ธุรกิจร้านอาหาร
จากเรื่องราวที่ผู้เขียนได้ไปพูดคุยกับเจ้าของร้านเครื่องเขียนแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากเดิมใช้ดินสอปากกากันมาก แต่ปัจจุบันหันไปใช้ไอแพด เทคโนโลยีกันเกือบหมด จนทำให้ต้องวางมือและปิดตัวลง จากเรื่องราวที่สะท้อนใจนี้ ทำให้มองเห็นถึงประเด็นต่างๆ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงธุรกิจอะไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และควรที่จะทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะสามารถก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้ สิ่งที่กำลังจะบอกต่อไปนี้ คือการทำความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจที่ไม่ว่าใครก็มักจะผันตัวเองมาทำกันมากที่สุด คือ การขายอาหาร เพราะมองว่าง่ายและน่าจะทำได้ แต่การเปิดร้านอาหารไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กๆ เสิร์ฟอาหารจานเดียว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก คือการสร้างรสชาติที่อร่อยถูกปาก เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร้านสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและสร้างผลกำไรได้ การทำความเข้าใจเรื่องต้นทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Costs)
ฟองสบู่ ‘ร้านอาหาร’ แตก! วิกฤตที่คนทำร้านต้องจับตา เอาตัวรอดอย่างไร? ในยุคที่มีแต่ความท้าทายและยุคเศรษฐกิจผันผวน “ฟองสบู่ร้านอาหาร” เป็นคำเปรียบเทียบที่ใช้อธิบายสถานการณ์ที่ธุรกิจร้านอาหารเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไป โดยมีจำนวนร้านอาหารเปิดใหม่มากเกินกว่าความต้องการที่แท้จริงของตลาด จนทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง นำไปสู่เหตุการณ์ที่เรียกว่า “ฟองสบู่ร้านอาหารแตก” ที่เมื่อธุรกิจอาหารมีมากเกินความต้องการของตลาด จนเกิดการแข่งขันที่สูง และร้านอาหารจำนวนมากต้องปิดตัวลง โดยมีสาเหตุหลักๆ ดังนี้ การเติบโตที่รวดเร็วเกินไป ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทที่กำลังเป็นที่นิยม เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านหม่าล่า ร้านคาเฟ่ และร้านอาหารเกาหลี ทำให้มีการเปิดร้านอาหารใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก เมื่อมีร้านอาหารจำนวนมากเปิดให้บริการ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ทั้งในด้านราคา คุณภาพ และการบริการ ทำให้ร้านอาหารที่ไม่สามารถปรับตัว หรือไม่มีจุดเด่นที่ชัดเจนต้องปิดตัวลง ภาวะเศรษฐกิจและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และค่าครองชีพที่สูงขึ้
‘เผ็ดเผ็ด’ จากร้านเล็กๆ มีเพียง 30 เมนู สู่จักรวาลอาหารอีสานโฮมเมด ขยายสาขากว่า 8 แห่ง ทะยานสู่รายได้ร้อยล้าน เมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนอาจจะนึกถึงเมนูง่ายๆ รสชาติจัดจ้าน ที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ แต่สำหรับร้าน ‘เผ็ดเผ็ด’ การนำเสนออาหารอีสานกลายเป็นเรื่องราวที่ลึกซึ้งและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งวัตถุดิบที่คัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน สูตรอาหารที่ผ่านการทดลองและพัฒนาโดย คุณต้อม-ณัฐพงศ์ แซ่หู และ คุณโอม-ณัฐกร จิวะรังสินี เจ้าของร้าน ‘Phed Phed – ร้านเผ็ดเผ็ด’ ซึ่งทั้งคู่ดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดที่เต็มไปด้วยแพชชัน ปัจจุบันเปิดมาแล้ว 8 ปี ขยายสาขาไปกว่า 8 แห่ง ซึ่งแต่ละสาขาจะมีคอนเซ็ปต์และเมนูที่แตกต่างกันตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ หากใครอยากทานต้อง Walk-In เข้ามาเท่านั้น ซึ่งพีกสุดเคยมีลูกค้ามาต่อคิวมากถึง 120 คิว โดยจากผลประกอบการ บริษัท รสเผ็ดดี จำกัด เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมาสามารถทำรายได้ 116 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2.2 ล้านบาท เรียกได้ว่าเติบโตพุ่งสูงขึ้นจากปีก่อนๆ จุดเริ่มต้นของเผ็ดเผ็ด คุณต้อม เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำร้านอาหาร เขาเคยทำร้านกระเป๋ามาก่อน ซึ่งก็มีการทำกระเป๋าบวกกับการลงรูปอ
ปี 68 ‘สตรีตฟู้ด’ โตแรง นักท่องเที่ยว-คนไทยชอบ เพราะกินง่าย เดินไปที่ไหนก็เจอ แถมราคาถูก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2568 มูลค่าตลาดร้านอาหาร (รวมร้านอาหารประเภทร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด และร้านอาหารข้างทางหรือ Street Food ที่มีหน้าร้าน) จะมีมูลค่ารวมประมาณ 572,000 ล้านบาท เติบโต 4.8% จากปี 2567 การเติบโตของร้านอาหารแต่ละรูปแบบมีปัจจัยเฉพาะที่ต่างกัน อาทิ ทำเลที่ตั้งของร้าน ความหนาแน่นของร้านอาหารทั้งที่เป็นประเภทเดียวกันและต่างกันในแต่ละพื้นที่ รวมถึงราคา คุณภาพหรือรสชาติของอาหาร และการให้บริการ รวมไปถึงเทรนด์การบริโภคของผู้บริโภค การนำเสนอเมนูใหม่ๆ และมีเอกลักษณ์ก็มีผลต่อการเติบโตของร้านอาหาร – ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants) คาดว่าจะเติบโต 2.9% จากปี 2567 หรือมีมูลค่า 213,000 ล้านบาท โดยร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่มองเรื่องความคุ้มค่าและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป สำหรับกลุ่มร้านอาหารประเภทอะลาคาร์ต (A La Carte) อย่างกลุ่ม Casual Dining อาทิ ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และตะวันตก ในกลุ่มราคาระดั
ออกจากเชฟ สานฝัน เปิดร้านราเมน ด้วยคอนเซ็ปต์ “ขายราเมนในราคาสบายกระเป๋า” จากเชฟร้านอาหาร ลาออกมาเปิดธุรกิจเป็นของตัวเอง ใช้ประสบการณ์ที่มีผสมกับความชอบ พร้อมกับเงินลงทุน จึงได้เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นตามที่ตัวเองต้องการ เป็นเวลาหลายปีที่ Gary Chua Lee Heng เคยมีความคิดที่จะเริ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของตัวเอง และในที่สุด เมื่อเขามีอายุ 33 ปี ก็มีธุรกิจเป็นของตัวเองที่ Bedok North แล้ว นั่นก็คือร้าน Tsuki Ramen เขาตัดสินใจเปิดร้านอาหาร เน้นขายราเมนเป็นหลัก โดยขายราเมน 1 ชามในราคาสบายกระเป๋าเพียง $6.90 หรือประมาณ 225 บาท รวมถึงอาหารญี่ปุ่นราคาไม่แพง อย่าง เกี๊ยวซ่าหมูและคาราอาเกะไก่ ต้องบอกว่า Gary Chua Lee Heng เคยทำงานเป็นเชฟอยู่ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นอีกร้านหนึ่ง คือร้าน Takagi Ramen ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ความหลงใหลอันลึกซึ้งต่อราเมน “ผมเลือกที่จะเปิดกิจการของตัวเองซึ่งขับเคลื่อนด้วยความหลงใหลอย่างลึกซึ้งในราเมน” เขาบอก เขาเชื่อมั่นอย่างยิ่งในศักยภาพของ Tsuki Ramen และรู้สึกว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มต้นการเดินทางครั้งนี้และสร้างสรรค์สิ่งที่มีคว
ร้านเล็กก็รวยได้! คอร์สเรียนฟรี อัปสกิลร้านอาหาร เคล็ดลับเพิ่มยอดขายปังตลอดปี ในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัว หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหายอดขายที่น้อยลง แต่สำหรับ ธุรกิจร้านอาหาร ที่เป็นภาคธุรกิจสำคัญในด้านธุรกิจการบริการ ภาคการบริโภคของคนในประเทศ และเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งที่เยอะพอสมควร ซึ่งการทำ การตลาดร้านอาหาร นั้น ไม่ได้ยากอย่างที่ใครหลายๆ คนคิด เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจพื้นฐาน เข้าใจหลักการ และตามทันโลกอยู่เสมอ ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ก็สามารถสร้างยอดขายแบบปังๆ ได้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีคอร์สอัปสกิล เรียนฟรีจากแม็คโคร มาแนะนำ เป็นหลักสูตร “หมัดเด็ดร้านอาหารขายดี กลยุทธ์เพิ่มยอดปังตลอดปี” ที่ทำขึ้นมาเพื่อช่วยให้เจ้าของร้านอาหารสามารถพัฒนาทักษะ เพิ่มยอดขาย และสร้างกำไรได้แบบปังๆ โดยเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐาน, จุดแข็งพัฒนาจุดอ่อน, กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย, เคล็ดลับเมนูเด่น, การตั้งราคา, วิธีการเลือกทำเลที่ถูกต้อง และการทำให้ลูกค้ากลับมาหาเราซ้ำๆ มีทั้งหมด 9 บทเรียน บทที่ 1 : 3 เหตุผลที่จะทำให้คุณขายดีขึ้น บทที่ 2 : 4 ปัจจัยที่ลูกค้ายอมจ่ายไม่เท่ากัน บทที่ 3 : กลยุทธ์เพิ่มจุดขายให้ร้านคุณ บทที่ 4 :
“อ่าวขนอมซีฟู้ด” พลิกธุรกิจรับเทรนด์ จากโรงแรมสู่ร้านอาหารทะเลสด เน้นของสด คุณภาพดี ราคาหลักร้อย! “การทำธุรกิจ เราจะฟิกซ์ตายตัวไม่ได้ ต้องดูว่าตอนนี้แนวโน้มตลาดมันเป็นยังไง อย่างที่พี่บอกว่าตอนนี้ซีฟู้ดเป็นแนวนี้ แต่อีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะเปลี่ยนแนวไปแล้วก็ได้ ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนไปตามเทรนด์” คุณลี-สุมาลี พยุหนาวีชัย เจ้าของร้านอาหาร “อ่าวขนอมซีฟู้ด” ที่ก่อนหน้านี้เคยทำธุรกิจมามากมาย อีกทั้งยังมีการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกิจโรงแรมมากว่า 18 ปี และต่อยอดทำร้านกาแฟ มีของทานเล่น มุมถ่ายรูป ซึ่งช่วงแรกๆ ที่เปิด มีลูกค้ามากว่า 4,000 คน แต่เมื่อกระแสคาเฟ่เบาบางลง จึงแตกไลน์ธุรกิจเพิ่ม เป็นร้านอาหารทะเล ที่เน้นของสด อาหารอร่อย ราคาจับต้องได้ และมีบรรยากาศที่สวยงาม ชวนให้อยากมาถ่ายรูปเช็กอิน จากโรงแรมสู่ร้านอาหาร ก่อนที่จะมาเปิดร้านอาหารทะเล คุณลี เล่าว่า ก่อนหน้านี้ทำธุรกิจโรงแรมมาก่อน จนปัจจุบันเปิดมาประมาณ 17-18 ปี ชื่อว่า “ราชาคีรี” ซึ่งขนอมเป็นแหล่งท่องเที่ยวแนวธรรมชาติ ลูกค้าที่มาพักที่โรงแรม ส่วนใหญ่จะพักแค่ 2 วัน 1 คืน แล้วก็กลับ เพราะที่ขนอมไม่มีกิจกรรม
ครัวชุมสาย ตำนานร้านอาหารไทยกว่า 40 ปี จากรุ่นสู่รุ่น แต่รสชาติยังเหมือนเดิม รุ่นคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อร้านอาหาร “ครัวชุมสาย” หรือบางท่านอาจจะเคยได้ลองลิ้มรสชาติของอาหารไทยที่ผ่านการปรุงอย่างพิถีพิถัน และมีรสชาติแบบไทยแท้ๆ จากร้านนี้กันมาบ้าง วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จะขอมาเล่าเรื่องราวของตำนานความอร่อยกว่า 40 ปี จากรุ่นสู่รุ่น โดยได้นั่งพูดคุยกับ คุณน้ำฝน-ลัคษณวรรณ ชุมสาย ณ อยุธยา เจ้าของร้านครัวชุมสาย รุ่นที่ 2 บอกเล่าถึงเส้นทางที่บางครั้งกว่าจะสุขสบาย ชีวิตก็เคยผ่านจุดที่เรียกได้ว่า ท้อแท้มาก่อน ย้อนไปเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว คุณน้ำฝน เล่าว่า “ครัวชุมสาย” เกิดขึ้นโดยคุณพ่อคุณแม่ ที่เป็นคนชอบทำอาหารกันอยู่แล้ว โดยเริ่มเปิดขายที่ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ณ ช่วงเวลานั้น กิจการค่อนข้างไปได้สวย และขายดีมาก เนื่องจากยังไม่ค่อยมีร้านอาหารแนวนี้มากเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ในห้างก็เริ่มซบเซา และปิดตัวเพราะไม่มีคน ร้านอาหารจึงต้องปิดตัวลง และย้ายถิ่นฐานไปอยู่โคราช ก็ไปเปิดร้านอาหารในห้างแห่งหนึ่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่นานก็ได้กลับมาเริ่มต้นใหม่ ด้วยที่คุณพ่อคุณแม่เป็
“จำลูกค้าให้ได้” เรื่องเล็กๆ แต่เป็นหัวใจสำคัญของคนทำงานบริการ เคล็ดลับที่ร้านดัง โรงแรมชั้นนำ เลือกใช้ ผมไม่ใช่คนเรื่องมาก แต่แค่อยากให้คน “จำ” จริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้เรียกร้องว่าจะต้องให้ทุกคนมา “จำ” หรอกนะครับ เพียงแต่บางเหตุการณ์ บางกรณีเท่านั้น ที่ต้องการให้คน (ที่เกี่ยวข้อง) “จำ” เกี่ยวกับเราบ้าง อารมณ์อยากให้คนจำนี้ เกิดขึ้นวันหนึ่งในโรงแรม เมื่อพนักงานหน้าเคาน์เตอร์ เอ่ยปากชักชวนผมให้สมัครสมาชิกของโรงแรม เพื่อรับส่วนลด เงื่อนไขการเป็นสมาชิก และการได้ส่วนลด ผมมีข้อมูลอยู่แล้ว และไม่ได้รู้สึกเบื่อหรือรำคาญ ถ้าจะต้องฟังข้อเสนอซ้ำ เพราะเข้าใจถึงหน้าที่ของพนักงาน เพียงแต่ผมรู้สึกหงุดหงิดกับคำถามเริ่มต้นเท่านั้นเองครับ “คุณลูกค้ามาพักกับโรงแรมของเราบ่อยไหมคะ” ฟังดูแล้วไม่น่ามีอะไรที่ควรทำให้ผมหงุดหงิดใช่ไหมครับ แต่…ในช่วงเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา ผมมีภารกิจเกี่ยวกับงาน ที่ทำให้ต้องมาพักที่โรงแรมแห่งนั้น “ทุกสัปดาห์” ขอย้ำว่า ตลอด 4 เดือน ผมเข้าพักโรงแรมแห่งนั้นทุกสัปดาห์ และสัปดาห์ละ 2 วัน บ่อยจน รปภ. ทั้งกะกลางวัน และกะกลางคื
“เบอร์เกอร์น้ำแตก” ปรับความเลี่ยน เปลี่ยนเป็นความแซ่บ ยอดขายหลักแสน สู่แฟรนไชส์หมื่นต้นๆ ในขณะที่ประเทศไทยมีร้านเบอร์เกอร์อยู่เกือบจะทั่วทุกแห่งหน ทั้งรายใหญ่รายย่อย แต่มีร้านเบอร์เกอร์เล็กๆ ที่เปิดมาได้ปีกว่า จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ทำจากความชอบ สู่ความเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ชัด เวลาเพียง 1 ปี สามารถทำให้เขาคนนี้ คุณบอย-เชาวลิต วงษ์มะเซาะ อายุ 38 ปี เจ้าของร้านเบอร์เกอร์น้ำแตก สร้างแบรนด์เบอร์เกอร์และทำให้คนเปิดใจยอมรับในตัวสินค้าของเขาได้ จนพัฒนามาเป็นแฟรนไชส์ สร้างอาชีพให้กับคนอื่นๆ เริ่มต้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในร้านบุฟเฟต์ ในตอนแรก ร้านเบอร์เกอร์ยังไม่ได้มีหน้าร้านแต่อย่างใด แต่เป็นการวางขายในร้านบุฟเฟต์ของเพื่อน แต่ผลการตอบรับจากลูกค้าในร้าน ต้องบอกว่าดีมากๆ เลยทำให้เป็นการจุดประกายความคิดว่าน่าจะนำเบอร์เกอร์ออกมาขายให้ลูกค้าที่ต้องการเฉพาะเบอร์เกอร์ เลยคิดลองทำมาเป็นตัวแฟรนไชส์เลยทันที การตัดสินใจที่แน่วแน่และรวดเร็ว ไม่ได้บอกว่าเขาจะไม่เตรียมตัวและศึกษาเรื่องธุรกิจแต่อย่างใด แต่เขามีฐานความรู้จากการทำร้านบุฟเฟต์กับเพื่อนมาอยู่แล้ว โดยทำในเนื้องานที่เกี่ยวกับระบบหลังบ้าน ก