ธุรกิจการบิน
ท่องเที่ยวนิด้า จัดแข่งขันตอบคำถามระดับชาติภาคธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว โรงแรม และธุรกิจการบิน ครั้งที่ 8 คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดการแข่งขันตอบคำถามระดับชาติภาคบริการ ด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม และธุรกิจการบิน รางวัล GSTM NIDA Awards ครั้งที่ 8 และการประกวดมัคคุเทศก์นำเที่ยว ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดย นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมเป็นประธานเปิดงานแข่งขัน ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ มนต์พานทอง คณบดีคณะการจัดการการท่องเที่ยว และนักศึกษา 1,500 คน จากทั่วประเทศไทย ร่วมกิจกรรมการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์จัดการแข่งขันตอบคำถามระดับชาติ ครั้งที่ 8 เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน นิสิต และนักศึกษาในงานด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม และธุรกิจการบิน และเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายระหว่างนักศึกษาสาขาด้านการท่องเที่ยวและการบริการจา
ม.ศรีปทุม เผย ไทยขาดแรงงานทักษะสูง 4 สาขาอาชีพ กว่า 2 แสนอัตรา ม.ศรีปทุม เผย ไทยกำลังขาดแรงงานทักษะสูงใน 4 สาขาอาชีพ กว่า 200,000 อัตรา “วิศวกรระบบราง-โลจิสติกส์ซัพพลายเชน-การบินและคมนาคม-การท่องเที่ยวและบริการ” หลังรัฐบาลเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ ของประเทศ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า จากการมุ่งหน้าขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) ของรัฐบาล ซึ่งครอบคลุม ทางบก ราง น้ำ อากาศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศรวมถึงการเชื่อมโยงออกไปยังภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก อาทิ โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่เริ่มพัฒนาไปก่อนหน้านั้น โครงการพัฒนาระบบรางเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะภายในประเทศและเชื่อมโยงออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ และการผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค (Aviation Hub) โดยการปรับปรุงสนามบินหลักทั่วประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้อง
อุตสาหกรรมการบิน ขยายตัวต่อเนื่อง อาชีพวงการนี้ ตลาดแรงงานคึกคัก เยาวชนที่กำลังจะจบการศึกษาระดับชั้น ม.6 และมีความฝันอยากจะทำงานในธุรกิจการบิน ขอแนะนำสาขาวิชาที่รับประกันว่าเรียนจบแล้ว ไม่ตกงานแน่นอน คือ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบินและการขนส่ง ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบินที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแน่นอนว่าประเทศไทยต้องเร่งเพิ่มจำนวนบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งนั่นก็หมายถึงโอกาสในการทำงานที่มากขึ้น และวันนี้ “แบรนดั้น ว๊อกเกอร์” รุ่นพี่ปี 4 จะมารีวิวการเรียนการสอนของหลักสูตรนี้ที่ ม.รังสิต ให้เห็นว่าที่นี่เขาเรียนกันอย่างไร แบรนดั้น ว๊อกเกอร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบินและการขนส่ง วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า สำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนที่จบออกไปจะได้บริญญาทางด้านบริหารธุรกิจ เรียกว่า เรียน 1 ได้ถึง 2 คือ ได้องค์ความรู้ทั้งด้านบริหารและการบริการไปพร้อมกัน เรียนทุกอย่างตั้งแต่ส่วนประกอบเครื่องบิน การบริการบนเครื่อง การบริการในสนามบิน
ภายใน ปี 2575 ทุกธุรกิจเกี่ยวข้องการบิน โดยเฉพาะท่องเที่ยว จะฟื้นตัวต่อเนื่อง เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยแอร์โรนอติคอล เซ็นเตอร์ จำกัด (TAC) โดย พล.อ.ต.กมล ผิวดำ ประธานกรรมการบริษัท ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ บริษัท เอวิเอชั่น เมนเทนแนนซ์ เอ็กซ์เพิร์ท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (AMEE) บริษัทน้องใหม่ในอุตสาหกรรมการบิน โดย คุณภิญญ์ชยุตม์ อัครกุลศานต์ ประธานกรรมการบริษัท พล.อ.ต.กมล กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้เติบโตอย่างครบวงจร ทั้งเรื่องของการฝึกบิน การขนส่ง และการซ่อมบำรุง ปัจจุบัน TAC มีโรงเรียนการบิน เปิดให้บริการด้านการฝึกบินภายใต้ชื่อ TAC Flying Academy เป็นสถาบันการบินเอกชนที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) นอกจากนี้ TAC ยังได้สร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ทำการซ่อมบำรุงอากาศยานของโรงเรียนในเบื้องต้น และให้บริการกับอากาศยานภายนอกควบคู่ไปพร้อมกัน โดยขั้นตอนการทำงานทั้ง 2 รูปแบบอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลมาตรฐานการดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อให้มีความปลอดภัยในมาตรการการเดินอากาศระดับสากล พล.อ.ต.กมล กล่าวถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมการ
สจ๊วตรับจ๊อบ “ติวออนไลน์-ขายขนม” หารายได้ช่วงพักบิน รายได้อย่างต่ำแตะหมื่น! สจ๊วตรับจ๊อบ – เป็นที่พูดถึงกันมาสักพักแล้ว กับวงการธุรกิจการบิน หลังได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายการบินทั้งรายใหญ่รายย่อยต้องหยุดบิน ทำให้เหล่านักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส ต้องพักงานกันยาวๆ จนหันไปรับจ๊อบ ทำธุรกิจอื่นระหว่างรอให้สถานการณ์กลับมาเป็นเหมือนเดิม “เส้นทางเศรษฐีออนไลน์” ได้สัมภาษณ์ คุณบอม-ภัทรภน สุวรรณเลิศ สจ๊วตของสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ วัย 29 ปี เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เขาเจออยู่ โดยเขาเล่าให้เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ฟังว่า เขาทำงานเป็นสจ๊วตมาได้ 1 ปี กับอีก 4 เดือน เมื่อไวรัสโควิด-19 มาเยือน ทำให้บริษัทซึ่งเป็นธุรกิจการบิน ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงมีมติเห็นชอบ ในการปรับลดเงินเดือนของพนักงาน รวมถึงเฝ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาสถานภาพทั้งทางธุรกิจและพนักงานเอาไว้ “ตอนรู้ว่าต้องหยุดงานแบบไม่มีกำหนดก็ตกใจครับ เพราะก่อนจะเกิดโควิด ก็มีไฟลต์บินปกติ ก็ไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้น แต่ผมก็รับติวเตอร์มาก่อนที่จะมาเป็นสจ๊วต และก็ทำเป็นจ๊อบเสริมมาเ