ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม
รวมแฟรนไชส์เครื่องดื่มและของหวาน เดือนพฤษภาคม ดับกระหายคลายร้อน ต้อนรับเปิดเทอม เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมก็ยังร้อนอยู่ ด้วยอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้คนมองหาสินค้าและบริการที่ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย ทำให้ธุรกิจประเภทเครื่องดื่มและไอศกรีมเป็นที่นิยมมาก เพราะนอกจากจะได้ความอร่อยแล้ว ยังสามารถคลายร้อนได้อีกด้วย จึงเป็นโอกาสทองสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาธุรกิจทำกำไร แต่การเลือกทำเลที่ตั้งในการขายนั้น เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของธุรกิจ ทำเลที่เหมาะสม ส่งผลต่อยอดขายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะธุรกิจอะไรก็ตาม ถ้าทำเลดีก็จะทำให้ขายดีตาม อย่างแรกในการเลือกทำเล ต้องดูก่อนว่าขายอะไร กลุ่มเป้าหมายของร้านเราคือใคร หากเป็นเครื่องดื่มหรือของหวานนั้น ควรจะเปิดบริเวณที่มีผู้คนสัญจรไปมา เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย เป็นต้น และที่สำคัญ ควรศึกษาดูว่าพื้นที่แถวนั้นมีร้านขายอาหารประเภทเดียวกับเราเยอะไหม หรือต้องสร้างจุดเด่นที่แตกต่างเพื่อดึงดูดลูกค้า วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ จึงมี 5 แฟรนไชส์น่าลงทุนมาแนะนำกัน 1. Soft & Sweet ที่มา จุดเริ่มต้น เกิดจากคุณมล-ศิริวิมล พุทธเบญจพจน์ อดีตพนักงานบัญชี ได้ลา
สูตรแรกของโลก “กาแฟพริก” นวัตกรรมสิทธิบัตรคนไทย ตีตลาดจีน ปัจจุบัน “กาแฟ” นับเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคยอดนิยมเป็นอันดับ 2 ของโลก ผู้เล่นยักษ์ใหญ่ในตลาดต่างงัดกลยุทธ์ดึงลูกค้ากันอย่างดุเดือด อย่างล่าสุดมีผู้เล่นรายใหม่ผลิตสูตรกาแฟที่ได้ยินแล้วถึงกับร้องว้าวจนอยากชิมรสชาติดูสักครั้ง “กาแฟพริก” ภายใต้แบรนด์ “พริกค่ะ สไปซี่ คอฟฟี่” (PRIKKA Spicy Coffee) สูตร 3 in 1 ที่มีสารสกัดจากพริกขี้หนูเป็นส่วนผสมสูตรแรกของโลก คิดค้นและพัฒนาโดย เภสัชกรหญิงศศิมา อาจสงคราม หรือ คุณดาว ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์เฮิร์บ ฟาร์ม่า จำกัด ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ เมืองนวัตกรรมอาหาร Food Innopolis สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) “กาแฟพริก” อร่อย ดีต่อสุขภาพ และแตกต่าง คุณดาว เล่าให้ฟังว่า มองเห็นถึงศักยภาพและความใหญ่ของตลาดกาแฟ ด้วยเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่คนทั่วโลกดื่มมากเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำดื่มธรรมดา และเป็นสินค้าโภค
นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในประเทศเวียดนาม พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของเวียดนามมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งด้านจำนวนโรงงานและคุณภาพมาตรฐานการผลิต ดังนั้น ไทยควรดำเนินการค้าในเชิงพันธมิตรเจาะตลาดเวียดนาม หรือรูปแบบธุรกิจร่วมทุน โดยอาจร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งผู้ผลิตไทย เวียดนาม และภาครัฐบาล และดำเนินกลยุทธ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.กลยุทธ์ด้านการผลิต ผู้ประกอบการควรควบคุมและบริหารต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากปัจจัยเรื่องราคาเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดยผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ตลาดเวียดนามต้องมีกำลังผลิตเหลือเพียงพอ ไม่ลงทุนเพิ่ม เพราะจะทำให้ต้นทุนสูง และสายการผลิตต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่ 2.กลยุทธ์ด้านการตลาด ผู้ประกอบการควรค้นสินค้าที่ยังไม่มีในตลาด หรือมีแล้ว แต่สินค้าไทยดีกว่า มีจุดเด่น ขายในราคาที่มีมูลค่าสูง หรือระดับพรีเมียม ควรพูดคุยกับผู้บริโภค ควรมีการจัดทดสอบชิม หรือการแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อใ