสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยเสด็จมาประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นระยะเวลานาน เพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทำนุบำรุงเมือง และพระพุทธศาสนา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปูชนียสถานสำคัญของภาคใต้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีความสำคัญตั้งแต่โบราณ เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ และได้รับการขนานนามว่าเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคใ
ทิพยประกันภัย พาครูอาจารย์เยี่ยมชม “เขื่อนภูมิพล” ฉลองครบรอบ 60 ปี มรดกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ชุมชน ในโอกาสครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ทิพยประกันภัย จัดโครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 44 พาครูอาจารย์ นักเรียน และผู้ที่สนใจ เยี่ยมชม “เขื่อนภูมิพล” จังหวัดตาก ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการพัฒนาแบบองค์รวมตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เขื่อนภูมิพล นับเป็นจุดกำเนิดของการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนของประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2500-2507 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ความสำคัญกับโครงการนี้ อย่างยิ่ง ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยของพระองค์ให้เป็นชื่อเขื่อน ในปี พ.ศ. 2500 แทนชื่อเดิมที่มีชื่อว่า “เขื่อนยันฮี” และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนด้วยพระองค์เองในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เขื่อนภูมิพลมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันอุทกภัย การจัดการชลประทาน การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และการอนุรักษ์ระบบน
หนึ่งวัน…ศึกษา เรียนรู้ฟาร์มของแม่ สดุดี…วีรชนค่ายบางระจัน ทิพยประกันภัย จัดโครงการ ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 43 พาคณะครู-อาจารย์ นักเรียน และผู้ที่สนใจลงพื้นที่ ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ หนองลาด จังหวัดสิงห์บุรี ศึกษาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ที่เน้นการเกษตรแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และต้นแบบสำหรับการสร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเรียนรู้ประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าเกี่ยวกับวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน ณ ศูนย์การศึกษาประวัติศาสตร์ค่ายบางระจัน ซึ่งเป็นแบบอย่างของความรักชาติ ความสามัคคี และการรวมพลังของชุมชนในการปกป้องบ้านเมือง สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการพึ่งพาตนเองและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการศึกษา การบริหารจัดการองค์กร และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก คุณปรีชา ดิลกพรเมธี (ที่ 6 จากซ้าย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี โดยมี คุณวิชชุดา ไตรธรรม
ทิพยประกันภัย เดินหน้าสืบสานนวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 38 โครงการตามพระราชดำริ แห่งแรกของระยอง จากพื้นที่แห้งแล้งกลายเป็นแลนด์มาร์กล่าสุดของเมืองพระมหาชนก ทิพยประกันภัย จัดโครงการ ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 38 พาคณะครูอาจารย์ เยาวชน ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน ตามรอยเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่โครงการพระราชดำริแห่งแรกของจังหวัดระยอง โครงการศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ เพื่อเรียนรู้หลักการบริหารจัดการ ดิน น้ำ ป่า คน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมทำกิจกรรม ฝึกปลูกสับปะรดสี เคาะไข่ปลานิล แปลงเพศปลานิล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพ และชมนิทรรศการเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ในรูปแบบมัลติมีเดียภายในหอเฉลิมพระเกียรติ อาคารพระมหาชนก ย้อนไปเมื่อ 44 ปีก่อน ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินพื้นที่จังหวัดระยอง-ชลบุรี ที่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่แห้งแล้ง สาเหตุจากการที่ป่าไม้ถูกทำลาย ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนให
ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 35 พัฒนาความมั่นคงด้านอาชีพ สู่การเป็นเศรษฐีอย่างยั่งยืน ณ โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ จ.เลย ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 35 จัดกิจกรรมพาคณะครูอาจารย์ และผู้สนใจลงพื้นที่ ณ โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ศูนย์เรียนรู้ที่ทำการศึกษาวิจัยจัดตั้งฐานการผลิต เพื่อส่งเสริมและกระจายพันธุ์สัตว์ปีกสร้างพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไทย มอบให้แก่โรงเรียนและเกษตรกรยากจนในจังหวัดเลยและใกล้เคียง ช่วยให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับความรู้และทักษะด้านการเลี้ยงสัตว์ สามารถนำความรู้ไปต่อยอดทำเป็นอาชีพเสริม ดำเนินกิจกรรมในลักษณะกลุ่มเกษตรกรสร้างความเข้มแข็งทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนและชุมชน สร้างอาชีพ มีรายได้เสริม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยคณะครูอาจารย์และผู้ร่วมกิจกรรม จะได้ศึกษาการผลิตหัวอาหารสัตว์ที่เหมาะสมทั้งต้นทุนและวัตถุดิบ สำหรับไก่พันธุ์เนื้อ และพันธุ์ไข่ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ศึกษาการเลี้ยงผึ้ง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงผึ้ง อาทิ เครื่องสำอาง อาหารเสริม สบู่
ทิพยประกันภัย ร่วมสืบสานพระราชปณิธานและเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสนองแนวพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จับมือ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดงาน “ชิคแอนด์ชิล ด้วยผ้าไทย ไปกับทิพย”ภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” รณรงค์ให้พนักงานแต่งกายด้วยผ้าไทยในวันทำงาน นับว่าเป็นองค์กรแรกในธุรกิจประกันภัยไทย ที่เดินหน้าปลุกกระแสการสวมใส่ผ้าไทย เพื่อร่วมอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน รักษา และต่อยอด มรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ตลอดจนสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย กล่าวว่า เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานและเฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาการทอผ้า และสนองพระดำริของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทิพยประกันภัย ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ กระทรวง
ทิพยประกันภัย รับรางวัล “THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023” จากการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่นในทุกๆ ด้าน ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานในงาน “THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023” มอบรางวัลอันทรงเกียรติ “THAILAND TOP COMPANY AWARDS 2023” ประเภท “Outstanding Award” แก่ ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจที่โดดเด่น ทั้งด้านผลประกอบการ ด้านนวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารและเป็นที่ยอมรับของลูกค้าอย่างกว้างขวาง ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ