ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
คนไทยโดนหลอกจากมิจฉาชีพสูงถึง 500,000 กว่าราย เป็นจำนวนเงิน 63,000 ล้านบาท! ส่วนใหญ่เป็นการถูกหลอกจากออนไลน์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยทุจริตทางการเงิน ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในการดำเนินการสำคัญคือ การออกพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อจัดการบัญชีม้าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับเงินและถ่ายโอนเงินจากการกระทำผิด และแลกเปลี่ยนเส้นทางเงินเพื่อสนับสนุนการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ รวมถึง พ.ร.ก. ได้กำหนดโทษเอาผิดกับบัญชีม้าให้ชัดเจนขึ้นด้วย โดยพบว่าช่วงที่ผ่านมา การหลอกลวงมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น แต่การหลอกลงทุน คือ วิธีการสูงสุด รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน และหลอกให้ซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น โดยจากข้อมูลมีจำนวนคดีการหลอกลวงสูงถึง 500,000 กว่าคดี นับเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 63,000 ล้านบาท นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2567 “ที่ผ่านมา การจัดการกับบัญชีม้า
ธปท.- สมาคมธนาคารไทย ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และรายได้ลูกหนี้ จากสถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้การแพร่ระบาดมีความไม่แน่นอนสูง และมีแนวโน้มยืดเยื้อและผันผวนกว่าที่คาด กระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงขึ้น แต่ละภาคเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวช้าออกไปและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ระยะสั้นแบบเดิม เช่น การพักชำระหนี้เป็นครั้งคราว หรือปรับโครงสร้างหนี้แบบระยะสั้น จึงไม่ตอบโจทย์ที่จะทำให้ทุกฝ่ายผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ในการนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย เห็นร่วมกันในการผลักดันมาตรการในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยให้สอดคล้องกับคาดการณ์รายได้ของลูกหนี้ เช่น ในช่วงที่รายได้ของลูกหนี้ยังไม่กลับมาและอาจต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว ภาระการชำระหนี้ของลูกหนี้ก็ควรอยู่ในระยะต่ำ แล้วค่อยๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้นในระยะถัดไป แต่ไม่ใช่การเลื่อนหรือพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือเป็นไปตามแถลงข่าว ธปท. เรื่อง มาตรการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผล
ธนาคารพาณิชย์-ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เตรียมเปิดให้บริการตามปกติตั้งแต่ 30 มี.ค. 63 งดรับการเปิดบัญชี-ผูกพร้อมเพย์ที่สาขา ช่วง 30-31 มี.ค. เลี่ยงแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขอแจ้งว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (30 มีนาคม 2563) ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รวมถึงธนาคารออมสินที่ได้ประกาศปิดทำการไปก่อนหน้านี้ พร้อมเปิดให้บริการตามปกติ แต่งดให้บริการเปิดบัญชีใหม่ และบริการผูกพร้อมเพย์ที่สาขา ในระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2563 แต่สามารถดำเนินการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ได้ขอความร่วมมือให้ยกเว้นกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากมารวมตัวกัน เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างและเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งนี้ ทุกธนาคารยังคงให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของลูกค้า พนักงาน และสาธารณชน และขอแนะนำให้ลูกค้าเลือกเปิดบัญชี ผูกพร้อมเพย์ และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และออนไลน์ข