ธุรกิจค้าปลีก
บิ๊กซี ร่วมกับพันธมิตรแบรนด์เครื่องดื่มและอาหาร จัดงาน Big C Festa Party! @ Big C สร้างสรรค์ไอเดียเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ เทศกาลแห่งความสุข วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BRC) เปิดเผยว่า “เทศกาลปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่เป็นเทศกาลที่พิเศษที่สุดของคนไทยที่ทุกคนรอคอย ซึ่งเทศกาลสำคัญนี้เป็นเทศกาลที่สมาชิกในครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา และมีความสุข ความสนุกสนาน มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ รวมถึงเป็นช่วงเวลาแห่งการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ของไทย จึงถือโอกาสครั้งสำคัญนี้จัดงาน “Big C Festa Party!” โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตร 19 บริษัท 22 แบรนด์ ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องดื่มและอาหารชั้นนำต่างๆ ได้แก่ โค้ก, เอส, เป๊ปซี่, สิงห์, โออิชิ, ชบา, ยูนิฟ, ทิปโก้, ซี-วิท, ปิยะเวท, บลูไดมอนด์, กู้ดเมท, ไวตามิลค์, โอวัลติน, พริงเกิลส์, ซัมยัง, ลีโอ, แอปโซลูท, บาคาร์ดี, บัดไวเซอร์, กอมเบ, สปาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นไอเดีย
ค้าปลีก ปี 2566 ขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง ท่ามกลางค่าครองชีพและกำลังซื้อที่ยังคงกดดันการใช้จ่ายของผู้บริโภค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2566 จะขยายตัวอยู่ที่ราว 2.8-3.6% ชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวราว 6.4% เนื่องจากผลของภาวะเงินเฟ้อ และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยการเติบโตในปี 2566 นอกจากผลของราคาสินค้าที่ยังมีอยู่ การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลของมาตรการช้อปดีมีคืน 40,000 บาท ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2566 และการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ภาพรวมของตลาดค้าปลีกยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ทั้งนี้ แรงหนุนจากมาตรการช้อปดีมีคืนที่อาจจะกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้บางส่วน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และกิจกรรมการใช้จ่ายที่คงถูกกระตุ้นในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป ที่อาจเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม น่าจะหนุนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกในช่วงครึ่งแรกปี 2566 ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภา
ธุรกิจค้าปลีก ไตรมาสสุดท้ายปี 64 ส่อแววฟื้นตัว หลังรัฐคลายล็อกดาวน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจค้าปลีกน่าจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 64 จากสถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศ และการเข้าถึงวัคซีนของประชาชนที่เริ่มมีสัญญาณบวก จนทำให้ภาครัฐทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์ ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศเพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว รวมถึงสัญญาณความเป็นไปได้ในการกลับมาเปิดดำเนินกิจการของธุรกิจอย่างสถานบันเทิง สะท้อนโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดจากการระบาดของโควิดมาแล้ว โดยคาดว่า ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ น่าจะกลับมาฟื้นตัวที่ประมาณ 1.4% (คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อเพิ่มเติม) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี 63 ที่หดตัว 1.2% ซึ่งการคลายมาตรการล็อกดาวน์น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ประกอบกับเป็นจังหวะที่ธุรกิจต่างๆ น่าจะมีการออกแคมเปญทำตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน ธ.ค. ที่มีเทศกาลเฉลิมฉลองสำคัญอย่างเทศกาลปีใหม่ แม้สถานการณ์การระบาดในช่
แม็คกรุ๊ป ดึง “เจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์” มือดีธุรกิจค้าปลีกแฟชั่น ร่วมทีมบริหาร วันที่ 1 มิ.ย.2564 คุณสุณี เสรีภาณุ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และรองประธานกรรมการ บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MC แบรนด์แฟชั่นยีนสัญชาติไทย ที่อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 46 ปี เปิดเผยว่า ล่าสุด คณะกรรมการของบริษัทได้มีมติแต่งตั้ง คุณเจมส์ ริชาร์ด อมตวิวัฒน์ เข้าร่วมทีมบริหารของบริษัท โดยเข้ามาดำรงตำแหน่ง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารแทน คุณวิรัช เสรีภาณุ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2564 เป็นต้นไป “คุณเจมส์อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากว่า 25 ปี ด้วยประสบการณ์การบริหารบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค เช่น ประเทศจีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ รวมถึงการทำงานกับบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง อาทิ P&G Coca-Cola Johnson &Johnson ตลอดจนมีประสบการณ์การเป็นผู้บริหารในบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กล่าวได้ว่า การเข้ามาของคุณเจมส์สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนการเติบโตของแม็คกรุ๊ปในการทำธุรกิจแฟชั่นไลฟ์สไตล์ ที่มีช่องทางการขายในรูปแบบ Omni Channal อย่างเต็มรูปแบบ” สำหรับทิศทางธุร
‘ค้าปลีกไทย’2562-ซึมถึงทรุด! เอกชนแนะโจทย์ที่รัฐต้องแก้ ‘ค้าปลีกไทย’2562-ซึมถึงทรุด! เอกชนแนะโจทย์ที่รัฐต้องแก้ – ณวันนี้ ผ่านมาเดือนกว่าๆ และมองยาวไปทั้งปี ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังดูลุ่มๆ ดอนๆ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก เห็นได้จากในปี 2561 ขยายตัวเพียง 3.1% ซึ่งเดิมทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ประเมินทั้งปี 2561 ภาคค้าปลีกจะเติบโต 4.0-4.2% เพราะครึ่งปีแรกของปีมีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น แต่กลับชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง และมีแนวโน้มจะต่อเนื่องมาจนถึงครึ่งปีแรกของปีนี้ นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ภาคค้าปลีกในครึ่งปีแรกของปีนี้คงหวังไม่ได้กับ “มาตรการ อั่งเปาช่วยชาติ” ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภค ซึ่งเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการจับจ่ายกว่าแสนล้านบาท จากที่มีผู้บริโภคเข้าร่วมโครงการกว่า 6 ล้านคน ข้อมูลล่าสุดมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนเพียงหลักหมื่นคน จับจ่ายเหลือแค่หมื่นล้านบาท เมื่อรวมการเลือกตั้งที่จะมีเงินสะพัดราว 50,000 ล้านบาท ส่งผลให้ครึ่งปีแรก จะมีเงินสะพัดเพียง 60,000 ล้านบาท ถือว่าค่อนข้างน้อย จากที่เคยคาดว่าอยู่ระดับ แสนล้านบาท ภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรกคงจะไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างไร คาดการณ์คร